Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71044
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์-
dc.contributor.authorเจษฎา เทพศิริen_US
dc.date.accessioned2020-10-22T02:13:17Z-
dc.date.available2020-10-22T02:13:17Z-
dc.date.issued2020-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/71044-
dc.description.abstractNursing shared governance is a management structure that allows nurses to participate in decision-making in the organization. The objective of this study was to explore the perception of nursing shared governance and study the promoting factors and obstacle factors of nursing shared governance among nurses in the Private Nursing Department, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The population in this study was 132 professional nurses. Research instruments were a questionnaire that includes the Index of Professional Nursing Governance developed by Hess (2010), translated into Thai by Natanong Pitchayakun (2019), and open questions about promoting factors and obstacle factors of nursing shared governance. The data was analyzed by descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results of the study are as follows: 1. The score of nursing shared governance illustrated the perception of inequality in shared decisions by staff nurses and nursing administrators in the control over personnel (μ = 38.00, σ = 14.11) and participation in committee structure (μ = 24.05, σ 7.92), whereas decisions were demonstrated to be perceived as equally shared by staff nurses and nursing administrators in access to information (μ = 36.80, σ = 10.29), influence over resources that support the practice (μ = 31.08, σ = 47.16), control over professional practice (μ = 35.78, σ = 10.06), and goal setting & conflict resolution (μ = 17.61, σ = 5.89). 2. Nurses reported that promoting factors of nursing shared governance included the use of 360-degree feedback, having access to various hospital communication channels, giving time and opportunity to join hospital meetings, and promoting knowledge among nurses. The obstacle factors of nursing shared governance included inconvenience in accessing information, high workload, and insufficient nursing staff. The results of this study will benefit nursing administrators in promoting nursing shared governance in the Private Nursing Department, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับรู้en_US
dc.subjectการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษen_US
dc.subjectผู้ป่วยพิเศษen_US
dc.subjectโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.titleการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลในงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeNursing shared governance as perceived by nurses in the private nursing department, Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospitalen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลเป็นรูปแบบการบริหารที่เปิดโอกาสให้พยาบาลได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในองค์กร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาล และศึกษาปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลของพยาบาลในงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นพยาบาลระดับปฏิบัติการ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามดัชนีการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลของ เฮสส์ (Hess, 2010) ที่แปลเป็นภาษาไทยโดย นาฎอนงค์ พิชยะกุล (2562) และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนการรับรู้การกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลแสดงให้เห็นว่า ด้านที่พยาบาลกับผู้บริหารมีความไม่เท่าเทียมกันในการร่วมตัดสินใจ คือด้านการควบคุมบุคลากร (μ = 38.00, σ = 14.11) และด้านการมีส่วนร่วมในโครงสร้างของคณะกรรมการ (μ = 24.05, σ = 7.92) ส่วนด้านที่มีความเท่าเทียมกันในการร่วมตัดสินใจ ได้แก่ ด้านการเข้าถึงข้อมูล (μ = 36.80, σ = 10.29) ด้านอิทธิพลต่อทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติ (μ = 31.08, σ = 47.16) ด้านการควบคุมการปฏิบัติตามวิชาชีพ (μ = 35.78, σ = 10.06) และด้านการกำหนดเป้าหมายและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (μ = 17.61, σ = 5.89) 2. พยาบาลมีความคิดเห็นว่าปัจจัยส่งเสริมการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาล ได้แก่ การได้ร่วมพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรแบบ 360 องศา การมีช่องทางเข้าถึงข้อมูลของโรงพยาบาลที่หลากหลาย การให้เวลาและให้โอกาสเข้าร่วมในการประชุม และการส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้ ส่วนปัจจัยขัดขวางการกำกับดูแลร่วม ได้แก่ ความไม่สะดวกในการเข้าถึงข้อมูล ภาระงานที่หนัก และจำนวนพยาบาลที่ไม่เพียงพอ ผลที่ได้จากการศึกษานี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทางการพยาบาลในการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลร่วมทางการพยาบาลในงานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มากขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231022 เจษฎา เทพศิริ.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.