Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69839
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจุฑามาศ ชื่นชมen_US
dc.contributor.authorตุลนาฒ ทวนธงen_US
dc.contributor.authorภุชงค์ ชื่นชมen_US
dc.contributor.authorลาวัลย์ สมบูรณ์en_US
dc.contributor.authorอ้อฤทัย ธนะคำมาen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 86-97en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53263/44226en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69839-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโรคและความเจ็บป่วยตลอดชีวิต ทำให้ต้องกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซ้ำก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอำนาจการทำนายของการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคลและอิทธิพลด้านสถานการณ์ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 157 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคลและอิทธิพลด้านสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังของจิตรา จันชนะกิจ (2541) ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.80 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการออกกำลังกาย ด้านการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพด้านสัมพันธภาพดับบุคคลอื่นและด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี ส่วนด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับพอใช้ 2.กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อุปสรรคต่อพฤติกรรม อิทธิพลด้านสถานการณ์ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนอิทธิพลระหว่างบุคคลและความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อย 3.การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อิทธิพลระหว่างบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองและอิทธิพลด้านสถานการณ์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้ร้อยละ 36(p<0.001) ผลการวิจัยครั้งนี้จะสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนจัดกิจกรรมการพยาบาลหรือพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง Persons with COPD live with the disease and illness throughout their lives. They are admitted to hospitals repeatedly which affect them physically, mentally, socially and economically. The objective of this research was to study the level of health promoting behaviors and predictability of the perceived benefits of behavior, perceived barriers to behavior, perceived self-capability, activity-related affect, interpersonal influences andsituational influences among persons with COPD. 157 persons with COPD was the sampling group in this case study whom were admitted to Wiang Chiang Rung Hospital in Chiang Rai province. Tools used to collect the data in the case study were questionnaires including personal information, health promoting behaviors, the perceived benefits of behavior, perceived barriers to behavior, perceived self-capability, feeling associated with the behavior,interpersonal influences and situational influences among persons with COPD of Jittra Junchanakit (2541). Test the reliability of tool by using the coefficient alpha Cronbach and the value comes out equal to 0.80 and 0.87, respectively. Data were analyzed usingdescriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. The results found 1. The subject group’s score of health promoting behavior overall was satisfying. It’s found that, in terms of exercising, spiritual development, health responsibility, interpersonal relationships and diet, the persons with COPD were doing well. However, their stressmanagement was just fair. 2. The subject group perceived barriers to their behavior, situational influence, self-capability and benefit of behavior in high level. However their ability to perceive the influence of interpersonal behavior and feelings related to behavior was low. 3. The perceived of benefits of health promoting behaviors, interpersonal Influences, self-capability and situational influences can predict 36% of health promoting behaviors.(p<0.001) The results of this study can be used as a data base to plan nursing activities, or develop health promoting programs for persons with chronic obstructive pulmonary disease.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัจจัยทำนายen_US
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังen_US
dc.subjectPredicting Factorsen_US
dc.subjectChronic Obstructive PulmonaryDiseaseen_US
dc.subjectHealth Promoting Behavioren_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในโรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้งจังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeFactors Predicting Health Promoting Behaviors among Persons with Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Wiang Chiang Rung Hospital Chiang Rai province * อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย * Instructor, Faculty of nursing, Chiangrai College ** นายแพทย์ชําานาญการ โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง** Medical Doctor, Professional Level *** รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย *** Associate Professor, Faculty of nursing, Chiangrai Collegeen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.