Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69410
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Kobkiat Saengnil | - |
dc.contributor.advisor | Jamnong Uthaibutra | - |
dc.contributor.advisor | Pornchai Rachtanapun | - |
dc.contributor.author | Warunee Chomkitichai | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-08-07T03:40:13Z | - |
dc.date.available | 2020-08-07T03:40:13Z | - |
dc.date.issued | 2014-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69410 | - |
dc.description.abstract | Oxidative damage caused by an imbalance between the production of free radicals and the capacity of the antioxidant defense mechanism, is a cause of browning problem in many postharvested fruits that reduce in shelf life. Chlorine dioxide (ClO2) is a new chemical used to reduce pericarp browning of longan fruit. However, its ability to counteract the disorder through neutralization by antioxidants has not been well studied. Therefore, the changes in free radicals (reactive oxygen species, ROS), oxidative membrane damage, antioxidant defense system involved in pericarp browning of longan fruit during storage as well as the effects of gaseous ClO2 fumigation in reducing the free radicals (ROS) and oxidative damage and stimulating the antioxidant defense system in longan fruit were investigated. The research was divided into 2 experiments to study the effects of gaseous ClO2 on 1) ROS free radical contents and oxidative membrane damage and 2) antioxidant defense system during pericarp browning of ‘Daw’ longan fruit stored at 251 °C. Longan fruit was fumigated with 10 mg l1 ClO2 for 10 minutes and stored at 251 °C with 82% relative humidity for 7 days. The fruit was randomly sampled every day to determine ROS free radical contents, oxidative membrane damage, antioxidant defense system and pericarp browning. The production and accumulation of reactive oxygen species (ROS) such as superoxide radical (O2•−), hydrogen peroxide (H2O2) and hydroxyl radical (OH•) increased during storage of longan fruit. These increases coincided with oxidative membrane damage as measured by lipoxygenase (LOX) activity, contents of conjugated diene, malondialdehyde (MDA), protein carbonyl and electrolyte leakage rate (EL rate) which increased with storage time in the pericarp of longan. Fumigation with ClO2 reduced ROS accumulation and oxidative membrane damage of longan pericarp during storage. The contents of O2•−, H2O2, OH•, conjugated diene, MDA and protein carbonyl, activity of LOX and EL rate in the pericarp of ClO2 treated fruits were significantly lower than those in the control fruits throughout the storage period. Pericarp browning of longan was positively correlated with the levels of ROS and oxidative membrane damage during storage. The increases in activities of polyphenol oxidase (PPO) and peroxidase (POD) correlated with browning index (BI). Fumigation with ClO2 reduced the activities of PPO and POD and retarded browning index. During storage, the antioxidant defense system of longan fruit tended to decrease and was consistent with pericarp browning, ROS content and oxidative membrane damage during storage. Superoxide dismutase (SOD), catalase (CAT) and ascorbate peroxidase (APX) activities of longan fruit increased and reached the peak on Day 2 of storage and then decreased gradually afterwards. The total phenolic content (TPC), ascorbic acid (ASA), -tocopherol, total glutathione contents and total antioxidant capacity (TAC) analyzed by 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) radical scavenging, 2,2’-azinobis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) (ABTS) radical scavenging and ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) methods gradually decreased throughout storage time. ClO2 fumigation enhanced the antioxidant defense system which was associated with less pericarp browning of longan during storage. The activities of SOD, CAT and APX and contents of TPC, ascorbic acid, -tocopherol and total glutathione and TAC in the fruits treated with ClO2 were significantly higher than those in the control fruits throughout the storage period. In addition, ClO2 also promoted gene expressions of the three antioxidant enzymes that had a close relationship with the increased activities than the control. The decline in antioxidant defense system leads to an increase in ROS accumulation and oxidative membrane damage as well as subsequent pericarp browning during storage of longan fruit. Fumigation with ClO2 can enhance the efficiency of antioxidant defense system and reduce ROS accumulation and oxidative membrane damage which consequently alleviate pericarp browning of longan fruit during storage. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Gaseous chlorine dioxide | en_US |
dc.subject | Oxidative damage | en_US |
dc.subject | Antioxidant defense system | en_US |
dc.subject | Longan fruit cv. Daw | en_US |
dc.title | Effects of gaseous chlorine dioxide fumigation on oxidative damage and antioxidant defense system involved in pericarp browning during storage of Longan fruit cv. Daw | en_US |
dc.title.alternative | ผลของการรมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์ต่อความเสียหายจากออกซิเดชันและระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเปลือกสีน้ำตาลระหว่างการเก็บรักษาของผลลำไยพันธุ์ดอ | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.classification.ddc | 541.393 | - |
thailis.controlvocab.thash | Oxidation | - |
thailis.controlvocab.thash | Antioxidants | - |
thailis.controlvocab.thash | Longan | - |
thailis.controlvocab.thash | Gaseous chlorine dioxide | - |
