Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69374
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorProf. Dr. Songsak Sriboonchitta-
dc.contributor.advisorLect. Dr. Pathairat Pastpipatkul-
dc.contributor.advisorLect. Dr. Chukiat Chaiboonsri-
dc.contributor.authorAnyarat Wichianen_US
dc.date.accessioned2020-08-07T01:01:47Z-
dc.date.available2020-08-07T01:01:47Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69374-
dc.description.abstractThis dissertation applied a copula-based selectivity model to study the labor force participation of older workers in Thailand. Importantly we paid attention to three selectivity models including: 1) sample selection model, 2) endogenous switching model, and 3) polychotomous choice selectivity model. Moreover, we considered different distributions for margins, such as normal, logistic, and Student’s t distributions, in all of empirical studies. Also, we considered various copulas, both radially symmetric and asymmetric copulas, such as, the Gaussian, FGM, and Archimedean copulas (AMH, Clayton, Frank, Gumbel and Joe copulas). The summary of findings for each study is presented. For the first empirical study, we applied a copula approach to a sample selection model to determine the factors affecting the labor force participation and working hours of older workers in Thailand. We found that the copula approach to the sample selection model, which allows for flexibility in dependence structure and relaxing the joint normality assumption, works in this context and performs better than the BVN bivariate normal model) especially, the Frank (L-t) copula model. Furthermore, the results obtained show the presence of significant positive dependency of unobserved factors between two error terms. In addition, the policy recommendation is that the stakeholders should consider having a program that can increase the working hours of some worker groups, such as female workers, or workers who are not single or workers who do not reside in the Bangkok province. For the second empirical study, we applied the copula approach to an endogenous switching model to determine the public and private sector wage for older workers in Thailand. This study demonstrates that all of the copula-based models perform better than the standard model in this context, especially the Frank-Gaussian (L-t-t) model. Furthermore, these results show the presence of significant negative dependency of unobservable factors between the switching regression and the wage regression. In addition, the concerned policymakers should facilitate campaigns that encourage the public sector to retain the older workers with high wages, especially those older workers who are individuals with high education and skills. The copula approach was applied to a polychotomous choice selectivity model for the third empirical study to estimate the wage determination according to the occupational choice for older workers in Thailand. This study demonstrates that a polychotomous choice selectivity model based on the copula approach performs better than the standard one. Likewise, it is evident that among the copula-based models, the Frank copula–based model provides the best fit. Also, these results show the presence of highly significant dependency of unobservable factors between the occupational choice regression and the wage regression for unskilled and skilled workers, which implies that the selectivity bias exists. The empirical results show that the older workers who live in Bangkok earn higher wages than those who live outside Bangkok. The gender variable has no impact on wages for the highly skilled older workers. For the unskilled, the male worker earns more. A surprised result is that the experience has a significantly negative impact on the wages regardless of the level of the skill of the older workers. This finding requires in-depth further research to explain this phenomenon. Finally, we found that copula-based selectivity models that allow for flexibility in dependence structure and relaxing of the joint normality assumption perform better than the conventional model in all of the empirical studies. Thus, applying copula approach in selectivity model should be taken into consideration in order to reduce the risk that may occur from some strong assumptions and attain the efficient estimators.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleA Copula-Based Selectivity Model: Applications to Older Workers in Thailanden_US
