Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69864
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเพ็ญนภา จายวรรณ์en_US
dc.contributor.authorพิกุล นันทชัยพันธ์en_US
dc.contributor.authorฉวีวรรณ ธงชัยen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T08:36:15Z-
dc.date.available2020-10-08T08:36:15Z-
dc.date.issued2559en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 43,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) 95-106en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/78091/62597en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69864-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการบาดเจ็บสมองทำให้เกิดความบกพร่องในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ส่งผลให้มีความต้องการการสนับสนุนและดูแลจากผู้ดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง การส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ให้บริการสุขภาพ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 52 ราย เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง 26 รายแรกได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลอง 26 ราย ได้รับการส่งเสริมพลังอำนาจในกลุ่มทดลองเป็นรายบุคคลตามโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล และ แบบสอบถามความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการดูแลสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.001) ทั้งในวันจำหน่าย และ 1 เดือนหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล 2. ผู้ดูแลกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการดูแลของผู้ดูแล ในวันจำหน่าย และ 1 เดือนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ไม่พบความแตกต่างของความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองภายหลังได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจระหว่างวันจำหน่าย และ 1 เดือนหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในด้านการส่งเสริมความสามารถของครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองได้ ทั้งนี้ควรทำการศึกษาการคงอยู่ของความสามารถของผู้ดูแลในการวิจัยครั้งต่อไป Traumatic brain injuries impair self-care ability of the patients resulting in the need for support and care by caregivers. In order to meet the needs of the patients, promotingcare ability among caregivers is essential for health care providers. This quasi-experimentalstudy aimed to examine the effect of an empowerment process on the caring capabilitiesof caregivers of the patients with traumatic brain injury. The study participants were composed of 52 family caregivers of the patients with traumatic brain injury who admittedinto the neurosurgical ward of Chiangrai Pachanukroh Hospital from April to July 2014. The participants were divided into two groups; the first 26 participants received routine care were in the control group while the other 26 participants were in the experimental group. The researcher provided training to the participants in the experimental group according to the empowerment program developed by the researcher. Instruments for data collection included demographic data form and the Capability of CaregiverAssessment Questionnaire. The data were analyzed using 2-way repeated measured analysis of variance and independent t-test. Results of the study revealed that: 1. Caring capabilities of the caregivers in the experimental group were statistically significant (p<.001) higher than those of the control group on the discharge day and 1 month after discharge from the hospital. 2. Caring capabilities of the caregivers in the experimental group were statistically significant (p<.05) higher on the discharge day and 1 month after discharge from the hospital when compared with care practices measured before entering the study. There was no significant difference in caring capabilities between the discharge day and 1 month after discharge. Study findings can be used to improve caring capabilities among family caregivers of patients with traumatic brain injury. Sustainability of the care capabilities among thesecaregivers need to be further explored in future study.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectบาดเจ็บสมองen_US
dc.subjectอารเสริมสร้างพลังอำนาจen_US
dc.subjectผู้ดูแลen_US
dc.subjectความสามารถของผู้ดูแลen_US
dc.subjectTraumatic Brain Injuryen_US
dc.subjectEmpowermenten_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.subjectCaregivers’ capabilitiesen_US
dc.titleผลของการเสริมสร้างอำนาจต่อความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองen_US
dc.title.alternativeEffects of the Empowerment on Perceived Caring Capabilities Among Caregivers of Patients with Traumatic Brain Injuryen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.