Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69815
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | กาญจนา พรหมเรืองฤทธิ์ | en_US |
dc.contributor.author | อุษณีย์ จินตะเวช | en_US |
dc.contributor.author | จุฑามาศ โชติบาง | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T07:27:24Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T07:27:24Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42 (พิเศษธันวาคม 2558) 35-45 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57298/47513 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69815 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การให้การดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่เหมาะสมในระหว่างรอรับการผ่าตัดนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อตัวเด็ก เพราะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย เชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การดู แลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแล จำนวน 106 ราย ซึ่งให้การดูแลเด็กอายุ 1 ถึง 6 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โดยมาติดตามการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลตติยภูมิ จำนวน 3 แห่งในภาคเหนือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม ความรู้เรื่องโรค การรักษา และการให้การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบบสอบถามการรับรู้ ภาวะสุขภาพ และแบบสอบถามการให้การดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งผู้วิจัย สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ 1.00, 1.00 และ 0.96 ตามลำดับ หาความเชื่อมั่นโดยค่าคูเดอร์ริชาร์ดสันและค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ0.71, 0.91 และ 0.96 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีการให้การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 74.50 2. กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรค การรักษา และการให้การดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิดอยู่ใน ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 55.70 และมีการรับรู้ภาวะสุขภาพอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 90.60 3. ปัจจัยความรู้เรื่องโรค การรักษา และการให้การดูแลเด็กหัวใจพิการแต่กำเนิด มีความสัมพันธ์กับการให้การดู แลของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.51, p<.01) และปัจจัยการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการให้การดูแลของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.51, p<.01)ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการให้การดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมการให้การดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดต่อไป Proper caregiving among caregivers of children with congenital heart disease (CHD) during waiting period before surgery is important for children because it helps in reducing the disease’s complications. The purpose of descriptive correlational research was to study the caregiving and related factors among caregivers of children with CHD. Samples were 106 caregivers, who provide care for children aged 1-6 years with CHD,whosereceived follow-up visits at the pediatric clinic of three tertiary care hospitals in the Northern region. The research instruments, were developed by the researcher from the literature review, including 1) the Knowledge of Congenital Heart Disease, Treatment, and Caregiving Children with CHD Questionnaire; 2) the Health Perception Questionnaire; 3) the Caregiving of Caregivers of Children with CHD Questionnaire. The content validity of these questionnaires were approved by a panel of experts with the value of 1.00, 1.00 and 0.96, respectively. The reliability of the questionnaires, using Kuder-Richardson 20 and the Cronbach’s alpha coefficient, showed the value of 0.71, 0.91 and 0.96,respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s productmoment Correlation. The results revealed that 1. Caregivers provided caregiving to children with CHD at a high level of 74.50%. 2. Caregivers demonstrated the knowledge of congenital heart disease, treatment, and caregiving of children with CHD at a high level of 55.70% and their perceived health was at a high level of 90.60%. 3. Knowledge of CHD, treatment, and caregiving children with CHD was positively statistically significant correlated to caregiving at a moderate level (r=0.51, p<.01), and health perception was positively statistically significant correlated to caregiving at a moderate level (r=0.51, p<.01). The findings in this study provide preliminary data about knowledge of caregiving of children with CHD and related factors. The information may serve as a guide to promotecaregiving of children with CHD. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การให้การดูแล | en_US |
dc.subject | เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด | en_US |
dc.subject | ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง | en_US |
dc.subject | Caregiving | en_US |
dc.subject | Children with Congenital Heart Disease | en_US |
dc.subject | Related Factors | en_US |
dc.title | การให้การดูแลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด | en_US |
dc.title.alternative | Caregiving and Related Factors among Caregivers of Children with Congenital Heart Disease | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.