Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69357
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNapaporn Reeveerakul-
dc.contributor.advisorPitipong Yodmongkol-
dc.contributor.advisorKomsak Meksamoot-
dc.contributor.authorSupawadee Putthinoien_US
dc.date.accessioned2020-08-06T08:12:25Z-
dc.date.available2020-08-06T08:12:25Z-
dc.date.issued2014-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69357-
dc.description.abstractThis study entitled, “Learning Organization on Reverse Logistics Problems in the Ageing Society” aimed at solving the problem of environmental risk of falling in the elderly from unused items in homes of the elderly. It was revealed that risks to the elderly from a cluttered household environment can be managed and formulated by using the household supply chain for creating revaluation with the Reverse Logistics (RL) principle. Elderly people have usually collected or hoarded items in their home throughout their lifetime. Therefore, a cluttered home is especially hazardous for the elderly or people with limited mobility, as it creates obstacles and an unsafe environment, which indicates poor reverse logistics. Unused household items become environmental hazards that increase the risk of elderly people falling. With falls associated with environmental risk factors, serious injuries and costs, they have become a major health problem. With a growing number of elderly people in Thailand, concern in this area will continue. Thus, this research was designed and implemented from a systematic perspective. The quality of management continuously improves the maturity process and risk management and 5 S is a short-term solution that provides a broad concept on the process of change as a result of good and efficient management for the elderly. Supply Chain Management (SCM), Supply Chain Operations Reference (SCOR) and RL provide concept theories for investigating problems and solving them at the community level, where management planning, and creating and monitoring the flow of goods and information support the household supply chain system whereas competency management provides a concept that concerns skills, abilities and capabilities in the context of tasks and jobs, as designed in the Human Resources (HR) processes in an organization. This research process was conducted systematically in the Sri Bua Ngern and Tha Sa La district community, Chiang Mai. Case studies of the homes of elderly people were selected to represent safety problems that occur in the Thai aging society. The method consisted of three main steps. Firstly, household environmental risk analysis aimed to identify home environmental hazards and construct a home environmental risk assessment of falling. A risk assessment method develops a solution for unnecessary items being stored in homes of the elderly, who are in turn helped to manage their home environmental risks of falling. Then, 5S implementation took the step to improve the ability of elderly people to manage their environment. Secondly, the SCM and SCOR process investigated systems related to household items in homes of the elderly by reverse logistics activity from the local municipality and community (Tha Sa La Municipality and household suppliers). Thirdly, the competency of health professionals as human resources (academic staff and students) in academic institution, and maintaining professional standards were analyzed in order to develop new requirements and determine the competency of health workers with new knowledge that fits with the ageing trend. This study can be categorized the household environmental risk into three levels; low, medium and high risk. The Elderly’s Lifestyle Task on Home Cluttering Management (EL-THCM) model was developed to provide a framework for direct action on improvements, and could be evaluated by using the risk assessment method of maturity level in the seven tasks for normal ageing people. The 5S activities can manage the risks from a cluttered home and improve the maturity of the elderly in managing risks in their daily living. The supply chain analysis using the SCOR processes (Plan, Source, Make, Deliver and Return) found that suppliers did not use the reverse logistics system to support the return of products from homes of the elderly, and this process should be planned and activated by the local municipality for handling these unused items. Competency of academic staff and students were developed with specific competency in home cluttering environmental risk management in risk of falling for the ageing society. The risks of a cluttered household environment for the elderly can be solved from intervention at all three levels, house, community and academic institute. These three organizational levels are integrated into a learning organization in order to build specific knowledge and produce new information continuously in order to enhance their capabilities to support the Thai aging society.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectLearning organizationen_US
dc.subjectLogistics problemsen_US
dc.subjectAgeing societyen_US
dc.titleLearning organization on reverse logistics problems in ageing societyen_US
dc.title.alternativeองค์กรแห่งการเรียนรู้บนปัญหาโลจิสติกส์ย้อนกลับในสังคมผู้สูงอายุen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc658.4038-
thailis.controlvocab.thashOrganizational learning-
thailis.controlvocab.thashKnowledge management-
thailis.controlvocab.thashOlder people-
