Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69467
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr.Virapong Saeng-Xuto | - |
dc.contributor.advisor | Asst. Prof. Dr.Rajchukam Tongthaworn | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr.Thanes Sriwichailamphan | - |
dc.contributor.author | Luxamun Boonrueng | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-10T01:34:32Z | - |
dc.date.available | 2020-08-10T01:34:32Z | - |
dc.date.issued | 2020-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69467 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this qualitative research were to investigate the evidence concerning the background in the belief in nagas of the Tai Lue in the Upper Mekong Cultural Region, to analyze symbolic meanings about nagas and transfer of the belief in artistic works and activities of the Tai Lue, and to explore the relationships among peoples in the region through the thinking process and belief in nagas. The data were collected from documentary research and field investigation by means of participatory and non-participatory observations, unstructured interviews, and in-depth interviews of the Tai Lue in the Tai Autonomous Region, Sipsongpanna, China, and in northern Thailand. The knowledge from the research findings was then transferred to the primary school students in Luang Nua village in Doi Saket district, Chiang Mai province. The study results from the background of the belief revealed that the belief was derived from the snake worshipping cult due to the tropical weather conditions with abundant venomous animals and the agrarian lifestyle dependent on natural water in order to sustain life. The belief was later assimilated with Buddhism, becoming a shared belief in the Mekong Sub-region. The belief has been created into arts, traditions, and rituals embedded with diverse symbolic meanings that are the wisdom and knowledge of the ethnic group. They consist of Buddhist beliefs of doing good deeds and refraining from doing bad deeds, an expression of indigenous ownership of the ethnic group in the region, implicit artistic wisdom, water-dependent lifestyle, adaptation to the environment, an expression of the ethnic social norms, family and kinship systems, nutrition and sanitation, and the relationships between the Tai Lue and other ethnic groups in the Mekong multicultural society. Conventional knowledge and wisdom transfer was conducted from experiences of adults to children through daily-life activities and social order by participating in community activities. Present knowledge transfer is through formal community network organizations, including temples, schools, municipalities, and learning centers. For the relationship among peoples in the region, it was revealed that they have been related via Buddhist belief with nagas as a sacred animal taking the role of protector of Buddhism. Nagas are a symbolic animal, indicating the assimilation of indigenous, ancestral and Buddhist beliefs. These beliefs were transferred and modified through contacts via the Mekong River, the principal river in the region. In the multicultural society, the belief in nagas reflected that peoples in this region were, in fact, related as siblings because of their shared beliefs and similar cultures. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | Transmission of the Belief in Naga Among Tai Lue People in Upper Mekong Multicultural Sciety | en_US |
dc.title.alternative | การถ่ายทอดความเชื่อเรื่องนาคของคนไทลื้อในสังคมพหุวัฒนธรรม ลุ่มน้ำโขงตอนบน | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยเรื่อง การถ่ายทอดความเชื่อเรื่องนาคของคนไทลื้อในสังคมพหุวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงตอนบน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหลักฐานเกี่ยวกับที่มาของความคิด คติความเชื่อเรื่องนาคของชาวไทลื้อในวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงตอนบน เพื่อวิเคราะห์ความหมายเชิงสัญลักษณ์เกี่ยวกับนาคและการถ่ายทอดความเชื่อเรื่องนาค ที่ปรากฏในรูปแบบงานศิลปกรรมและกิจกรรมของชาวไทลื้อ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในเขตวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขงตอนบน ผ่านกระบวนการทางความคิด คติความเชื่อเรื่องนาค วิธีการในการศึกษา ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและจากการวิจัยภาคสนาม ด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ในพื้นที่ศึกษา ไทลื้อในเขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนนา สาธารณรัฐประชาชนจีน และไทลื้อในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย จากนั้นได้นำผลการวิจัย มาทดลองใช้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเยาวชนไทลื้อในพื้นที่บ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของคติความเชื่อเรื่องนาคของชาวไทลื้อ พบว่า ที่มาของความเชื่อเรื่องนาค เกิดจากลัทธิการบูชางู ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศของป่าฝนในเขตร้อนชื้น ที่มีสัตว์อสรพิษ ชุกชุม และการดำรงชีวิตในสังคมเกษตรกรรม ที่ต้องพึ่งพาอาศัยน้ำจาก ธรรมชาติในการหล่อเลี้ยงชีวิต ผนวกเข้ากับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อร่วมใน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ความเชื่อเรื่องนาค ได้ถูกสร้างสรรค์เป็นศิลปกรรม เป็นประเพณี พิธีกรรม ที่แฝงความหมายเชิงสัญลักษณ์ อันเป็นภูมิปัญญา ความรู้ของชาวไทลื้อต่างๆ มากมาย ได้แก่ ความเชื่อทางพระพุทธศาสนา การทำความดี ละเว้นความชั่ว การแสดงตัวตนความเป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมของ ชาวไทลื้อในลุ่มน้ำโขง การแฝงภูมิปัญญาความรู้ด้านศิลปกรรมของชาวไทลื้อ การแสดงวิถีชีวิตของชาวไทลื้อที่ผูกพันธ์กับสายน้ำ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมถิ่นที่อยู่อาศัย การแสดงถึงบรรทัดฐานทางสังคมไทลื้อ การแสดงถึงระบบเครือญาติและครอบครัว แสดงถึงองค์ความรู้ด้านโภชนาการ เรื่องสุขศึกษา และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทลื้อกับชุมชนชาติพันธ์อื่นๆร่วมภูมิภาคในสังคมพหุวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง โดยชาวไทลื้อมีวิธีการในการถ่ายทอดความเชื่อและภูมิปัญญาต่างๆ ในแบบดั้งเดิมคือจากประสบการณ์ของผู้ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานผ่านการดำเนินชีวิตประจำวันและการจัดระเบียบทางสังคมของชุมชนโดยการร่วมกิจกรรมภายในชุมชน ในขณะที่การถ่ายทอดความเชื่อและองค์ความรู้ในปัจจุบัน ผ่านองค์กรเครือข่ายในชุมชนที่มีลักษณะเป็นทางการ ได้แก่ วัด โรงเรียน เทศบาล และศูนย์การเรียนรู้ ในด้านความสัมพันธ์ของผู้คนในลุ่มน้ำโขง ผ่านความคิด ความเชื่อเรื่องนาค พบว่าผู้คนในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีความสัมพันธ์กันผ่านคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยมีนาคเป็นสัตว์วิเศษทำหน้าที่พิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนา เป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่แสดงถึงการผนวกความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ กับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งความเชื่อดังกล่าวนี้ ถ่ายทอดและรับรูปแบบคติความเชื่อจากการติดต่อสัมพันธ์กันผ่านแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของภูมิภาค ในความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมนั้น ความเชื่อเรื่องนาคนี้ สะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้วคนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมีความสัมพันธ์กันเป็นบ้านเหมือนพี่น้อง เพราะมีความเชื่อร่วมกัน มีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน | en_US |
Appears in Collections: | EDU: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
570252022 ลักษมณ์ บุญเรือง.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.