thailis.manuscript.callnumber | Th 541.393 W298E | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ความเสียหายจากออกซิเดชัน (oxidative damage) ที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างการสร้างอนุมูลอิสระและศักยภาพของการกำจัดอนุมูลอิสระหรือระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์นับเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิดเกิดปัญหาเปลือกสีน้ำตาลซึ่งทำให้อายุการเก็บรักษาผลสั้นลง คลอรีนไดออกไซด์ (chlorine dioxide, ClO2) เป็นสารเคมีชนิดใหม่ที่ใช้ลดการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลลำไย อย่างไรก็ตามความสามารถในการลดอาการผิดปกติโดยผ่านการปรับสมดุลด้วยสารแอนติออกซิแดนต์นี้ยังไม่มีการศึกษาอย่างละเอียด ดังนั้นจึงได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่มที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ (reactive oxygen species, ROS) ความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้ม และระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ (antioxidant defense system) ที่เกี่ยวข้องกับกับการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลลำไยพันธุ์ดอในระหว่างการเก็บรักษา รวมทั้งศึกษาผลของก๊าซคลอรีนไดออกไซด์ในการลดปริมาณอนุมูลอิสระ ROS และความเสียหายจากออกซิเดชัน รวมทั้งการกระตุ้นระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ในผลลำไย โดยแบ่งเป็น 2 การทดลองเพื่อศึกษาผลของก๊าซคลอรีนไดออกไซด์ต่อ 1) ปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS และความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้ม และ 2) ระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ระหว่างการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลลำไยพันธุ์ดอที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 251 องศาเซลเซียส โดยนำผลลำไยมารมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 10 นาที แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 251 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 82 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 7 วัน และสุ่มตัวอย่างผลมาทุกวันเพื่อตรวจหาปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS ความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้ม ระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ และการเกิดสีน้ำตาลของเปลือกผล การสร้างและสะสมอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS ได้แก่ ซุปเปอร์ออกไซด์ เรดิคอล (superoxide radical, O2•) ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide, H2O2) และไฮดรอกซิล เรดิคอล (hydroxyl radical, OH•) เพิ่มขึ้นในระหว่างเก็บรักษาผลลำไย โดยสัมพันธ์กับความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มเปลือกผลซึ่งวัดได้จากกิจกรรมของเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส (lipoxygenase, LOX) ปริมาณคอนจูเกตไดอีน (conjugated diene) มาลอนไดอัลดีไฮด์ (malondialdehyde, MDA) โปรตีนคาร์บอนิล (protein carbonyl) และอัตราการรั่วไหลของประจุ (electrolyte leakage rate, EL rate) ที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา การรมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์มีผลลดปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS และลดความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มของเปลือกผลในระหว่างเก็บรักษาได้ โดยปริมาณซุปเปอร์ออกไซด์ เรดิคอล ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และไฮดรอกซิล เรดิคอล กิจกรรมของเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส ปริมาณคอนจูเกตไดอีน มาลอนไดอัลดีไฮด์ และโปรตีนคาร์บอนิล และอัตราการรั่วไหลของประจุของผลที่รมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์มีค่าต่ำกว่าผลชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญตลอดการเก็บรักษา การเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS และความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มในระหว่างการเก็บรักษา โดยการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอล ออกซิเดส (polyphenol oxidase, PPO) และเปอร์ออกซิเดส (peroxidase, POD) สัมพันธ์กับดัชนีการเกิดเปลือกสีน้ำตาล ก๊าซคลอรีนไดออกไซด์มีผลลดกิจกรรมของเอนไซม์โพลีฟีนอล ออกซิเดส และเปอร์ออกซิเดส รวมทั้งลดดัชนีการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผล ในระหว่างการเก็บรักษา ระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ของเปลือกผลลำไยมีแนวโน้มลดลง สอดคล้องกับการเกิดสีน้ำตาล ปริมาณอนุมูลอิสระกลุ่ม ROS และความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มของเปลือกผลที่เพิ่มสูงขึ้น โดยกิจกรรมของซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส (superoxide dismutase, SOD) คะตะเลส (catalase, CAT) และแอสคอร์เบท เปอร์ออกซิเดส (ascorbate peroxidase, APX) ของเปลือกผลเพิ่มสูงขึ้นและสูงสุดในวันที่ 2 ของการเก็บรักษา หลังจากนั้นจึงลดลงเรื่อยๆ ขณะที่ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด (total phenolic compound, TPC ) กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid, ASA) อัลฟา-โทโคฟีรอล (-tocopherol) กลูตาไธโอนทั้งหมด (total glutathione) และศักยภาพรวมในการต้านออกซิเดชัน (total antioxidant capacity, TAC) ซึ่งวิเคราะห์โดยวิธีการทำลายอนุมูลอิสระดีพีพีเอช (1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl radical scavenging, DPPH radical scavenging) และอนุมูลอิสระเอบีทีเอส [2,2’-azinobis (3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) radical scavenging, ABTS radical scavenging] และความสามารถในการรีดิวซ์เฟอร์ริกของสารต้านอนุมูลอิสระ (ferric ion reducing antioxidant power, FRAP) มีค่าลดลงเรื่อยๆ ตลอดการเก็บรักษา การรมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์เพิ่มประสิทธิภาพของระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ซึ่งสัมพันธ์กับการลดลงของการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลระหว่างเก็บรักษา โดยกิจกรรมของเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส คะตะเลส และแอสคอร์เบท เปอร์ออกซิเดส ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด กรดแอสคอร์บิค อัลฟา-โทโคฟีรอล และกลูตาไธโอนทั้งหมด รวมทั้งศักยภาพรวมในการต้านออกซิเดชันของผลที่รมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์มีค่าสูงกว่าผลชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญตลอดการเก็บรักษา นอกจากนี้ก๊าซคลอรีนไดออกไซด์มีผลส่งเสริมการแสดงออกของยีนของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระทั้ง 3 ชนิดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมของเอนไซม์เหล่านี้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าชุดควบคุม ระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ที่ลดลงมีผลให้การสะสมอนุมูลอิสระและความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มเพิ่มสูงขึ้น และเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลลำไยต่อมาในระหว่างการเก็บรักษา การรมด้วยก๊าซคลอรีนไดออกไซด์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบป้องกันแอนติออกซิแดนต์ และลดการสะสมอนุมูลอิสระและความเสียหายจากออกซิเดชันของเยื่อหุ้มลง จึงทำให้ลดการเกิดเปลือกสีน้ำตาลของผลลำไยพันธุ์ดอระหว่างการเก็บรักษาได้ | en_US |
Appears in Collections: | SCIENCE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.