Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาพร เลิศกวินอนันต์en_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.contributor.authorฉวี เบาทรวงen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:16Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 33-44en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78059/62581en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69871-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะได้รับผลกระทบ ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งความเครียดจะส่งผลกระทบต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและภาวะสุขภาพของทารกขณะอยู่ในครรภ์ ดังนั้นสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำเป็นต้องได้รับการจัดการความเครียดที่มีประสิทธิภาพ การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปวิธีการและผลลัพธ์ของการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จากรายงานการวิจัยปฐมภูมิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2546 ถึง 2556 โดยใช้กระบวนการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (The Joanna Briggs Institute for Evidence Based Nursing & Midwifery [JBI], 2011) ผลการสืบค้น พบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดตามคำสำคัญที่ระบุไว้ทั้งหมด 40 เรื่องงานวิจัยจำนวน 7 เรื่อง ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกโดยใช้แบบคัดกรองรายงานการวิจัย งานวิจัยจำนวน 1 เรื่อง ถูกคัดออกเนื่องจากไม่สามารถติดตามเอกสารฉบับสมบูรณ์ และงานวิจัยจำนวน 2 เรื่อง ถูกคัดออกเนื่องจากเอกสารฉบับเต็มตีพิมพ์เป็นภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ได้งานวิจัยจำนวน 4 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเพื่อเข้าสู่การทบทวน ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงทดลองจำนวน 1 เรื่อง และแบบกึ่งทดลองจำนวน 3 เรื่อง ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์โดยการสรุปเชิงเนื้อหา เนื่องจากผลการศึกษาไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้ ผลการจัดการความเครียด พบว่า 1) การใช้เทคนิคการหายใจ ได้แก่ การใช้เทคนิคควบคุมลมหายใจแบบโยคะ และการใช้เทคนิคการหายใจร่วมกับการให้ข้อมูล 2) การผ่อนคลาย และ 3) การสนับสนุนทางสังคม มีผลในการลดระดับความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการแนะนำเทคนิคควบคุมลมหายใจแบบโยคะ การใช้เทคนิคการหายใจร่วมกับการให้ข้อมูล โปรแกรมการฝึกการผ่อนคลาย และการสนับสนุนทางสังคมมาใช้ในการดูแลสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์สามารถจัดการความเครียดด้วยตนเองอย่างเหมาะสม สำหรับด้านการวิจัย ควรมีการศึกษาวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพิ่มเติม หรือทำวิจัยซ้ำ เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ ขยายองค์ความรู้และเพิ่มเติมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์เมต้าในอนาคตต่อไป Women hospitalized with preterm labor will be affected with stress. It is the most common effect of preterm labor and fetal complications. Therefore, women with preterm labor need effective stress management. The purpose of this systematic review was to summarize and determine the effectiveness of stress management in women with preterm labor from the primary research that were conducted between 2003 to 2013. The systematic review process followed the guidelines developed by the Joanna Briggs Institute (JBI, 2011). Systematic searching by key words identified a total of 40 studies regarding stress managementamong women with preterm labor. Seven studies met the inclusion criteria: one study was excluded because the full text could not be accessed and two studies were excluded as the full texts were not published in English. Four studies meeting the review criteria were selectedfor analysis: One randomize controlled trial study and 3 quasi-experimental studies were synthesized by narrative summarization because the studies were not suitable for meta-analysis.The results of stress management revealed that 1) breathing technique related to yoga breathing control technique and breathing technique with providing information 2) relaxation and 3) social support were effective in reducing stress among women with preterm labor. Based on these results, it is recommended to provide yoga breathing control technique, breathing technique, and provide information. Relaxation training program and social support should be used to care for the women with preterm labor so that they can manage their stress appropriately. For the research, experimental studies should be done to confirmevidence in the stress management among women with preterm labor to expand the knowledge and more evidence for available a summary of meta-analysis.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.subjectการจัดการความเครียดen_US
dc.subjectเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดen_US
dc.subjectSystematic Reviewen_US
dc.subjectStress managemenen_US
dc.subjectPreterm laboren_US
dc.titleการทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการความเครียดในสตรีที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดen_US
dc.title.alternativeSystematic Review of Stress Management Among Women with Preterm Laboren_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.