Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69729
Title: นัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะ
Other Titles: The Hidden Meaning in the Humor of Kai Hua Roh Magazine
Authors: นันทวรรณ ทองเตี่ยง
Authors: รองศาสตราจารย์นฤมล ธีรวัฒน์
รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวรักษ์ ศิวารมย์
นันทวรรณ ทองเตี่ยง
Issue Date: Jul-2020
Publisher: เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาเรื่องนัยแฝงในอารมณ์ขันผ่านนิตยสารขายหัวเราะ ปี พ.ศ. 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานัยแฝงในอารมณ์ขันที่สื่อสารผ่านการ์ตูนนิตยสารรายสัปดาห์ “ขายหัวเราะ” เฉพาะที่พิมพ์ พ.ศ.2559 จำนวน 43 ฉบับ วิธีการศึกษาใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) เป็นหลักในการวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดสัญวิทยา (Semiology) ร่วมกับทฤษฎีอารมณ์ขัน (Humor Theories) ว่าอารมณ์ขันมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร มาวิเคราะห์ตัวบทคือแก๊กตลกในนิตยสารขายหัวเราะ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจสังคมบางมิติได้ชัดเจนขึ้นผ่านวัฒนธรรมอารมณ์ขัน ผลการศึกษาพบว่า นัยแฝงเป็นการรับรู้ระดับลึกที่สุดของแก๊กตลก อันเป็นระดับความหมายทางวัฒนธรรม นัยแฝงแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม โดยเรียงลำดับจากปริมาณมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) กลุ่มปรากฏการณ์ทางสังคม สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกี่ยวกับวิถีการใช้ชีวิตในสังคมทุนนิยมที่นำมาสู่ประเด็นการล้อเลียน เสียดสี วิพากษ์ วิจารณ์ 2) กลุ่มเพศสภาพและความหลากหลายทางเพศ สะท้อนภาพของสังคมชายเป็นใหญ่ที่เป็นผู้กำหนดบทบาท และลักษณะของเพศอื่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และบางครั้งก็กำหนดตัวเองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ วาทกรรมการ ถูกทำให้กลายเป็นวัตถุทางเพศนั้นเพศหญิงมีปริมาณมากที่สุด แม้ว่าจะมีการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้นแต่ยังก้าวไม่พ้นการล้อเลียนพวกเขาเหล่านั้น 3) งานเขียนในสื่อศิลปะประเภทต่าง ๆ สะท้อนพื้นฐานทางความคิดของแต่ละวัฒนธรรมที่ผลิตงานเขียนเหล่านั้นขึ้นมา อันได้แก่ วรรณกรรม นิทานพื้นบ้าน เรื่องสั้น นวนิยาย ละครวิทยุและโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพลง เป็นต้น ทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นการปะทะประสานระหว่างสังคมจารีตแบบดั้งเดิมกับสังคม เสรีแบบใหม่ การ์ตูนจะใช้การล้อเลียน เสียดสี วิพากษ์ วิจารณ์ 4) กลุ่มความเชื่อในสังคมไทย สะท้อนความเชื่อดั้งเดิมในสังคมไทยที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จนทำให้คนรุ่นใหม่บางกลุ่มพยายามกำหนดและเหมารวมภาพของความเชื่อเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งไร้สาระ ผลสรุปรวมทั้งหมดบ่งชี้ว่าวัฒนธรรมอารมณ์ขันมีพลังในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือตำหนิ ติเตียนโดยไม่ต้องเผชิญหน้าโดยตรง ทำให้ความขัดแย้งไม่รุนแรง ทั้งยังใช้อารมณ์ขันช่วยผ่อนคลายความเครียดยามเผชิญกับวิกฤตนอกจากนั้นจากการสื่อสารที่ไหลเวียนของแก๊กตลกในการ์ตูนแสดงว่าความคิดและความเชื่อเดิมทางวัฒนธรรมบางอย่างได้ฝังลึกลงไปในวิถีคิดและวิธีปฏิบัติ ส่งผลให้ความคิด และความเชื่อทางวัฒนธรรมนั้นถูกนำเสนอ และส่งต่อออกไปทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นการตอกย้ำและตรึงชุดความคิดเดิมให้อยู่กับสังคมนั้นต่อไป
URI: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69729
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580131015 นันทวรรณ ทองเตี่ยง.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.