Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69798
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นิติกุล บุญแก้ว | en_US |
dc.contributor.author | นารีรัตน์ จิตรมนตรี | en_US |
dc.contributor.author | วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T07:27:23Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T07:27:23Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | พยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 84-94 | en_US |
dc.identifier.issn | 0125-5118 | en_US |
dc.identifier.uri | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57267/47474 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69798 | - |
dc.description | วารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาล | en_US |
dc.description.abstract | การปฏิบัติพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดทั้งทางด้านการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และใช้ยาเบาหวาน เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือด คือ แรงจูงใจภายใน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย แบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายในกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก จำนวน 88 ราย จากผู้ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลตรัง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แรงจูงใจภายใน และพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีแรงจูงใจภายในและพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยรวมระดับปานกลาง มีพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดด้านการใช้ยาเบาหวานระดับสูง ด้านการรับประทานอาหารและด้านการออกกำลังกายระดับปานกลาง แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .45, p<.01) และแรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดด้านการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r = .48, p<.01) แต่แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดด้านการรับประทานอาหาร (r = .18, p = .09) และไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดด้านการใช้ยาเบาหวาน (r = .00) ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมแรงจูงใจภายในให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีการออกกำลังกายตามความชอบของตนเอง และควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารและใช้ยาเบาหวานต่อไป Glycemic control behavior through diet, exercise and diabetic medication is important in helping to prevent or delay the complications of diabetes among older persons. A factors that may be correlated with glycemic control behaviors is intrinsic motivation. This correlational descriptive research study aimed to determine the relationship between intrinsic motivation and glycemic control behaviors in among older persons with type 2 diabetes. Convenience sampling was used to select a total of 88 subjects who were patients receiving treatment at the Trang Hospital Diabetes Clinic in Trang Province. Data were collected by a questionnaire assessing personal information, intrinsic motivation, and glycemic control behaviors. The analysis to determine relationships was done using Pearson’s correlation coefficient. The findings of this study revealed that older persons with type 2 diabetes had intrinsic motivation and glycemic control behaviors at a medium level. Data analysis showed that the subjects had diabetes medication adherence at a high level, while diet control behaviors and exercise behaviors were at a medium level. Intrinsic motivation was positively correlated with glycemic control behaviors at a statistical significance of r = .45, p <.01, and intrinsic motivation was positively correlated with glycemic control with exercise behavior at a statistical significance of r = .48, p <.01, but intrinsic motivation and glycemic control with diet control behavior were positivelycorrelated with no statistical significance (r = .18, p = .09) and there was no correlationof intrinsic motivation with glycemic control with diabetes medication adherence(r = .00). Therefore, health personnel should promote intrinsic motivation to among older persons with type 2 diabetes with exercise on their own preferences. Further studies should be done on a factors that influence behaviors is diet, and diabetic medication following. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en_US |
dc.subject | โรคเบาหวานชนิดที่ 2 | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจภายใน | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือด | en_US |
dc.subject | Older Persons | en_US |
dc.subject | Type 2 Diabete | en_US |
dc.subject | Intrinsic Motivation | en_US |
dc.subject | Glycemic Control Behaviors | en_US |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจภายในกับพฤติกรรมควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | The Relationship Between Intrinsic Motivation And Glycemic Control Behaviors among Older Persons With Type 2 Diabetes | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.