Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69796
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้าen_US
dc.contributor.authorณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลางen_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 95-104en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57268/47475en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69796-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราปอดอักเสบพบสูงขึ้นและมีอัตราตายสูง การส่งเสริมให้พยาบาลปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อมีความสำคัญในการควบคุมและลดภาวะแทรกซ้อนการใช้เครื่องช่วยหายใจการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการมใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2557 มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรพยาบาล จำนวน 28 รายและผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 128 ราย แนวปฏิบัติครั้งนี้เป็นการประยุกต์แนวคิด The PRECEDE - PROCEED Model มาเป็นกรอบแนวคิดโดยยึดหลักความร่วมมือและการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การให้คู่มือ การใช้โปสเตอร์การกระตุ้นเตือนและการให้ข้อมูลย้อนกลับ ใช้แนวเวชปฏิบัติในการดูแลรักษาและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทยของสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย (2550) มาเป็นแนวทางในการกำหนดข้อปฏิบัติในกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ การเก็บรวบรวมข้อมูลมีทั้งก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ12 สัปดาห์โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจและแบบบันทึกอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบคะแนนการปฏิบัติโดยใช้ paired t-test เปรียบเทียบอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบ โดยใช้อัตราอุบัติการณ์ (incidence rate) ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรพยาบาลมีคะแนนการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญ(p<.01)ประกอบด้วย การดูแลความสะอาดช่องปากและฟัน (p<.001) การดูแลจัดท่านอนและการพลิกตัว (p<.05) การดูแลให้อาหารทางสายยาง(p<.01) การดูดเสมหะ(p<.001) และการดูแลท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์ของเครื่องช่วยหายใจ(p<.001)อุบัติการณ์ปอดอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดการติดเชื้อปอดอักเสบลงได้ โดยควรทำ การศึกษาซ้ำ ในระยะยาวในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติ Ventilator-associated pneumonia (VAP) is an important complication of mechanicallyventilated patients. The incidence of VAP is increasing rapidly and higher mortality rate. Clinicalnursing practice guidelines can help control the infectious diseases and reduce the complicationsfor mechanically ventilated patients The study aimed to determine effects of the clinical nursing practice guideline for carefor prevent VAP at Thammasat University Hospital between May to July 2014. A total of 28 nurses and 128 mechanically ventilated patients were enrolled in the study. The clinical nursing practice guideline for care in mechanically ventilated patients was developed based on the concept of The PRECEDE-PROCEED model and used the Thai ClinicalPractice Guidelines for Management and Prevention of Adults with Hospital-acquired and Ventilator-associated Pneumonia (2007) as a guideline to determine the conduct of activitiesin patient care. It consisted of an education for control the infectious, manual, poster and feedback, whereas the control group received usual nursing care. Data were collected bothpre-study and post-study period using an evaluation form for mechanically ventilated patientsin which was developed by the author. The data were analyzed used using descriptive statistics,paired t-test and incidence rate. The findings indicated that the experimental group demonstrated a nurses hadsignificantly higher scores better than the control group in all aspects (p<.01); oral hygiene care (p<.001), a frequent turning position (p<.05), care during feeding (p<.01), clearance of airway secretion (p<.001), and endotracheal tube and ventilator circuits care (p<.001).The incidence rate of VAP decreased decrease than the control group (p< 0.05). It can be concluded that the encouragement in use the clinical nursing practice guideline for care in mechanically ventilated patients was effective for prevention of infectionespecially decreasing VAP incident rate. Further studies should be performing with larger population and longer period of time to verify the effectiveness of the program of this guideline.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectแนวปฏิบัติการพยาบาลen_US
dc.subjectผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจen_US
dc.subjectปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจen_US
dc.subjectClinical nursing practice guidelineen_US
dc.subjectMechanically ventilated patientsen_US
dc.subjectVentilator-associated pneumoniaen_US
dc.titleผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติen_US
dc.title.alternativeResults of Promoting the Clinical Nurse Practice Guidelines for Mechani-cally Ventilated Patients and Incidence of Ventilator-Associated Pneumonia in a Medical Ward at Thammasat University Hospitalen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.