Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลาวัลย์ ใบมณฑาen_US
dc.contributor.authorมยุรี นิรัตธราดรen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 65-75en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53261/44224en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69837-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องอาจทำให้มารดามีความพร่องในการดูแลตนเองตามระยะพัฒนาการของการเป็นมารดา โดยเฉพาะความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จ จากการที่มารดาเริ่มให้นมแม่ล่าช้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการได้รับยาระงับความรู้สึกและความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดอุ้มลูกไม่ถนัด จึงไม่สามารถให้นมแม่ได้ในทันทีรวมทั้งการขาดความรู้และการช่วยเหลือในการให้นมแม่ การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้จะช่วยให้มารดาที ่ผ่าตัดคลอดประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถในการให้นมแม่และการไหลของน้ำนม กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1) โปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 2) แบบประเมินความสามารถในการให้นม 3) แบบประเมินการไหลของน้ำนม ผลการวิจัยพบว่า 1) มารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ มีคะแนนความสามารถในการให้นม และคะแนนการไหลของน้ำนม ในระยะเวลา 48 ชั่วโมงไม่แตกต่างกัน (p>.05) 2) มารดากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้มีคะแนนความสามารถในการให้นม และคะแนนการไหลของน้ำนม ในระยะเวลาก่อนกลับบ้านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ข้อเสนอแนะ พยาบาลควรส่งเสริมให้มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในระยะก่อนกลับบ้านโดยการใช้การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ Cesarean sections may lead the mother unable to meet their own self-care requisites,self-care deficit usually occurs in maternal development, especially breastfeeding. After cesarean section, a mother usually begins breastfeeding fairly late due to the effects of anesthesia, postoperative pain, and lack of knowledge and a supporting system. A supportive-educative nursing system may help mothers’ succeed in breastfeed. The purpose of this quasi-experiment study was to examine the effect of a promoting breastfeeding program on breastfeeding ability and maternal milk flow. Forty women scheduled for a cesarean section participated in this study. All of the participants met the inclusion criteria of the study and were equally assigned to 2 groups. The day before their operation, the participants in the experimental group received a promoting breastfeeding program offered by the principle investigator while the control group received standard care given by registered nurses. The instruments used in this study were comprised of: 1) a supportive-educative breastfeeding program; 2) the LATCH breastfeeding assessment and 3) maternal milk flow record. The results of study The participants in the experimental group and the control group had pretty much the same score for the LATCH breastfeeding assessment and the same quantity of maternal milk flow at 48 hours. However, the participants in the experimental group that received the supportive-educative breastfeeding program had a higher score for the LATCH breastfeeding assessment and maternal milk flow than those in the control group before being discharged from the hospital (p<.05). This study suggests that nurses should promote mothers that have cesarean sections with supportive–educative nursing system in order to enhance their capability to breastfeedbefore discharge.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่en_US
dc.subjectมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องen_US
dc.subjectความสามารถในการให้นมen_US
dc.subjectการไหลของน้ำนมen_US
dc.subjectBreastfeedingen_US
dc.subjectCesarean sectionen_US
dc.subjectLATCH onen_US
dc.subjectMilk flowen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถ ในการให้นมและการไหลของน้ำนมในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Promoting Breast feeding Program on Maternal breastfeeding and Milk flow among Women Experiencing Cesarean Sectionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.