Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69838
Title: | ผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่อประสิทธิภาพการเฝ้าระวัง การติดเชื้อในโรงพยาบาลแบบมุ่งเป้าของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย |
Other Titles: | Effect of Experiential Learning on Efficiency of Targeted HospitalAssociated Infection Surveillance among Infection Control Ward Nurses |
Authors: | นิศมา แสนศรี วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ อะเคื้อ อุณหเลขกะ |
Authors: | นิศมา แสนศรี วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ อะเคื้อ อุณหเลขกะ |
Keywords: | การเรียนรู้จากประสบการณ์;การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลแบบมุ่งเป้า;พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย;Experiential Learning;Targeted Hospital Associated Infection Surveillance;InfectionControl Ward Nurses |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 36-47 |
Abstract: | การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นกิจกรรมสำคัญในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อแบบมุ่งเป้าของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยระหว่างก่อนและหลังการเรียนรู้จากประสบการณ์ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วย จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 10 คนและกลุ่มควบคุม 10 คน และเฝ้าระวังการติดเชื้อในผู้ป่วย685 รายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามและได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ จำนวน 639 ครั้ง ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 503 ครั้งได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง จำนวน 124 ครั้ง และได้รับการผ่าตัดจำนวน 375 ครั้ง โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC ,2013) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาลแบบมุ่งเป้าและแผนการเรียนรู้จากประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คำนวณค่าความไว และความจำเพาะในการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล ใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความไวในการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มทดลองหลังได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากร้อยละ 58.57 เป็นร้อยละ 82.14 และมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่มีค่าความไวที่ร้อยละ46.15 และค่าความจำเพาะในการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มทดลองหลังได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากร้อยละ 80.69 เป็นร้อยละ90.07 โดยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ที่มีค่าความจำเพาะร้อยละ 80.73 ผลการวิจัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์มีผลทำให้ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อแบบมุ่งเป้าของพยาบาลควบคุมการติดเชื้อประจำหอผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น และในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาผลของการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่อความไวและความจำเพาะในแต่ละตำแหน่งของการติดเชื้อในการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล Surveillance of hospital associated infection (HAI) is an important activity in infection prevention and control. The quasi-experimental research utilized two-group pretest–posttestdesign. The purpose of this research was to evaluate the efficiency of targeted hospital associated infection surveillance among infection control ward nurses between before and after experiential learning. Data were collected during 3 month. The study samples were 20 infection control ward nurses (ICWN); 10 ICWN were in the study group whereas other 10 ICWN were in the control group. Surveillance were practiced among 685 admitted patients consisting of 639 indwelling urinary catheters, 503 ventilators, 124 central venous catheters and 375 operation wounds by using the Centers for Disease Control and PreventionSurveillance definition (2013). The research instruments consisted of a demographic data questionnaire for ICWN, a targeted surveillance form and experiential learning plan. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square test, sensitivity and specificity of the surveillance. The results of this study revealed that the sensitivity of the surveillance after participating in the experiential learning in the study group were significantly higher than that of before from 58.57% to 82.14% (p < .05) and significantly higher than in the control group which was only 46.5%. The specificity of the surveillance after participating in the experiential learning in study group were significantly higher than that of before from 80.69 % to 90.07% (p < .05) and significantly higher than in the control group which was only 80.73%. The findings of this study indicated that the experiential learning was efficient in improving the targeted hospital associated infection surveillance among infection control ward nurses. It is suggested to study the efficacy of the experiential learning on the sensitivityand specificity of the site specific in the diagnosis of nosocomial infection. |
Description: | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53258/44222 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69838 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.