Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69363
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธรรณพ เหล่ากุลดิลก-
dc.contributor.authorทิพวิมล โพธิเวสen_US
dc.date.accessioned2020-08-06T08:54:36Z-
dc.date.available2020-08-06T08:54:36Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69363-
dc.description.abstractDifferent degree of deacetylation (DD) of chitosans were deacetylated by using strong alkaline and different DD of chitosan films were prepared and investigated for their properties. Moreover, chitooligosaccharides were produced from 2 different DD of chitosans (80 and 90%). The chitosans were hydrolysed by 3 commercial enzymes including papain, cellulase and lysozyme for 1 to 16 hours. Next step, properties of antimicrobial and antioxidation of different molecular weight of chitooligosaccharides (41.14, 14.28 and 5.06 kDa) were investigated. Chitin was deacetylated by boiling (950C) in concentrated sodium hydroxide (50%) solution for 120-300 minutes. The DD of chitosan was determined by potentiometric titration method. Chitin possessed the DD at 7.74%. The alkaline deacetylation produced chitosan with DD of 15.24-70.19%. The linear relationship between DD and deacetylation time was found (DD = 2.476 + 0.230t, R2 = 0.915). The deacetylation time had no effect on yield and whiteness of the obtained chitosans. The film from the obtained chitosan at each deacetylation time were formed and investigated for their properties. The results show that tensile strength, elongation and water vapor transmission rate of the films were increased by increasing the deacetylation time. Molecular weight of chitooligosaccharides was determined by viscometric method. After 16 hours of enzyme hydrolysis, it was found that chitooligosacccharides produced by DD 90% of chitosan and hydrolyzed by papain produced the lowest molecular weight chitooligosaccharides (5.06 kDa). Solubility of chitooligosaccharide was increased with decreasing molecular weight of samples. Furthermore, the lower molecular weight chitooligosaccharides possessed the higher antioxidant activities (DPPH, reducing power and chelating ability) than the higher molecular weight chitooligosaccharides (41.14 and 14.28 kDa) and chitosan. To determine antimicrobial activity of chitooligosaccharide, the minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) measurement, chitooligosaccharide possessed higher in antimicrobial than chitosan. MIC of all chitooligosaccharide samples were in the rage of 16 – 64 µg/ml for tested bacteria including Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium and Salmonella Enteritidis. While, the MIC of chitosan was >64 µg/ml in all tested bacteria. Moreover, all chitooligosaccharide samples can kill E. coli with concentration of 64 µg/ml (MBC). However, the higher concentration of chitooligosaccharide was requested to kill the other tested bacteria.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์en_US
dc.subjectเอนไซม์en_US
dc.subjectจุลินทรีย์en_US
dc.subjectออกซิเดชันen_US
dc.titleการผลิตไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์โดยวิธีทางเอนไซม์และสมบัติต้านจุลินทรีย์ และต้านออกซิเดชันen_US
dc.title.alternativeProduction of Chitooligosaccharides by Enxymatic method and study of their Antimicrobial and Antioxidant propertiesen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc547.23-
thailis.controlvocab.thashแอนติออกซิแดนท์-
thailis.controlvocab.thashสารยับยั้ง-
thailis.controlvocab.thashจุลินทรีย์-
