Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69833
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรังสิยา นารินทร์en_US
dc.contributor.authorเรณู มีปานen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) 1-11en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/53244/44213en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69833-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและบริบทของพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายชุมชนสุขภาวะ ชุมชนที่สามารถจัดการดูแลสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพแสดงให้เห็นถึงการต่อยอดการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการดูแลสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเพื่อศึกษาการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชนในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ตัวแทนภาคประชาชน จิตอาสา แกนนำ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบล พยาบาลวิชาชีพ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่าง กรกฎาคม 2557-มีนาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมประกอบด้วย แนวคำถามทุนทางสังคม แนวคำถามการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพบนฐานของทุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยมีการพัฒนาการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงภายใต้การดำเนินงาน"อาสาปันสุข" ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญคือมีแกนนำจิตอาสาที่มีความพร้อมและมีความเสียสละ ทำให้ "อาสาปันสุข" มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง เกิดการเรียนรู้ให้กับคนภายในชุมชนและนอกพื้นที่ ดังนั้น นวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน "อาสาปันสุข" แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงอย่างเป็นองค์รวมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ด้วยการแบ่งปันและเอื้ออาทร Participation from all sectors in a community is a main strategy to solve health care problem that related to community needs and contexts. This leads to achieve an aim of healthy community. An effective health care management community can be present a substantial development of effective participatory healthy public policy. This descriptive research was aimed to study a development of community participatory capacities in health care management, and a development of all sectors community coordinating network for house-bound and bed-bound older adults caring management. The information providers were selected including community representatives, volunteers, leaders, local leaders, health volunteers, municipal officers, nurses, and health care center officers. This research was conducted during July 2014-March 2015. The research instruments were developed through intensive literature reviews including social capital questionnaires, focus group discussions, and in-depth interviews. Data were analyzed descriptive statistics. Content analyzed and data categorized were adopted to analyze qualitative data. The results revealed that the community was developed health care management innovation which based-on social capital and all sectors community participations. The community was developed health care management for house-bound and bed-bound older adults by develop ‘Ar Sa Pun Suk’ or ‘Happiness Sharing Volunteer’ project. This presented a community capacities to develop healthy public policy toward a substantial practice. The majority sector is preparedness volunteers who sharing and willing to develop effectively and sustainability project ‘Ar Sa Pun Suk’ (Happiness Sharing Volunteer). This also presented the development of health care coordinating network for house-bound and bed-bound older adult management and presented a lesson learned for people in community and outside setting. Therefore, the health care management innovation, ‘Ar Sa Pun Suk’ presented capacity and participatory community for house-bound and bed-bound older adults management with holistic approach including physical, psychological,social, and spiritual health, and also with sharing and kindness.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectนวัตกรรมen_US
dc.subjectการจัดการดูแลสุขภาพen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมของชุมชนen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะen_US
dc.subjectInnovationen_US
dc.subjectHealth Care Managementen_US
dc.subjectCommunity Participationen_US
dc.subjectPublic Policy Public Policyen_US
dc.titleนวัตกรรมการจัดการดูแลสุขภาพของชุมชน: ‘อาสาปันสุข’en_US
dc.title.alternativeCommunity Health Care Management Innovation: ‘Ar Sa Pun Suk’ (Happiness Sharing Volunteer)en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.