Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69644
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เทิด ดิษยธนูวัฒน์-
dc.contributor.authorรุจิภาส ยงสวาสดิ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-19T08:47:23Z-
dc.date.available2020-08-19T08:47:23Z-
dc.date.issued2020-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69644-
dc.description.abstractIn Thailand, there are of two commercial managed species of honeybee that included the Western cavity nesting bees (Apis mellifera) and Asiatic cavity nesting bee (Apis cerana). They provide valuable products and pollination service for major agricultural crops and the natural environment. In this study, we examined the impact of sacbrood virus (SBV), the cause of larval death with a fluid-filled larval sac, on the normal flora bacterial communities of infected versus healthy bee larvae. The SBV in this study was an isolate from A. mellifera. The fifth instar larvae of both honeybee species were grafted into petri dishes provisioned with a royal jelly/brood food mixture (RJ) spiked with a high virus titer. Larvae were collected after 24 hrs of exposure and DNA/RNA extracted. The virus titer was determined using quantitative real time PCR (qRT-PCR). The whole genomic DNA was sequenced by illumina sequencing. Results showed that the larvae had SBV infection. The gut communities of infected A. cerana showed more dramatic change than A. mellifera, which may be caused by SBV cross infection and effects of SBV infection on the gut communities of A. cerana more than A. mellifera. In A. mellifera, the proportion was not dramatic changing of Gilliamella, Snodgrassella and Fructobacillus while A. cerana, the noticeable proportion changing revealed in Gilliamella with extremely decreased (from 35.54% to 2.96%) but significant increase in Snodgrassella and Fructobacillus. The confirmation of cross infection should be further investigated.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบของไวรัสโรคออกถุงที่มีต่อแบคทีเรียประจำถิ่นในผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana)en_US
dc.title.alternativeImpact of Sacbrood Virus on Normal Flora Bacteria of Apis mellifera and Apis ceranaen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) เป็นผึ้งเศรษฐกิจ 2 ชนิดที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีบทบาททั้งการผลิตผลิตภัณฑ์จากผึ้ง รวมถึงช่วยในการผสมเกสรให้กับพืชหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ หรือพืชตามธรรมชาติ งานวิจัยนี้จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของประชากรแบคทีเรียประจำถิ่นของผึ้งเมื่อติดเชื้อไวรัสโรคออกถุง (sacbrood virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการเน่าตายของตัวอ่อนผึ้งขณะอยู่ในถุงตัวอ่อน โดยเชื้อไวรัสที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นไวรัสโรคออกถุงที่แยกได้จากผึ้งพันธุ์ ตัวอ่อนผึ้งที่นำมาทดสอบจะเป็นตัวอ่อนในระยะที่ 5 หรือตัวอ่อนระยะตาขาว (white eye) โดยนำตัวอ่อนมาเลี้ยงบนจานเพาะเลี้ยง แล้วให้อาหารตัวอ่อนด้วยนมผึ้งผสมไวรัส จากนั้นบ่มตัวอ่อนไว้ 24 ชั่วโมงก่อนจะเก็บตัวอ่อนมาสกัด RNA และ DNA เพื่อใช้ในการตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสด้วยเทคนิค quantitative real time PCR (qRT-PCR) และหาลำดับนิวคลีโอไทด์ด้วยเทคโนโลยี illumine sequencing ตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าประชากรแบคทีเรียในผึ้งโพรงมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงกว่าในผึ้งพันธุ์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเกิดการติดเชื้อไวรัสข้ามสายพันธุ์ (cross infection) แล้วเกิดผลกระทบที่รุนแรงต่อผึ้งโพรงมากกว่าผึ้งพันธุ์ ในผึ้งพันธุ์ติดเชื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของประชากรแบคทีเรีย Gilliamella Snodgrassella และ Fructobacillus เพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผึ้งโพรงติดเชื้อ พบว่า Gilliamella เกิดการลดลงอย่างมาก (จาก 35.54 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 2.96 เปอร์เซ็นต์) แต่ Snodgrassella และ Fructobacillus มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ระหว่างไวรัสจากผึ้งชนิดหนึ่งกับผึ้งอีกชนิดหนึ่งก็ควรได้รับการตรวจสอบเพื่อยืนยันการเกิดการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ต่อไปในอนาคตen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590531074 รุจิภาส ยงสวาสดิ์.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.