thailis.manuscript.callnumberว 547.23 ท367ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการกำจัดหมู่อะซิทิล (Degree of Deacetylation; DD) ในไคตินเพื่อผลิตเป็นไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลที่แตกต่างกัน และศึกษาสมบัติของฟิล์มที่ขึ้นรูปจากไคโตซานที่ผลิตได้ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการผลิตไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์โดยวิธีทางเอนไซม์เพื่อปรับปรุงสมบัติในการละลาย ความสามารถในการต้านจุลินทรีย์ และความสามารถในการ ต้านออกซิเดชันของไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลแตกต่างกัน (41.14, 14.28 และ 5.06 กิโลดาลตัน) หลังจากกำจัดหมู่อะซิทิลในไคตินด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น ร้อยละ 50 ที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 ถึง 300 นาที ไคโตซานที่ผลิตได้จะมีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลอยู่ในช่วงร้อยละ 15.24 ถึง 70.19 และพบว่าเวลาที่ใช้ในการ กำจัดหมู่อะซิทิลกับระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลของไคโตซานมีความสัมพันธ์เชิงเส้นต่อกัน (ระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิล = 2.476 + 0.230 (เวลา), R2 = 0.915) เมื่อนำไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลต่างกันมาขึ้นรูปเป็นฟิล์ม พบว่าฟิล์มที่ขึ้นรูปจากไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลที่สูงกว่าจะมีความต้านทานแรงดึงขาด ความสามารถในการยืดตัว และมีอัตราการ ซึมผ่านของไอน้ำที่ดีกว่าฟิล์มที่ขึ้นรูปจากไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลที่ต่ำกว่า ในการศึกษาการผลิตไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์จากไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลเท่ากับร้อยละ 80 และ 90 ด้วยวิธีทางเอนไซม์ โดยใช้เอนไซม์ 3 ชนิด ได้แก่ เอนไซม์ปาเปน เอนไซม์เซลลูเลส และเอนไซม์ไลโซไซม์ เป็นเวลา 1 ถึง 16 ชั่วโมง พบว่าไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่ผลิตจากไคโตซานที่มีระดับของการกำจัดหมู่อะซิทิลเท่ากับร้อยละ 90 และผ่านการย่อยด้วยเอนไซม์ปาเปน จะมีน้ำหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ยต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเอนไซม์อื่น และไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำจะมีความสามารถในการละลายในน้ำที่มากกว่าไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง ในขณะที่ไคโตซานไม่สามารถละลายได้ในน้ำ หลังจากนำไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน 3 ขนาด ได้แก่ 41.14, 14.28 และ 5.06 กิโลดาลตัน มาศึกษาความสามารถในการต้านออกซิเดชัน และต้านจุลินทรีย์ โดยนำมาเปรียบเทียบกับไคโตซาน พบว่า ไคโตโอลิโก- แซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำจะมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันที่ทดสอบด้วยวิธี DPPH, รีดิวซิ่งพาวเวอร์ และการคิเลทโลหะสูงกว่าไคโตอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) โดยไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 5.06 กิโลดาลตัน มีความสามารถในการต้านออกซิเดชันสูงสุด (EC50 = 2.36 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร, รีดิวซิงพาวเวอร์ = 16.97 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และการคิเลทโลหะ = ร้อยละ 8.18) และเมื่อเทียบกับไคโตซานจะเห็นได้ว่าไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ในทุกตัวอย่างจะมีความสามารถในการต้านออกซิเดชันที่สูงกว่า ไคโตซานค่อนข้างมาก ส่วนความสามารถในการต้านจุลินทรีย์ของไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่ทดสอบด้วยวิธีการหาความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ได้ (Minimum Inhibitory Concentration; MIC) และการหาความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าจุลินทรีย์ได้ (Minimum Bactericidal Concentration; MBC) พบว่า ไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ทั้ง 3 ตัวอย่างจะใช้ความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ใช้ทดสอบ 4 ชนิด ได้แก่ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Salmonella Typhimurium และ Salmonella Enteritidis ที่ใกล้เคียงกัน คือ จะอยู่ในช่วงความเข้มข้นเท่ากับ 16 – 64 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยที่ไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 5.06 กิโลดาลตัน จะมีความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์สูงที่สุด (16 -32 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ในขณะที่ไคโตซานต้องใช้ความเข้มข้นมากกว่า 64 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรในการยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบได้ นอกจากนี้ ไคโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ทั้ง 3 ตัวอย่างสามารถฆ่า E. coli ได้ที่ความเข้มข้นต่ำสุดเท่ากับ 64 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร แต่จะต้องใช้ความเข้มข้นที่มากกว่านี้ในการฆ่าจุลินทรีย์ทดสอบที่เหลือได้en_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.