Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69328
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศาสตราจารย์ ดร. สายสมร ลำยอง-
dc.contributor.authorชนิดาภา อินกันen_US
dc.date.accessioned2020-08-05T03:50:26Z-
dc.date.available2020-08-05T03:50:26Z-
dc.date.issued2015-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69328-
dc.description.abstractEucalyptus is one of the most important economic plants because it can bring many advantages, especially wood. It was be required in the paper industry in many countries. Leaf blight disease in Eucalyptus seedling caused by Cylindrocladium sp. was often epidemic in the wet reason and lead to defoliation and easy to death. The aim of this research was to selected endophytic fungi or rhizosphere actinomycetes which produce compounds to inhibit the growth of Cylindrocladium sp., the causal agent of leaves blight disease in Eucalyptus camaldulensis seedlings. Eucalyptus leaf blight samples were collected from Chiang Mai and Prachin Buri provinces. Three isolates of fungal pathogen, C. colhounii CMU 115, C. reteaudii TTCC02 and C. reteaudii TTCC06 were isolated. Two hundred and nine of endophytic fungi were isolated from leaves and branches of healthy eucalyptus. Moreover, 121 isolates of rhizospheric actinomycetes were obtained from soil samples around eucalyptus tree. The dual culture method was used for screening of antifungal activity. The result indicated that ten isolates of endophytic fungi showed the antifungal activity more than 65% inhibition and 16 isolates of actinomycetes showed the percentage of inhibition more than 80% inhibition. Culture filtrate of rhizospheric actinomycetes isolate PG4-36 showed the largest of clear zone with C. colhounii CMU115, C. reteaudii TTCC02 and C. reteaudii TTCC06 was 15.0 ± 0.8, 18.33 ± 1.2 and 16.67 ± 0.6 mm, respectively. Bennett's medium and potato dextrose broth were the suitable media for antifungal compound production. Crude extract of Streptomyces sioyaensis PG4-36 in Bennett’s medium was applied to control leaf blight disease in eucalyptus seedling. The disease rating in eucalyptus leaf was evaluated for in 5 treatments, Treatment 1: positive control, Treatment 2: negative control, Treatment 3: inoculation pathogen before 24 hours, then spray crude extract, Treatments 4: spraying crude extract prior to 24 hours before inoculation pathogen and Treatment 5: inoculation pathogen and spray crude extract simultaneously. It was found that the ratting of the disease in Treatment 4 : spraying crude extract prior to 24 hours before inoculation pathogen. This treatment is the most effective in controlling the leaf blight disease.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleศักยภาพของราเอนโดไฟต์และแอคติโนมัยซีทจากดินรอบรากยูคาลิปตัสในการเป็นตัวควบคุมทางชีวภาพของ Cylindrocladium สาเหตุโรคใบไหม้ใน Eucalyptus camaldulensisen_US
dc.title.alternativePotential of Endophytic Fungi and Rhizosphere Actinomycetes as Biocontrol Agent of Cylindrocladium Leaf Blight in Eucalyptus camaldulensisen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractยูคาลิปตัสเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อไม้ ซึ่งเป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษในหลายๆประเทศ โรคใบไหม้ในยูคาลิปตัสที่เกิดจากเชื้อรา Cylindrocladium sp. ที่มักระบาดหนักในฤดูฝน และนำไปสู่การตายเนื่องจากการผลัดใบของต้นกล้าได้ง่าย งานวิจัยนี้เป็นการคัดเลือกราเอนโดไฟต์ หรือแอคติโนมัยซีทที่มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Cylindrocladium sp. ซึ่งเป็นสาเหตุโรคใบไหม้ในต้นกล้า Eucalyptus camaldulensis โดยเก็บตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่และปราจีนบุรี ซึ่งสามารถแยกเชื้อราสาเหตุโรคใบไหม้ในยูคาลิปตัส 3 ไอโซเลท คือ C. colhounii CMU 115, C. reteaudii TTCC02 และ C. reteaudii TTCC06 จากนั้นคัดแยกเชื้อราเอนโดไฟต์จากตัวอย่างใบและก้านยูคาลิปตัสที่มีสุขภาพดีจาก 10 ตัวอย่าง สามารถแยกได้ทั้งหมด 209 ไอโซเลท และสามารถแยกแอคติโนมัยซีทจากตัวอย่างดินรอบรากยูคาลิปตัสได้ทั้งหมด 121 ไอโซเลท ทดสอบคัดเลือกโดยวิธี dual culture พบว่าราเอนโดไฟต์ 10 ไอโซเลท มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งมากกว่า 65% ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบแก่งแย่งแข่งขัน และแอคติโนมัยซีทให้ผลในการยับยั้งดีกว่า โดยที่แอคติโนมัยซีท 16 ไอโซเลท มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งมากกว่า 80% จากนั้นทดสอบฤทธิ์ของน้ำเลี้ยงเซลล์พบว่า แอคติโนมัยซีทไอโซเลท PG4-36 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคได้ดีที่สุด ซึ่งทำให้เกิดรัศมีวงใสกับ C. colhounii CMU115 C. reteaudii TTCC02 และ C. reteaudii TTCC06 เท่ากับ 15.0 ± 0.8, 18.33 ± 1.2 และ 16.67 ± 0.6 mm ตามลำดับ อาหารเลี้ยงเชื้อที่เหมาะสมในการสร้างสารต้านเชื้อราสาเหตุโรค คือ Bennett’s medium และ potato dextrose broth จากการทดลองพบว่า สารสกัดหยาบจากน้ำเลี้ยงเซลล์ของ Streptomyces sioyaensis PG4-36 ที่เจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อ Bennett’s medium มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความรุนแรงของโรคใบไหม้ในต้นกล้ายูคาลิปตัสได้ จากนั้นทำการวัดระดับความรุนแรงในการเกิดโรคบนใบยูคาลิปตัสโดยใช้ชุดทดลอง คือ การทดลองที่ 1 : ชุดควบคุมบวก, การทดลองที่ 2 : ชุดควบคุมลบ, การทดลองที่ 3 การปลูกเชื้อสาเหตุโรคก่อนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วทำการฉีดพ่นสารสกัด, การทดลองที่ 4 การฉีดพ่นสารสกัดก่อนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วทำการปลูกเชื้อสาเหตุโรค และ การทดลองที่ 5 ใช้สารควบคุมพร้อมกับการเกิดโรค จากการทดลอง พบว่า การทดลองที่ 4 : การฉีดพ่นสารสกัดก่อนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วทำการปลูกเชื้อสาเหตุโรค มีระดับความรุนแรงในการก่อโรคต่ำที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคen_US
Appears in Collections:SCIENCE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.