Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69795
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอกนิษฐ์ เลศักดิ์en_US
dc.contributor.authorพิกุล นันทชัยพันธ์en_US
dc.date.accessioned2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.available2020-10-08T07:27:23Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 42 (พิเศษพฤศจิกายน 2558) 61-72en_US
dc.identifier.issn0125-5118en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57265/47467en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69795-
dc.descriptionวารสาร พยาบาลสาร Nursing Journal วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ ความรู้ทางการพยาบาลและสุขภาพ 2. เพื่อส่งเสริมงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและสุขภาพ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ในวงการวิชาชีพการพยาบาลen_US
dc.description.abstractการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเป็นทางเลือกที่ดีวิธีหนึ่งในการรักษาโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดชนิดนี้มักจะประสบกับความวิตกกังวลสูงเกี่ยวกับผลของการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ทำการสืบค้นเพื่อรวบรวมงานวิจัยที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ที่รายงานไว้ระหว่างปี ค.ศ. 1998 ถึง ค.ศ. 2012 ทบทวนโดยใช้แบบประเมินคุณค่างานวิจัยเชิงทดลองและแบบสกัดข้อมูลที่พัฒนาโดยสถาบันโจอันนาบริกส์ การคัดเลือกงานวิจัยและการสกัดข้อมูล กระทำโดยผู้ทบทวนสองคน ใช้การสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการลดความวิตกกังวลและผลที่ได้รับ ผลการทบทวน พบว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบผลของวิธีการลดความวิตกกังวลในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 15 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นการทดลอง 10 เรื่องและเป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง 5 เรื่อง ผลของการทบทวน พบว่า วิธีการลดความวิตกกังวลมี 5 หมวดหมู่ ได้แก่ 1) การให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับโรค การรักษา วิธีการผ่าตัด สิ่งที่คาดว่าผู้ป่วยต้องเผชิญ และการดูแลตนเองตัวก่อนและหลังได้รับการผ่าตัด 2) วิธีการปรับความคิดและพฤติกรรม 3) การใช้เทคนิคบำบัด ความวิตกกังวล ได้แก่ ดนตรีบำบัด และสัมผัสบำบัด 4) การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และ 5) การฝึกกายภาพบำบัดร่วมกับการให้ความรู้ โดยที่วิธีการดังกล่าวนี้ควรให้แก่ผู้ป่วยตลอดกระบวนการตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และ หลังผ่าตัด ผลการทบทวนครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติที่ดีในการลดความวิตกกังวลในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติทางคลินิกได้ ข้อเสนอแนะต่างๆสามารถนำไปสู่การปฏิบัติประจำวันและยังสามารถนำไปพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับพยาบาลด้วย Open heart surgery is one of the options in the treating heart disease. However, patients undergoing this kind of surgery always experience high anxiety about the results and complications of the operation. This systematic review aimed to summarize the best evidence on reducing anxiety among patients undergoing open heart surgery. An evidence search was undertaken to identify both published and unpublished studies reported from1998 to 2012. A Study appraisal form for experimental study and a data extraction form wereused. Selection of eligible studies and data extraction were conducted by two persons.Narrative summarization was employed to identify interventions and outcomes of anxiety reduction. Fifteen studies evaluating the effect of anxiety reduction among patients undergoing open heart surgery met the review inclusion criteria, of which 10 were randomized clinical trials and 5 were quasi-experimental studies. The review documented interventions that fit into five categories: 1) providing knowledge and information to the patient regarding disease, treatment, operation procedures, expected events, and pre- and post-operative self-care, 2) the cognitive behavioral interventions, 3) therapeutic techniques such as music and touch, 4) group process in reducing anxiety, and 5) physiotherapeutic techniques in addition to knowledge provision. These interventions were provided to the patientsthroughout the process including pre-operation, intra-operation, and post-operation. The findings of this review provide recommendations of good practices in reducing anxietyamong persons undergoing open heart surgery which can be used in clinical practice. The recommendations can be used in daily practice and also in developing clinical nursing practice guidelines.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์en_US
dc.subjectการลดความวิตกกังวลen_US
dc.subjectผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen_US
dc.subjectEvidence reviewen_US
dc.subjectAnxiety reductionen_US
dc.subjectUndergoing open heart surgeryen_US
dc.titleการทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen_US
dc.title.alternativeEvidence Review on Anxiety Reduction among Patients Undergoing open Heart Surgeryen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.