Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปรียกมล เลิศตระการนนท์en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.contributor.authorนันทพร แสนศิริพันธ์en_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:17Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 45-56en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78063/62584en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69928-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อทารก รวมทั้งมารดา สังคมและประเทศชาติ ซึ่งบิดาเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาที่พาภรรยาที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 37-40 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 จำนวน 102 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินวัด 4 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของฮาร์วูด (Harwood, 2011) ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีพฤติกรรมที่มีการวางแผน และนำมาแปลเป็นภาษาไทยโดย ปรียกมล เลิศตระการนนท์ กรรณิการ์ กันธะรักษา และนันทพร แสนศิริพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1. บิดามีทัศนคติโดยทางตรงต่อการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระดับสูง ร้อยละ 99.00 มีทัศนคติโดยทางอ้อมที่ดีต่อการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.30 และบิดามีทัศนคติต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระดับสูง ร้อยละ 99.00 2. บิดามีบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.40 3. บิดามีการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 87.10 4. บิดามีความตั้งใจในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในระดับสูง ร้อยละ 94.10 5. ทัศนคติของบิดาต่อการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับความตั้งใจของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .748, p<.01) บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .326, r = .438, p<.01 ตามลำดับ) Breastfeeding is necessary and useful for babies, as well as for mothers, society and nation. Fathers are also a factor that is important for successful breastfeeding. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore attitude, subjective norm, perceived behavioral control and intention of fathers to encourage breastfeeding. Thesubjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 102 expectant fatherswho took their 37-40 weeks pregnant wives to the antenatal care unit at Maharaj Nakorn Chaing Mai or Chaing Mai Health Promotion Hospitals from December 2013 to January 2014. The assessment tool measured 4 aspects: attitude, subjective norm, perceived behavioral control and intention of fathers to encourage breastfeeding of Harwood (Harwood, 2011) based on the theory of planned behavior and was translated into Thai language by Preeyakamon Lerttrakannon, Kannika Kantaruksa and Nantaporn Sansiriphun. Descriptive statistics and Spearman 's product moment correlation were used to analyze the data.Results of the study revealed that: 1. Fathers, direct attitude toward encourage breastfeeding was at high level of 99.00%, fathers, indirect attitude toward encourage breastfeeding was at moderate level of 53.30% and fathers, attitude toward breastfeeding was at high level of 99.00%, 2. Fathers, subjective norm to encourage breastfeeding was at high level of 72.40%, 3. Fathers, perceived behavioral control to encourage breastfeeding was at high level of 87.10%, 4. Fathers, intention to encourage breastfeeding was at high level of 94.10%, and 5. Fathers, attitude toward encourage breastfeeding had a high positive correlation withfathers, intention to encourage breastfeeding (r = .748, p< .01). Fathers, subjective norm and fathers, perceived behavioral control to encourage breastfeeding had moderate positive correlation with fathers, intention to encourage breastfeeding (r=.326, r=.438, p<.01respectively).en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงen_US
dc.subjectการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมen_US
dc.subjectความตั้งใจen_US
dc.subjectบิดาen_US
dc.subjectการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาen_US
dc.subjectAttitudeen_US
dc.subjectSubjective Normen_US
dc.subjectPerceived Behavioral Controlen_US
dc.subjectIntentionen_US
dc.titleทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจของบิดาในการกระตุ้นมารดาให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาen_US
dc.title.alternativeAttitude, Subjective Norm, Perceived Behavioral Controland Intention of Fathers to Encourage Breastfeedingen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.