Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69807
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ อารีย์en_US
dc.contributor.authorอนงค์ อมฤตโกมลen_US
dc.contributor.authorมาลี เอื้ออำนวยen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 193-204en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57277/47492en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69807-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการควบคุมอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดจำนวนทั้งหมด 57 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 ราย และกลุ่มควบคุม 28 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและคู่มือเรื่องการควบคุมอาหารเพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารได้ค่าได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 1 การตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารด้วยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 กลุ่มทดลองได้รับคำแนะนำโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำโดยการสอนตามปกติตามแผนการพยาบาลของหน่วยตรวจพิเศษทางโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบภายนอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ สถิติการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มอิสระ สถิติการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ ในระยะหลังการทดลองคะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่าคะแนนในระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้เพื่อเป็นสื่อประ กอบในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้ดียิ่งขึ้น A pretest-posttest control group quasi-experimental design was used in this study.The aim of the study was to determine the effectiveness of tutorial teaching through computer assisted instruction (CAI) regarding dietary control for ischemic heart disease prevention. Population of the study was patients with high risk of ischemic heart disease. The total number of samples were 57 cases, divided into 29 cases participated in experimental group and 28 cases participated in control group. The research intervention instruments were CAI and handbook regarding dietary control for ischemic heart disease prevention. The collecting instruments was the food consumption behaviors questionnaire. The content validity index of the food consumption behaviors questionnaire was 1. The reliability by using Cronbach’s alpha coefficient method of this food consumption behaviors questionnairewas .80 The providing information for the experimental group was using CAI, and for the control group was using usual teaching according to nursing care plan of the Mednoninvasiveunit. The data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, independent t-test, dependent t-test, and analysis of covariance (ANCOVA). The research results were shown as follow: At posttest period, the food consumption behaviors score of the experimental group was significantly higher than that of the control group (p<.05). The food consumption behaviors score of the experimental group at posttest period was significantly higher than that at pretest period (p<.05). The results of this study provide the appropriated CAI program that may be used as the educational aids for advice to gain more knowledge that will be help more the dietary control of ischemic heart disease prevention.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการสอนทบทวนen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยสอนen_US
dc.subjectการควบคุมอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดen_US
dc.subjectTutorial Teachingen_US
dc.subjectComputer Assisted Instructionen_US
dc.subjectDietary Control for Ischemic Heart Disease Preventionen_US
dc.subjectFood Consumption Behaviorsen_US
dc.subjectHigh Risk Patientsen_US
dc.titleประสิทธิผลของการสอนทบทวนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการควบคุมอาหารสำหรับป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of Tutorial Teaching Through Computer Assisted Instruction Regarding to Dietary Control for Ischemic Heart Disease Prevention on Food Consumption Behaviors in High Risk Patientsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.