Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรุตม์ บุญศรีตัน-
dc.contributor.advisorพิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์-
dc.contributor.advisorสยาม ราชวัตร-
dc.contributor.authorธันย์ธนัช ศรีนวลไชยen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T04:46:10Z-
dc.date.available2020-08-07T04:46:10Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69420-
dc.description.abstractThe purpose of the study is to analyze Sīla and Attainment of Nibbāna in Theravāda Buddhism, and to analyze the relationship between Sīla and Attainment of Nibbāna. From the study, It was found that Sīla that can take practitioner to attain Nibbāna must be pure Sīla, such as concluding version of the Sīla, given by monks to laypersons, that “ Sīlana Nibbutim Yanti ”. The version has no clear historically record and not found in Tripitaka, it added later by next generation. This kind of Sīla can lead the one to attain Nibbāna and to escape from sufferings. Sīla is the primary, the leader, and is the source of all virtues. Sīla has many levels, from rough to delicate, by which the practitioners can rely on to Nibbāna. It is true that only Sīla cannot lead anyone to Nibbāna. One need to observes Sīla, along with practice Concentration and Wisdom, along the Noble Eightfold path, making them a union one, this only can be dynamic power to Nibbāna. Therefore, Sīla is a necessary condition to attain Nibbāna. Sīla is the intention to avoid or rules to control the conduct expressed in physical, verbal action. Sīla is positive factor to prevent our mind from falling to evil condition, by which our mind can be clear, calm and pure. With Sīla as a condition, Concentration rises and with the concentration as a condition, Wisdom arises. Ignorance, passion and desire was eradicated, in the level of wisdom. In this level, people are of purity and deliverance. Therefore, the good actions rooted in Sīla, are benefit in cultivation of high quality of mind. The more advanced in practice, the more importance of Sīla will be given. As a saying of the Buddha “One should observe Sīla unto life, Sīla will protect us from falling woe. Sīla will lead us to the highest aim that is, Nibbāna.”en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectศีลen_US
dc.subjectนิพพานen_US
dc.subjectพระพุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.titleศีลกับการบรรลุนิพพานในพระพุทธศาสนาเถรวาทen_US
dc.title.alternativeSila and attainment of Nibbana in Theravada Buddhismen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc294.391-
thailis.controlvocab.thashพุทธศาสนาเถรวาท-
thailis.controlvocab.thashศีล-
thailis.controlvocab.thashนิพพาน-
thailis.manuscript.callnumberว 294.391 ธ115ศ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาศีลและนิพพานในพระพุทธศาสนาเถรวาท แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของศีลกับการบรรลุนิพพาน จากการศึกษาวิจัยพบว่าศีลที่ทำให้บรรลุนิพพานนั้นต้องเป็นศีลที่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์พร้อมเป็นปาริสุทธิศีล หรืออริยกันตศีล หรืออธิศีลยิ่ง ๆ ขึ้นไป และจากบทอานิสงส์ศีลที่ว่า “สีเลน นิพฺพุตึ ยนฺติ” ศีลดังกล่าวไม่มีประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน ทั้งไม่ปรากฏพบในพระไตรปิฎกหรืออรรกถา ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลังโดยบุคคลรุ่นต่อมา และศีลนี้นำไปสู่การบรรลุนิพพานและการพ้นทุกข์ได้จริงเพราะศีลเป็นเบื้องต้น ศีลเป็นประธานและเป็นบาทฐานรองรับกุศลธรรมทั้งปวงให้เกิดขึ้นและไม่ให้เสื่อมไป ทั้งนี้ศีลมีความละเอียดตามลำดับและทำให้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลหรือเข้าสู่นิพพานตามลำดับ ตามทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาทถือว่าศีลอย่างเดียวทำให้บรรลุนิพพานไม่ได้ ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องครบองค์และดำเนินตามแนวทางแห่งอริยมรรคอย่างพร้อมบริบูรณ์ เรียกว่า มัคคสมังคี จึงจะนำพาไปสู่นิพพานได้ การปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพานจึงขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้โดยเฉพาะศีลซึ่งมีความสำคัญยิ่ง ศีลเป็นหลักควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา โดยมีเจตนาประพฤติงดเว้นจากทุจริต ศีลเป็นเกราะป้องกันและควบคุมกิเลสตัณหาไม่ให้เข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรม จิตจึงเกิดความสะอาดบริสุทธิ์และสงบเย็น เป็นสมาธิที่ส่งคุณค่าและก่อเกิดปัญญาที่เกื้อกูลต่อการกำจัดอวิชชาและดับกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป กุศลธรรมที่มีฐานมาจากศีลย่อมเจริญงอกงามและส่งเสริมคุณภาพของจิตใจ ทั้งนี้ผู้ประพฤติธรรมย่อมรู้แจ้งด้วยตนเองและยิ่งบรรลุธรรมในขั้นที่สูงขึ้น ก็จะยิ่งให้ความสำคัญต่อศีลมากขึ้นตามลำดับ ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าให้รักษาศีลตราบเท่าชีวิตและศีลนี้ก็จะรักษาเราไม่ให้ก้าวล่วงลงสู่ความตกต่ำและอบายทั้งปวง อีกทั้งศีลยังทำให้ผู้ปฏิบัติไปถึงเป้าหมายของชีวิตอันประเสริฐสูงสุดนั่นคือพระนิพพานอันเป็นที่หมายen_US
Appears in Collections:HUMAN: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.