Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Pongchawee Vaiyavutjamai-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Prasit Leepreecha-
dc.contributor.advisorLect. Dr. Nannaphat Saenghong-
dc.contributor.authorSaard Khamtanen_US
dc.date.accessioned2020-08-10T01:37:01Z-
dc.date.available2020-08-10T01:37:01Z-
dc.date.issued2020-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69487-
dc.description.abstractThe research “Educational Supervision for Multicultural Education in School” is a study in government schools located in highland of Wiang Kaen District, Chiangrai Province, being under Chiangrai Primary Education Service Area Office 4. In this area there are high ethnic diversity of students: Chinese, Hor, Lahu, Tai Yai, Akha, Hmong, and Muang (Yuan). Objective of this research is to study educational supervisory pattern to provide multicultural education in school, to study educational supervisory result that affects teachers in terms of knowledge, confidence and teaching activities for multicultural education, and to study supervisory result that has effect to students regarding their acceptance in multiculturalism. This is a Participatory Action Research: PAR. A team of 24 co-researchers consists of 1 school executive; 2 parent representatives; 4 local teachers; 3 educational institute committee; 3 community leaders; 2 supervisors (one of them was a researcher); primary teachers teaching students in Primary 4-6 within 4 knowledge clusters: 3 teachers in Thai Language, 3 teachers in Social Studies, Religion and Culture, 2 teachers in Arts, 1 teacher in Occupation and Technology, therefore totally 9 teachers; and 67 students in Primary 4–6. The data was collected in terms of quantity and quality. The quantitative analysis method is done by Mean and Standard Deviation, while qualitative analysis is completed by Descriptive Analysis. From the study, it was found that there were 3 compositions of educational supervision: 1st composition is educational supervisors and supervisees e.g. school executives, teachers, academic teachers and supervisors. The 2nd composition is all people who gets involved such as local wisdom teachers, community leaders, parent representatives and educational institute committees. The 3rd composition is 5 steps of supervisory pattern. The 1st step is to build concepts of culture. The 2nd step is to study school/community context. The 3rd step is to develop multicultural curriculum. The 4th step is to create multicultural classroom and the 5th step is to review all the processes for actual practice. For effective educational supervisory pattern in each composition, there must be a cooperation and empowerment of every sectors so that the supervision could be moved efficiently. The educational supervisory pattern affected the high development in teachers who were co-researchers regarding their knowledge, confidence and classroom activities arrangement. The teachers as co-researchers had wide range of knowledge in multiculturalism as they applied curriculum and teaching instruction that the students were familiar with in their daily life. They knew well how to design learning activities without racism and prejudice. The teachers as co-researchers had confidence in teaching multiculturalism. They could decide learning activities and believed that they could complete the tasks confidently. They also could facilitate classroom activities regarding student-centered learning concept. The activities in the classes would concentrate on positive interaction, and promote self-learning in students and critical thinking skills in them. Apart from this, educational supervision for multicultural learning also had impact on the development in students on their acceptance in cultural diversity from medium to very high range. So students learned and accepted cultures, traditions, life styles, and beliefs of themselves as well as others’ in different ethnic groups as useful, necessary and appropriate for each person and everyone could live in multicultural society together normally.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleThe Supervision for Contruction of Multicultural Learning in the Schoolen_US
dc.title.alternativeการนิเทศเพื่อสร้างการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมในโรงเรียนen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง การนิเทศ เพื่อสร้างการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมในโรงเรียน เป็นการศึกษาในโรงเรียนของรัฐที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่สูงในเขตอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ที่นักเรียนมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ประกอบด้วย ชาติพันธุ์ จีนฮ่อ ลาหู่ ไทใหญ่ อาข่า ม้ง และเมือง (ยวน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการนิเทศ เพื่อสร้างการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมในโรงเรียน ศึกษาผลการนิเทศที่มีต่อครูในด้านความรอบรู้ ความเชื่อมั่น และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพหุวัฒนธรรม และศึกษาผลการนิเทศที่มีต่อนักเรียน ด้านการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยใช้วิธีการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัย จำนวน 24 คนประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ตัวแทนผู้ปกครอง 2 คน ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 3 คน ผู้นำชุมชน 3 คน ศึกษานิเทศก์ 2 คน โดยที่ศึกษานิเทศก์ หนึ่งคนมีบทบาทเป็นนักวิจัย ครูผู้สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ใน4 กลุ่มสาระ ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3 คนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3 คน สาระการเรียนรู้ศิลปะ 2 คน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 1 คนรวม 9 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 4 -6 จำนวน 67 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการนิเทศมี 3 องค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบที่ 1 ผู้นิเทศและรับการนิเทศ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูวิชาการ และ ศึกษานิเทศก์ องค์ประกอบที่ 2 ผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ ครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา และ องค์ประกอบที่ 3 รูปแบบการนิเทศมี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างมโนทัศน์วัฒนธรรม ขั้นที่ 2 การศึกษาบริบทโรงเรียน/ชุมชน ขั้นที่ 3 การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรม ขั้นที่ 4 การสร้างห้องเรียนพหุวัฒนธรรมและ ขั้นที่ 5 การทบทวนปฏิบัติ ซึ่งการที่จะทำให้รูปแบบการนิเทศในแต่ละองค์ประกอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการเสริมพลังอำนาจ การร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนการนิเทศมีคุณภาพ ทั้งนี้รูปแบบการนิเทศส่งผลให้ ครูผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัยเกิดพัฒนาการในด้าน ความรอบรู้ ความเชื่อมั่น และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยครูผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัยมีความรอบรู้ในการสอนพหุวัฒนธรรมโดยการนำหลักสูตรและการเรียนการสอนเข้าไปใกล้กับวิถีชีวิตผู้เรียน รอบรู้ในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติและอคติ ครูผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัยมีความเชื่อมั่นในการสอนพหุวัฒนธรรม สามารถตัดสินใจ ที่จะออกแบบการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเชื่อว่าตนสามารถที่จะกระทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความมั่นใจ และครูผู้ร่วมปฏิบัติการวิจัยสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยให้ความสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการ คิดอย่างเป็นเหตุ คิดอย่างรอบด้านและคิดเชิงวิพากษ์ได้ นอกจากนี้การนิเทศเพื่อสร้างการเรียนรู้พหุวัฒนธรรมส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการในด้านการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนาธรรม จากระดับปานกลางเป็นระดับมาก ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และยอมรับในวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ความเชื่อของตนเอง และของคนต่างกลุ่มชาติพันธุ์ ว่าเป็นประโยชน์ มีความจำเป็น ความเหมาะสมในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล และสามารถอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างปกติสุขen_US
Appears in Collections:EDU: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
570252020 สะอาด คำต้น.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.