Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69826
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปาริฉัตร แซ่ลิ้วen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ กันธะรักษาen_US
dc.contributor.authorนงลักษณ์ เฉลิมสุขen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:24Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 69-81en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57302/47516en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69826-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดามีความสำคัญอย่างมากต่อภาวะสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทารก โดยเฉพาะในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดซึ่งผ่านประสบการณ์การคลอด แตกต่างจากมารดาทั่วไป ทั้งนี้ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 85 ราย ที่มารับบริการ ตรวจสุขภาพภายหลังคลอด 4 ถึง 6 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำพูน และโรงพยาบาลสันป่าตอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของสุกัญญา ปริสัญญกุล ฉวี เบาทรวง และ ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี (2556) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดา หลังคลอด ที่สร้างขึ้นโดยนลินี สิทธิบุญมา กรรณิการ์ กันธะรักษา และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2557) และ แบบประเมิน ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา (MRAS-Form B) ที่สร้างขึ้นโดยศรีสมร ภูมนสกุล อรพรรณ สมบูรณ์ทรัพย์ และอุษา ศิริวัฒนโชค (2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดมีการรับรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดทางบวก ร้อยละ 52.94 และ มีประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดทางลบ ร้อยละ 47.06 2. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.24 และได้รับ การสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.76 3. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดมีความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.06 และมีความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 52.94 4. การรับรู้ประสบการณ์การคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความสำเร็จในการดำรงบทบาท มารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .214, p<.05) และการสนับสนุนทาง สังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการ ผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .393, p<.01) Maternal role attainment is very important for babies’ health and life safety, especially for mothers who have undergone a cesarean section and as a result had a different experienceduring birth compared to other mothers. Successful maternal role attainment depends on several factors. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore perceptions of childbirth experience, social support, and maternal role attainment among mothers who had a cesarean section. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 85 mothers with emergency cesarean section who had postpartum check-up at 4-6 weeks at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Chiang Mai Health Promotion Hospital, Lampoon Hospital and Sanpatong Hospital. The data were collected from May to August 2015. The instruments used for data collection were: the Perceptions of Childbirth Experience for mothers with cesarean section Questionnaire modified from the Childbirth Perception and Experience Questionnaire by Sukanya Parisanyakul, Chavee Baosoung and Piyaporn Prasitwatanasaree (2013), the Social Support Questionnaire by Nalinee Sitthiboonma,Kannika Kantaruksa and Bungorn Supavititpatana (2014), and the Maternal Role Attainment Scale Form-B by Srisamon Phumonsakul, Arapan Somboonsam and Ausa Sirivatanachok (2004). Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that: 1. Perceptions of childbirth experience of mothers with cesarean section were positive for 52.94% of the sample and negative for 47.06%. 2. Social support of mothers with cesarean section were at a high level for 88.24% of the sample and at a moderate level for 11.76%. 3. Maternal role attainment was at a high level for 47.06% of the sample and at a low level for 52.94%. 4. Perceptions of childbirth experience had a low positive correlation with maternal role attainment (r = .214, p<.05). Social support had a moderate positive correlation with maternal role attainment (r = .393, p<.01).en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการรับรู้ประสบการณ์การคลอดen_US
dc.subjectการสนับสนุนทางสังคมen_US
dc.subjectความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาen_US
dc.subjectมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดen_US
dc.subjectการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินen_US
dc.subjectPerceptions of Childbirth Experienceen_US
dc.subjectSocial Supporten_US
dc.subjectMaternal Role Attainmenten_US
dc.subjectMothers with Cesarean Sectionen_US
dc.subjectEmergency Cesarean Sectionen_US
dc.titleการรับรู้ประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดen_US
dc.title.alternativePerceptions of Childbirth Experience, Social Support andMaternal Role Attainment among Mothers with Cesarean Sectionen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.