Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69905
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เกศกาญจน์ มิกี้ | en_US |
dc.contributor.author | วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร | en_US |
dc.contributor.author | พิกุล บุญช่วง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T08:36:16Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T08:36:16Z | - |
dc.date.issued | 2559 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 68-78 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74633/60151 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69905 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญที่พบในทุกโรงพยาบาล การทำความสะอาดมือเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ แต่ก็ยังพบว่าบุคลากรสุขภาพยังมีการทำ ความสะอาดมือต่ำ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือต่อความรู้และการปฏิบัติการทำ ความสะอาดมือ และความคิดเห็นของบุคลากรสุขภาพต่อกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือ ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2554 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ บุคลากรสุขภาพ จำนวน 23 คน ที่โรงพยาบาลพยาบาลสถานพระบารมีประกอบด้วย แพทย์ 2 คน และพยาบาลวิชาชีพ 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แผนการอบรม คู่มือ แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกต แบบสอบถามความต้องการอุปกรณ์สนับสนุน และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์แบบหลายวิธีเครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ได้เท่ากับ 0.80 และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตได้เท่ากับ 1.0 กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาการทำความสะอาดมือใช้แนวคิดขององค์การอนามัยโลกประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้การเปลี่ยนระบบให้การทำความสะอาดมือเป็นเรื่องง่าย และสะดวก การสนับสนุนการดูแลผิวหนังที่มือ การสังเกตและให้ข้อมูลย้อนกลับ การเตือนในที่ทำงานและ การสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยในการทำงานระยะเวลาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีและ สถิติฟิชเชอร์เอกแซคท์ ผลการวิจัยพบว่า หลังการดำเนินกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือบุคลากรสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการทำความสะอาดมือเพิ่มขึ้น จาก 11.30 เป็น 15.57 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และกลุ่มตัวอย่างมีการทำความสะอาดมือที่ไม่ถูกต้องจนกระทั่งปฏิบัติถูกต้อง เป็นร้อยละ 81.13 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่ากลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือมีประโยชน์ต่อหน่วยงาน และควรมีการดำเนินต่อไปในโรงพยาบาล โดยทุกกิจกรรมมีผลกระตุ้นส่งเสริมการทำความสะอาดมือ การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ในการพัฒนาแบบหลายวิธีประกอบกันตามแนวคิดขององค์การอนามัยโลกทำให้บุคลากรสุขภาพมีความรู้และการปฏิบัติในการทำความสะอาดมือถูกต้องเพิ่มขึ้น Health care-associated infection is a major problem in every hospital. Hand hygiene is one method of preventing hospital-acquired infection. However compliance with hand hygiene among healthcare personnel remains low. The purpose of this quasi-experimental research study was to examine the effects of multimodal hand hygiene improvement strategies on knowledge and practices of hand hygiene, and opinion on multimodal hand hygiene improvement strategies among healthcare personnel. Data were collected betweenJanuary to April 2011. The study sample included 23 healthcare personnel, 2 doctors and 21 registered nurses at Phayabansathanprabaramee hospital. The research instrumentsconsisted of a demographic data questionnaire, a lesson plan, a handbook, a knowledge test, a hand hygiene observational record form, a need for hand hygiene equipment questionnaire and an opinion on multimodal hand hygiene strategies implementationquestionnaire, The content validity of these instruments was examined by 5 experts.Reliability of the knowledge questionnaire was 0.80 and inter-rater observer reliability was 1.0. Multimodal hand hygiene strategies recommended by the World Health Organization, consisted of hand hygiene education, system change to make hand hygiene easy and convenient, promoting hand care, observation and feedback, reminders in the workplace, and promoting the institutional safety climate. Data were analyzed using descriptivestatistics, paired t-test and Fisher exact probability test.The results reveal that after implementing multimodal hand hygiene improvement strategies, the knowledge mean scores among healthcare personnel statistically significant increased from 11.30 to 15.57 for 20 scores (P=.001). Hand hygiene compliance among healthcare personnel improved from 0% to 81.13% (p< 0.01). All healthcare personnel agreed that the multimodal hand hygiene improvement strategies were useful for the unit and should be continued to be improve the hospital. All strategies in the program motivatedhealth personnel to practice hand hygiene better.This study indicated that multimodal hand hygiene improvement strategies based on World Health Organization guidelines increased in healthcare personnel’s knowledge and hand hygiene compliance. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | กลยุทธ์แบบหลายวิธี | en_US |
dc.subject | การทำความสะอาดมือ | en_US |
dc.subject | บุคลากรสุขภาพ | en_US |
dc.subject | Multimodal Hand Hygiene Strategies | en_US |
dc.subject | Hand Hygiene | en_US |
dc.subject | Healthcare Personnel | en_US |
dc.title | ผลของกลยุทธ์แบบหลายวิธีในการพัฒนาการทำความสะอาดมือต่อความรู้ และการปฏิบัติการทำความสะอาดมือของบุคลากรสุขภาพ | en_US |
dc.title.alternative | Effects of Multimodal Hand Hygiene Improvement Strategies onKnowledge and Practices of Hand Hygiene Among Healthcare Personnel | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.