Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69802
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิซรีน เจ๊ะมามะ | en_US |
dc.contributor.author | นันทพร แสนศิริพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | กรรณิการ์ กันธะรักษา | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T07:27:23Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T07:27:23Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 105-115 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57269/47476 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69802 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้จะเป็นบิดา ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อภาวะสุขภาพของสตรีมีครรภ์ ทารกในครรภ์และตัวของผู้จะเป็นบิดาเอง การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด และการสนับสนุนทางสังคม กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จะเป็นบิดาครั้งแรก นับถือศาสนาอิสลาม ที่ภรรยาตั้งครรภ์และมารับฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 102 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความเครียดสวนปรุงแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของบิดา และแบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดามีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 .81 และ .93 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดามีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.1 และมีความเครียดระดับสูง ร้อยละ 33.3 มีคะแนนความเครียดเฉลี่ย 36.84 คะแนน (S.D. = 14.23) ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดาส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.6 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมากมีคะแนนการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมเฉลี่ย 3.95 (S.D. = .60) ชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดาส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.5 เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาเฉลี่ย 119.79 คะแนน (S.D. = 14.35) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .401, p = < .01) ความเครียดไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดา จากผลงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรสนับสนุนให้ผู้จะเป็นบิดาได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากภรรยา บุคคลรอบข้าง และพยาบาลผดุงครรภ์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้จะเป็นบิดาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลภรรยาและทารกในครรภ์ Expectant father involvement leads to the good health outcomes of pregnant women,fetus and the fathers themselves. The purpose of this descriptive correlational research study was to explore stress, social support and father involvement among Muslim expectantfathers. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 102 Muslim expectant fathers who accompanied their wives to the antenatal care unit at Naradhiwas Rachanakarin and Sugaikolok Hospitals from December 2013 to March 2014. The research tools were the Suanprung Stress Test-20, the Social Support Questionia and the Muslim Expectant Father’s Involvement Questionnaire which had the reliability .83, .81 and .93, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation were used to analyze the data. Results of the study revealed that:Muslim expectant fathers had moderate and high stress level at, 45.1% and 33.3%, respectively. The mean score of stress level was 36.84 (S.D. = 14.23),The majority of Muslim expectant fathers had high social support at, 69.6%. The mean score of social support was 3.95 (S.D. = .60). 1. The majority of Muslim expectant fathers were highly involved at, 74.5%. The meanscore of fathers , involvement was 119.79 (S.D. = 14.35), and 2. Social support had moderately positive correlation with father involvement among Muslim expectant fathers (r = .401, p=<.01), Stress was not correlated with fatherinvolvement. These findings suggest that the expectant fathers should be encouraged to receive social support from their wives, relative and midwives to promote their involvement in caring of their wives and unborn baby. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ความเครียด | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคม | en_US |
dc.subject | การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดา | en_US |
dc.subject | ชายมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา | en_US |
dc.subject | Stress | en_US |
dc.subject | Social Support | en_US |
dc.subject | Father Involvement | en_US |
dc.subject | Muslim Expectant Fathers | en_US |
dc.title | ความเครียด การสนับสนุนทางสังคมและการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในชาวมุสลิมที่กำลังจะเป็นบิดา | en_US |
dc.title.alternative | Stress, Social Support, and Father Involvement among Muslim Expectant Fathers | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.