Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69840
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวรรณิตา สอนกองแดงen_US
dc.contributor.authorศรีพรรณ กันธวังen_US
dc.contributor.authorศรีมนา นิยมค้าen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 94-106en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57304/47518en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69840-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการดูแลเรื่องอาหารมีความสำคัญต่อการป้องกันการติดเชื้อในเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะ เม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแล เรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด และอำนาจการทำนายพฤติกรรมในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อของสมรรถนะแห่งตน ประโยชน์ตามการรับรู้ อุปสรรคตามการรับรู้ และการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารในการดูแลเรื่องอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยใช้แบบจำลองความเชื่อด้านสุขภาพของเบคเกอร์ และการทบทวนวรรณกรรม เป็นกรอบแนวคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมี บำบัดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 88 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การวิเคราะห์ อำนาจการทดสอบ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ดู แลในการดู แลเรื่องอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามประโยชน์ตามการรับรู้ แบบสอบถาม อุปสรรคตามการรับรู้ และแบบสอบถามการสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกัน การติดเชื้อซึ่งมีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.85, 0.85, 0.85, 0.88 และ 0.93 ตามลำดับ และ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91, 0.75, 0.71, 0.77 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ดูแลส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด ดังนี้ ปฏิบัติทุกครั้งในการเลือก และให้อาหารที่ให้พลังงานสูง และอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรียต่ำ ให้อาหารว่างใน ช่วงระหว่างมื้อ และหลีกเลี่ยงการให้อาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนในด้านการเตรียมอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ปฏิบัติทุกครั้งในเรื่องการล้างมือก่อนสัมผัสอาหาร และก่อนป้อนอาหาร และการให้เด็กป่วยล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร และส่วนน้อยปฏิบัติทุกครั้งในเรื่องการล้างผลไม้ และการลวกภาชนะด้วยน้ำร้อน การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และสมรรถนะแห่งตนในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการ ติดเชื้อ สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ28.1(R2 = .281, p<.01) โดยที่การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารในการ ดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อสามารถอธิบายความผันแปรของพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่อง อาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 19.6 (R2 = .196, β =.389, p<.001) ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อในเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัด และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสามารถนำไปใช้ในการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป Nutritional care is important for preventing infection in leukemic children with chemotherapy induced neutropenia. The purposes of this study were to describe caregivers’ behaviors regarding nutritional care for preventing infection in leukemic children with chemotherapy induced neutropenia; and to examine predictability of self-efficacy, perceived barrier, perceived benefit, and informational support regarding nutritional care for preventing infection on the caregivers’ behaviors. Becker’s Health Belief Model and reviewed literature were used as the study framework. The purposive sample of this study was 88 caregivers of leukemic children with chemotherapy induced neutropenia admitted to pediatric units of two tertiary hospitals during November 2013 to March 2014. Power analysis was used to determine the sample size. Instruments included scale of caregivers’ behavior regarding nutritional care for preventing infection; scales of self-efficacy, perceived barrier, perceived benefit, and informational support regarding nutritional care for preventing infection developed by the researcher. The content validity index of these scales were 0.85, 0.85, 0.85, 0.88, and 0.93, respectively. The reliability coefficients of these scales were 0.91, 0.75, 0.71, 0.77, and 0.73, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and stepwise multiple regression. The study results were as follows: Most of the caregivers reported their behaviors regarding nutritional care in leukemic children with chemotherapy induced neutropenia as follows: they always selected and provided high caloric and low bacterial diets, provided snacks between meals, and avoided providing contaminated food. In preparing food, the majority of the caregivers reported always washing their hands before contacting and providing food, and encouraged their child to wash hands before meals. The minority of them reported always washing fruits and rinsing utensils with hot water. Informational support and self-efficacy regarding nutritional care for preventing infection together could explain 28.1% of variation of the caregivers’ behaviors (R2 = 0.281, p<.01). In addition, the informational support could explain 19.6 % of variation of the caregivers’ behaviors (R2 = 0.196, β = 0.389, p<.001). The study results provide understanding of caregivers’ behaviors regarding nutritional care for preventing infection in leukemic children with chemotherapy induced neutropenia and influencing factors. The results can be used for further study regarding behavioral promotion on nutritional care among these caregivers.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยที่มีอิทธิพลen_US
dc.subjectพฤติกรรมของผู้ดูแลen_US
dc.subjectการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อen_US
dc.subjectเด็กป่วยมะเร็งen_US
dc.subjectเม็ดเลือดขาวen_US
dc.subjectภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำen_US
dc.subjectFactors Influencingen_US
dc.subjectCaregiver Behavioen_US
dc.subjectNutritional Care for Preventing Infectionen_US
dc.subjectLeukemic Childrenen_US
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลเรื่องอาหารเพื่อป้องกัน การติดเชื้อในเด็กป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจากเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeFactors Influencing Caregivers’ Behaviors Regarding Nutritional Care for Preventing Infection in Leukemic Children with Chemotherapy Induced Neutropeniaen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.