thailis.manuscript.callnumberTh 658.4038 S959L-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเรื่อง “องค์กรแห่งการเรียนรู้บนปัญหาโลจิสติกส์ย้อนกลับในสังคมผู้สูงอายุ” มีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับความเสี่ยงในการล้มในผู้สูงอายุเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งของที่ไม่ได้ใช้เก็บสะสมไว้ในบ้าน การศึกษาพบว่าความเสี่ยงของสิ่งแวดล้อมภายในบ้านที่เกิดจากของรกนั้นสามารถจัดการได้โดยอาศัยหลักการโซ่อุปทานของใช้ในครัวเรือน และมีการการสร้างมูลค่าเพิ่มของที่ไม่ได้ใช้แล้วด้วยหลักการโลจิสติกส์ย้อนกลับ โดยทั่วไปแล้วผู้สูงอายุมักจะมีการเก็บและสะสมสิ่งของต่างๆไว้ภายในบ้านตนเอง เนื่องด้วยวัยซึ่งมีระยะเวลาในการสะสมเป็นระยะเวลายาวนานตลอดชีวิต โดยบ้านที่มีสิ่งของรกอยู่ภายในบ้านเป็นตัวบ่งชี้ว่าโลจิสติกส์ย้อนกลับนั้นมีปัญหา บ้านรกเป็นก่อให้เกิดอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้สูงอายุหรือบุคคลที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว เนื่องจากสิ่งของเครื่องใช้ที่ไม่ได้ใช้สะสมอยู่ภายในบ้านส่งผลให้กลายเป็นสิ่งกีดขวางทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านนั้นที่ไม่ปลอดภัยและเป็นปัจจัยเสี่ยงในการล้มสำหรับผู้สูงอายุ การล้มสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงของสภาพแวดล้อมและเกี่ยวข้องกับการเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรงและทำให้มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพอื่นๆตามมา จากสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นดังนั้นจึงควรตระหนักถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง การศึกษาครั้งนี้ได้ออกแบบและดำเนินการภายใต้มุมมองการคิดอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยหลักการการจัดการคุณภาพที่มีกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กระบวนการวุฒิภาวะ การจัดการความเสี่ยง และหลักการ 5ส นำมาเป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นพื้นฐานของแนวคิดเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถการจัดการปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการจัดการโซ่อุปทานและแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทานและ โลจิสติกส์ย้อนกลับ เป็นทฤษฎีแนวคิดสำหรับการศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหาในระดับชุมชน โดยในระดับชุมชนนั้นเกี่ยวข้องกับการวางแผนการจัดการ การสร้างและการติดตามการไหลของสินค้าไปยังบ้านผู้สูงอายุและข้อมูลที่เกี่ยวกับระบบโซ่อุปทานของใช้ในบ้าน ในการจัดการของรกที่อยู่ในบ้าน ในขณะที่หลักการบริหารสมรรถนะเป็นหลักการมีแนวความคิดที่เกี่ยวกับทักษะ ความสามารถ และศักยภาพในบริบทของการทำงานงานเป็นกระบวนการการออกแบบ วิเคราะห์ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร กระบวนการวิจัยนี้ได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบที่หมู่บ้านศรีบัวเงิน ตำบลท่าศาลา จังหวัดเชียงใหม่ กรณีศึกษาคือบ้านผู้สูงอายุที่เป็นตัวแทนของบ้านที่มีปัญหาความรก กระบวนการวิจัยประกอบด้วยสามขั้นตอนหลัก ประการแรกเป็นการศึกษาความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมบ้านของผู้สูงอายุโดยวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกสภาพแวดล้อมในบ้านที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้ม และพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมในบ้าน การประเมินความเสี่ยงสภาพแวดล้อมบ้านนั้นได้พัฒนามาเพื่อการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงต่อการล้มจากสิ่งของเครื่องใช้ที่สะสมภายในบ้านผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุจะเป็นผู้ได้รับการกระตุ้นให้ตัวผู้สูงอายุนั้นสามารถจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มดังกล่าวด้วยตนเอง โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรม 5ส มาเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงความสามารถของผู้สูงอายุการจัดการสภาพแวดล้อมของตนเอง ประการที่สอง การจัดการโซ่อุปทานและแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทานเกี่ยวข้องกับของใช้ในบ้านของผู้สูงอายุจะถูกวิเคราะห์และเชื่อมโยงมาถึงกระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับจากเทศบาลท้องถิ่นและชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการนำของที่ไม่ได้ใช้ออกมาจากบ้านผู้สูงอายุไม่ให้สะสมอยู่ภายในบ้าน ประการที่สาม สมรรถนะของบุคลากรเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ (ตัวบุคลากรและนักศึกษา) ในสถาบันการศึกษาและมาตรฐานของวิชาชีพจะนำมาวิเคราะห์เพื่อให้ตรงกับความต้องการใหม่ๆ และทำการกำหนดสมรรถนะของบุคลากรที่ทำงานทางด้านสุขภาพให้สอดคล้องการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การศึกษาในครั้งนี้ได้จำแนกปัจจัยเสี่ยงของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยออกเป็น 3 ระดับด้วยกันดังนี้ ระดับต่ำ ปานกลาง และสูง โดยพัฒนาแบบจำลองทักษะรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุบนพื้นฐานการจัดการความรกขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบสำหรับการดำเนินการโดยตรงในการปรับปรุงและสามารถในการจัดการความรกโดยอาศัยการประเมินโดยใช้วิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงสภาพแวดล้อมตามระดับที่กำหนดสอดคล้องกับเจ็ดทักษะในการดำรงชีวิตในบ้านผู้สูงอายุปกติ กิจกรรม 5ส สามารถบริหารความเสี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากบ้านรกและปรับปรุงวุฒิภาวะของผู้สูงอายุในการบริหารจัดการความเสี่ยงสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเอง การวิเคราะห์โซ่อุปทานโดยใช้อาศัย แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน (การวางแผน, การจัดหา,การผลิต, การจัดส่ง และการรับ/ส่งของคืน) พบว่าซัพพลายเออร์ไม่ได้ใช้ระบบโลจิสติกย้อนกลับเพื่อรองรับการรับ/ส่งของคืนของผลิตภัณฑ์จากบ้านของผู้สูงอายุและกระบวนการนี้ควรมีการวางแผนและ กระตุ้นให้เกิดการจัดการโดยเทศบาลในท้องถิ่นเข้ามาจัดการข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่ได้ใช้เหล่านี้ สมรรถนะของนักวิชาการและนักศึกษาสามารถได้พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับสมรรถนะเฉพาะในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจากของรกภายในบ้านที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มเหมาะสำหรับสังคมผู้สูงอายุ ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจากของรกภายในบ้านที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการล้มสามารถแก้ไขได้จากดำเนินงานทั้งสามระดับคือ บ้าน ชุมชนและสถาบันทางวิชาการ ทั้งสามระดับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้นำมาบูรณาการร่วมกันเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงและมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้สามองค์กรนี้มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการรับมือกับสังคมผู้สูงอายุของสังคมไทยen_US
Appears in Collections:CAMT: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf8.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.