Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69872
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรี วัฒนชัยen_US
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ อารีย์en_US
dc.contributor.authorสุธิศา ล่ามช้างen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2559) 1-12en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/74075/59802en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69872-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractโรคหืดในเด็กเป็นโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวอย่างมากการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวและการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็กของผู้ดูแลในครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคหืดกับพฤติกรรมการจัดการของครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการของครอบครัวกับการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดา มารดาหรือผู้ดูแลในครอบครัวเด็กป่วยโรคหืดที่มีอายุช่วง 1 เดือน ถึง 6 ปี ที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และโรงพยาบาลลำปาง โดยการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรุนแรงของโรคหืดในเด็ก แบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการของครอบครัว และแบบสอบถามการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กป่วยโรคหืดมีความรุนแรงของโรคหืดอยู่ในระดับรุนแรงน้อย ร้อยละ 89.4 พฤติกรรมการจัดการของครอบครัว พบว่าผู้ดูแลในครอบครัวมีพฤติกรรมการจัดการดูแลเด็กป่วยโรคหืดระดับสูง ร้อยละ 97.6 และการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็ก พบว่าเด็กป่วยโรคหืดควบคุมอาการของโรคได้ ร้อยละ 49.4 และควบคุมอาการของโรคได้บางส่วน ร้อยละ 36.5 2. ความรุนแรงของโรคหืดในเด็กมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการจัดการของครอบครัวเด็กป่วยโรคหืดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.412, p<.01) 3. พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .319, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวและการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็ก และใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการดูแลเด็กป่วยโรคหืดให้ดียิ่งขึ้น Asthma in children is a chronic respiratory tract disease which has profound effects on children and their families. The purpose of this correlational descriptive research study was to study asthma severity, family management behavior and asthma symptom control of children among family caregivers and the effects of among severity on family managementbehavior and, of family management behavior on asthma symptom control in children. The study sample, selected by purposive sampling, included 85 family caregivers of childrenwith asthma, aged from 1 month to 6 years old, who received service at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Buddhachinaraj Pitsanulok Hospital, Chiang Rai, Hospital and Lampang Hospital. The instruments used for data collection consisted of a demographic data record form, Asthma Severity Questionnaire, a Family Management Behavior Questionnaire, and an Asthma Symptom Control in Children Questionnaire. Data were analyzed using descriptivestatistics, Pearson’s correlation coefficient and Spearman’s correlation coefficient.The results of study1. Eight-nine point four percent of children with asthma experienced mild severity levels. Regarding family management behavior, 97.6% of family caregivers had a high level. Forty-nine point four percent and 36.5% of children with asthma had their symptoms controlled and partly controlled, respectively.2. Asthma severity had a statistically significant negative relationship with familymanagement behavior (r = -.412, p<.01).3. Family management behavior had a statistically significant positive relationship withasthma symptom control (r = .319, p<.01).The results of this study provides nurses with an understanding of asthma severity, family management behaviors and asthma symptom control in children, and serves as a guide for promoting the care of children with asthma.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความรุนแรงของโรคหืดen_US
dc.subjectพฤติกรรมการจัดการของครอบครัวen_US
dc.subjectการควบคุมอาการของโรคหืดen_US
dc.subjectเด็กป่วยโรคหืดen_US
dc.subjectAsthma Severityen_US
dc.subjectFamily Management Behavioren_US
dc.subjectAsthma Symptom Control and Children with asthmaen_US
dc.titleความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวและการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็กของผู้ดูแลในครอบครัวen_US
dc.title.alternativeAsthma Severity, Family Management Behavior and Asthma Symptom Control in Children Among Family Caregiversen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.