Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69844
Title: | พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัวของสตรีอาข่า |
Other Titles: | Sexual Risk Behaviors and Family Violence among Akha Women |
Authors: | สุสัณหา ยิ้มแย้ม รังสิยา นารินทร์ |
Authors: | สุสัณหา ยิ้มแย้ม รังสิยา นารินทร์ |
Keywords: | พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ;ความรุนแรงในครอบครัว;สตรีอาข่า;Sexual Risk Behaviors;Family Violence;Akha women |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 146-155 |
Abstract: | ปัจจุบันนี้สตรีอาข่าซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในไทยที่ได้อพยพมาหารายได้ในเมือง ส่วนใหญ่มีการทำงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบ โดยเฉพาะงานรับจ้างทั่วไป งานบ้าน งานเสริฟในร้านอาหาร หรืองานเร่ขายของตามแหล่งท่องเที่ยวหรือแหล่งชุมชน สภาพการทำงานเหล่านี้เอื้อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัว การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัวของสตรีอาข่า ข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างสตรีชาวอาข่า 118 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์สุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และ ทดลองใช้กับสตรีอาข่าที่อยู่ในเมือง จำนวน 5 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่า สตรีอาข่าจำนวนมากมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยโดยต่ำกว่า 20 ปี (63.9%) การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน (19.1%) เกือบครึ่งหนึ่งเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เต็มใจ (42.5%)การขาดการสื่อสารและการต่อรองทางเพศโดยไม่เคยคุยกับสามี/คู่รักถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์(45.7%) ไม่เคยบอกถึงความต้องการทางเพศ (45.7%) ไม่สามารถปฎิเสธได้เมื่อไม่ต้องการ (9.6%) การไม่ใช้วิธีป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (81.1%) เพราะไว้ใจสามี (83.5%) และเห็นว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่เหมาะสมสำหรับสามีภรรยา(41.5%) สตรีอาข่าประมาณหนึ่งในหก (15.3%)ที่เปิดเผยว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างน้อยด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง สำหรับสตรีอาข่าที่มีสามีหรือคู่รักแล้วมีสัมพันธภาพไม่ดีกับสามีหรือคู่รัก (48.3%) และเคยถูกคู่รักหรือคู่ครองทำร้ายร่างกาย (8.1%) ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดโปรแกรมในการเสริมพลังอำนาจสตรีอาข่าในการต่อรองเพื่อความเสมอภาคทางเพศ ทั้งนี้ควรนำบุรุษอาข่ามีส่วนร่วมในการผลักดันในประเด็นนี้ด้วยเพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและความรุนแรงในครอบครัวต่อไป At present, there are an increasing number of Akha women migrated to work in the city. They often work in the informal sector, including domestic work, waiting tables, factory work, or hawk goods (walk/travel selling goods or food). Working in such places put them to be sexual risk behaviors and family violence. This descriptive study was aimed to explain sexual risk behaviors and family violence among Akha women. Data were collected by semi-structured interviews with 118 Akha women in Chiang Mai city. The interview questionnaire was developed by researchers and reviewed by three experts, and was trial with 5 Akha women. Data were analyzed using descriptive statistics and Chi-square test. The results found that many Akha women had sexual risk behaviors such as have sex at young age; less than 20 (63.9%), have sex before marriage (19.1%), about half of women who had ever sex were not willing to have sex (42.5%) lack of skill for sexual communication and negotiation: never talk with partner about prevention of sexual infection (45.7%), never say about sexual need (45.7%), could not refuse to have sex (9.6%), no protection method for sexual transmission (81.1%) since they were trust in their husband (83.5%) and their opinion that inappropriate for a couple to use condom (41.5%). About one sexth of these women (15.3%) had experienced at least one type of sexual harassment. Among Akha women with partner have bad relationship with their husbands (48.3%), and was physical attack (8.1%) The researchers recommend that the findings will use to develop program for empowerment Akha women for equality of female-male sexual role and male participationto decrease sexual risk behaviors and family violence among Alkha women. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53300/44257 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69844 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.