dc.title.alternativeการประยุกต์แบบจำลองคัดเลือกที่ใช้คอปปูลากับแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทยen_US
dc.typeThesis
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิทยานิพนธ์นี้ได้ประยุกต์แบบจำลองคัดเลือกที่ใช้คอปปูลากับการศึกษาเกี่ยวกับกำลังแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยให้ความสำคัญกับแบบจำลองคัดเลือกที่สำคัญ 3 แบบ ได้แก่ 1) แบบจำลองแซมเพิล ซีเล็คชั่น 2) แบบจำลองเอ็นโดจีเนียส สวิทชิ่ง และ 3) แบบจำลองโพลีโคโตมัส ช้อยส์ เซเล็คติวิตี้ วิทยานิพนธ์นี้ประกอบด้วยการศึกษาเชิงประจักษ์ 3 เรื่อง และในการศึกษาทุกเรื่อง ผู้ศึกษาได้ใช้ฟังก์ชันการแจกแจงมาร์จินัลที่แตกต่างกัน ได้แก่ การแจกแจงแบบปกติ แบบโลจิสติกส์ และแบบที นอกจากนี้ยังได้พิจารณาคอปปูลาในรูปแบบต่างๆ ด้วย เช่น คอปปูลาแบบเกาส์เซียน แบบเอฟจีเอ็ม และแบบอาร์คีมีเดียน (เช่น เอเอ็มเฮชคอปปูลา เคย์ตันคอปปูลา แฟรงค์คอปปูลา กัมเบลคอปปูลา และ โจคอปปูลา) ผลการศึกษาเชิงประจักษ์แต่ละเรื่องพอที่จะสรุปได้ดังนี้ ในการศึกษาเชิงประจักษ์เรื่องแรก ผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้วิธีการคอปปูลากับแบบจำลองแซมเพิล ซีเล็คชั่น เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานและชั่วโมงการทำงานของแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองที่มีการใช้วิธีการคอปปูลา ซึ่งผ่อนปรนข้อสมมติที่ว่า การแจกแจงความน่าจะเป็นร่วมเป็นแบบปกติ มีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าแบบจำลองแบบดั้งเดิมที่มีข้อสมมติดังกล่าว โดยเฉพาะแบบจำลองที่ใช้แฟรงค์คอปปูลา และ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าคลาดเคลื่อนทั้งสองตัว นอกจากนั้นผลการศึกษาที่ได้ยังนำไปสู่ข้อเสนอแนะทางนโยบายที่สำคัญก็คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายควรมีกลยุทธ์ในการเพิ่มชั่วโมงการทำงานของผู้สูงอายุบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุเพศหญิง หรือ ที่มีสถานะโสด หรือ ที่อาศัยอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร สำหรับในการศึกษาเชิงประจักษ์เรื่องที่สอง ผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้วิธีการคอปปูลากับแบบจำลอง เอ็นโดจีเนียส สวิทชิ่ง เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างของแรงงานผู้สูงอายุที่ทำงานในภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองที่มีการใช้วิธีการคอปปูลา มีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าแบบจำลองแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะแบบจำลองที่ใช้ แฟรงค์-เกาส์เซียน และ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าคลาดเคลื่อนของสมการทางเลือกและสมการค่าจ้าง นอกจากนั้น ผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายควรมีมาตรฐานที่จะช่วยรักษาแรงงานผู้สูงอายุให้คงอยู่ในกำลังแรงงานต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่มีการศึกษาและทักษะสูง สำหรับในการศึกษาเชิงประจักษ์เรื่องที่สาม ผู้ศึกษาได้ประยุกต์ใช้วิธีการคอปปูลากับแบบจำลอง โพลีโคโตมัส ช้อยส์ เซเล็คติวิตี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดค่าจ้างซึ่งแตกต่างกันตามกลุ่มอาชีพของแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองที่มีการใช้วิธีการคอปปูลา มีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าแบบจำลองแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะแบบจำลองที่ใช้แฟรงค์คอปปูลา และ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าคลาดเคลื่อนของสมการทางเลือกอาชีพและสมการค่าจ้าง ในกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุที่ไม่มีทักษะ และมีทักษะ ผลการประมาณค่าจากสมการค่าจ้างในแต่ละกลุ่มอาชีพ พบว่า แรงงานผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจะได้รับค่าจ้างสูงกว่าแรงงานที่อยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เพศหญิงจะได้รับค่าจ้างมากกว่าเพศชาย ในกลุ่มแรงงานที่มีทักษะ และเพศชายจะได้รับค่าจ้างมากกว่าเพศหญิง ในกลุ่มแรงงานที่ไม่มีทักษะ แต่สำหรับกลุ่มแรงงานที่มีทักษะสูง พบว่าตัวแปรเพศไม่มีผลกระทบต่อค่าจ้างแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจคือ ในทุกกลุ่มอาชีพ ประสบการณ์การทำงานมีผลกระทบทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าจ้าง ซึ่งควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปเพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์นี้ โดยสรุป แบบจำลองคัดเลือกที่ใช้คอปปูลาซึ่งผ่อนปรนข้อสมมติเกี่ยวกับการแจกแจงความน่าจะเป็นร่วมเป็นแบบปกติ มีความเหมาะสมกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าแบบจำลองแบบดั้งเดิมที่มีข้อสมมติดังกล่าว ในการศึกษาเชิงประจักษ์ทั้งสามเรื่อง ดังนั้น การประยุกต์ใช้วิธีการคอปปูลาในแบบจำลองทางเลือกจึงควรได้รับการพิจารณาเพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการประมาณค่าที่ผิดพลาดซึ่งอาจเกิดจากข้อสมมติดังกล่าว และบรรลุถึงตัวประมาณค่าที่มีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:ECON: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf9.06 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.