Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69843
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | อัญชลี จิตราภิรมณ์ | en_US |
dc.contributor.author | จันทรรัตน์ เจริญสันติ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T07:27:25Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T07:27:25Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 133-145 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53298/44255 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69843 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | เบาหวานในขณะตั้งครรภ์อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งในสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดการมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และการผ่อนคลายจะช่วยให้สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง การลดระดับน้ำตาลในเลือด และความเครียดซึ่งจะทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนในสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับน้ำตาลในเลือดและคะแนนความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกผ่อนคลาย โดยวัดสัปดาห์ที่ 5 สำหรับพฤติกรรมการดูแลตนเองและความเครียด และสัปดาห์ที่ 7 สำหรับระดับน้ำตาลในเลือดกลุ่มตัวอย่างคือสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ระดับเอหนึ่ง ที่มารับบริการฝากครรภ์ในแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ การเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย เก็บข้อมูลจากกลุ่มควบคุมก่อนกลุ่มทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้และฝึกผ่อนคลาย คู่มือการให้ความรู้โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและวีดิทัศน์การฝึกผ่อนคลายความเครียดของกรมสุขภาพจิต และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความเครียดสวนปรุงชุด 60 ข้อส่วนที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองของสตรีที่เป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. คะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) 2.ระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p> .05) 3.คะแนนความเครียดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < .01) 4.คะแนนความเครียดของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลของการศึกษาครั้งนี้เสนอให้นำโปรแกรมมาใช้เพื่อลดความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และควรทำการศึกษากลยุทธ์สำหรับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อช่วยในการลดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งสตรีตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด Gestational diabetes mellitus (GDM) may cause complications in pregnant women, fetus, and newborn. Knowledge regarding GDM and relaxation may enhance self care behavior, reduce blood sugar level and stress leading to less complications. The main purpose of this quasi-experimental research was to compare the self-care behavior, bloodsugar levels, and stress scores of women with GDM between the group participating in the educational and relaxation program and the group receiving usual care by 5th weeks for self care behavior and stress scores, whereas 7th weeks for blood sugar levels. Sample were GDM A1 women in the in antenatal clinic of Chumphonkhetudomsak Hospital. Forty participants were purposively sampling and assigned to the control group and the experiment group, with 20 subjects in each group. Data from the control group were collected before the implementation of the experiment group. The researchers had developed the education and relaxation program and the GDM handbook. The video of relaxation technique developed by Department of Mental Health was also employed. Data were collected using a questionnaire consisting of four parts: demographic data, self-care behaviors form, The Suanprung Stress Test-60 (SPST-60) part 3, and a blood sugarlevel record. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests. The results of the study are as follows:1. Self-care behaviors scores between the experimental group and the control grouphad no significant difference (p >.05); 2. The blood sugar levels between the experimental group and the control group had no significant difference (p> .05); 3. The stress scores of the experimental group was significantly lower than before receiving the program (p <.01); 4. The stress scores of the experimental group was significantly lower than those of the control group (p<.01). The finding of this study suggests to use the program for reducing stress levels of GDM women and to study strategies for promoting self care behaviors and blood sugar levels in order to reduce the complications on the women, fetuses and newborns. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การผ่อนคลาย | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมการดูแลตนเอง | en_US |
dc.subject | สตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | en_US |
dc.subject | Relaxation Training | en_US |
dc.subject | Self-Care Behaviors | en_US |
dc.subject | Gestational Diabetic Women | en_US |
dc.title | ประสิทธิผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการฝึกผ่อนคลายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ระดับนำตาลในเลือด และความเครียดของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ | en_US |
dc.title.alternative | Effectiveness of Education Provision and Relaxation Training Program on Self-care Behaviors, Blood Sugar Levels, and Stress among Gestational Diabetic Women | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.