Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69267
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผศ.ดร.สมศักดิ์ วรรณวิไลรัตน์-
dc.contributor.advisorรศ.พญ.อิ่มใจ ชิตาพนารักษ์-
dc.contributor.authorปนัดดา อินทนินธ์en_US
dc.date.accessioned2020-08-03T07:39:48Z-
dc.date.available2020-08-03T07:39:48Z-
dc.date.issued2015-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69267-
dc.description.abstractHelical Tomotherapy (HT) unit can acquire megavoltage computed tomography (MVCT) images for pre-treatment position verification. The MVCT images can also be used for delivered dose calculations. By comparing the delivered dose with treatment plan and evaluating to create adaptive radiotherapy (ART), when the delivery dose to patients are significant deviate from the treatment plan. The calculation of the MVCT and kVCT images data dose calculations use difference image value-to-density table (IVDT). The different tables causes the uncertainty in dose calculation. Purpose of this study, the results between dose calculation on MVCT images by planned adaptive software and dose calculation on kVCT images by the helical tomotherapy planning have been compared to evaluate the accuracy of the dose calculation on MVCT images. Fourteen head and neck cancer cases were included in this study. The planning doses were calculated by planning station on kVCT data sets for PTV70, PTV59.4 and PTV54. The MVCT data sets of patients were acquired by the helical tomotherapy system. The merged image between the kVCT and MVCT images were used for planned adaptive calculation. Then D95 of all PTVs, D50 of parotid glands and D2 of spinal cord were evaluated from the DVH. The dosimetric parameters results were compared using Pearson's correlation. The results were found that the averages D95 of kVCT and MVCT does calculation for PTV70, PTV59.4 and PTV54 were 2.121, 1.799, 1.649 and 2.158, 1.833, 1.629 Gy/fraction respectively. The averages of D50 of kVCT and MVCT dose calculation for right and left parotid glands were 0.896, 0.910 and 0.859, 0.871 Gy/fraction respectively. The averages of D2 of kVCT and MVCT dose calculation for the spinal cord were 0.961 and 0.980 Gy/fraction respectively. From this study the dose calculation on MVCT images with Planned adaptive software were significant correlative to planning dose on kVCT from Planning station. This dosimetric results comparison demonstrated that MVCT calculated dose by planned adaptive can be used to evaluate the patient delivered dose and decide to adapt treatment plans when the patients have anatomy changes.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลการคำนวณปริมาณรังสีโดยโปรแกรมวางแผนรังสีรักษาของเครื่องฉายรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนระหว่างการใช้ภาพรังสีตัดขวางระดับศักย์ไฟฟ้ากิโลโวลต์กับเมกะโวลต์en_US
dc.title.alternativeComparison of Dose Calculation Results Between TomoTherapy Treatment Planning Programs Using Kilovoltage and Megavoltage Computed Tomography Imagesen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเครื่องฉายรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุนสามารถถ่ายภาพรังสีตัดขวางระดับศักย์ไฟฟ้าเมกะโวลต์ (megavoltage computed tomography: MVCT) ใช้ทวนสอบตำแหน่งก่อนการฉายรังสี อีกทั้งสามารถนำภาพรังสีตัดขวาง MVCT ไปคำนวณปริมาณรังสีเพื่อใช้ทวนสอบปริมาณรังสีที่ฉายให้ผู้ป่วยโดยเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีตามแผนรังสีรักษา และพิจารณาทำการปรับแผนรังสีรักษา (Adaptive Radiotherapy) กรณีพบว่าปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับมีความคลาดเคลื่อนไปจากแผนรังสีรักษาเดิมมาก ในการคำนวณปริมาณรังสีบนภาพรังสีตัดขวาง MVCT และภาพรังสีตัดขวางระดับศักย์ไฟฟ้ากิโลโวลต์ (kilovoltage computed tomography: kVCT) ต้องใช้ตารางความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นของอิเล็กตรอนกับค่าเลขซีที (image value-to-density table: IVDT) ที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณปริมาณ ในการศึกษานี้ ได้ทำการเปรียบเทียบผลการคำนวณปริมาณรังสีระหว่างการคำนวณบนภาพรังสีตัดขวาง MVCT ด้วยโปรแกรม Planned adaptive และการคำนวณบนภาพรังสีตัดขวาง kVCT ด้วยโปรแกรม Planning station เพื่อประเมินความถูกต้องของการคำนวณปริมาณรังสีบนภาพรังสีตัดขวาง MVCT ของเครื่องวางแผนรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุน โดยศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอจำนวน 14 ราย แต่ละรายวางแผนรังสีรักษาบนภาพรังสีตัดขวาง kVCT และคำนวณปริมาณรังสีที่ PTV70, PTV59.4 และ PTV54 จากนั้นถ่ายภาพรังสีตัดขวาง MVCT ของผู้ป่วยทุกรายด้วยเครื่องฉายรังสีตัดขวางแบบเกลียวหมุน นำภาพรังสีตัดขวางทั้งสองมาซ้อนทับกันเพื่อคัดลอกโครงร่างรอยโรค, ต่อมน้ำลายทั้งสองข้างและไขสันหลัง และคำนวณปริมาณรังสีด้วยโปรแกรม Planned adaptive โดยใช้ภาพรังสีตัดขวาง MVCT จากนั้นเปรียบเทียบปริมาณเชิงรังสีคณิตที่ปริมาตรเป้าหมาย และอวัยวะสำคัญข้างเคียง หาความสัมพันธ์ของปริมาณรังสีทั้งสองด้วยวิธีสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การศึกษาพบว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ปริมาตรอวัยวะเป้าหมายร้อยละ 95 ได้รับ (D95) ของ kVCT และ MVCT สำหรับ PTV70, PTV59.4 และ PTV54 คือ 2.121, 1.799, 1.649 และ 2.158, 1.833, 1.629 เกรย์ ตามลำดับ ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ปริมาตรร้อยละ 50 ของต่อมน้ำลายข้างขวาและซ้ายได้รับ (D50) สำหรับ kVCT และ MVCT คือ 0.896, 0.910 และ 0.859, 0.871 เกรย์ ตามลำดับ ปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ปริมาตรร้อยละ 2 ของไขสันหลังได้รับ (D2) สำหรับ kVCT และ MVCT คือ 0.961 และ 0.980 เกรย์ ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่าการคำนวณปริมาณรังสีบนข้อมูลภาพรังสี MVCT ด้วยโปรแกรม Planned adaptive มีความสัมพันธ์กับผลการคำนวณบนภาพรังสี kVCT จาก Planning station อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าความแตกต่างของปริมาณเชิงรังสีคณิตอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ โดยสรุปแล้ว Planned adaptive สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทวนสอบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับ และใช้ในการพิจารณาทำการปรับแผนการรักษากรณีพบว่าผู้ป่วยมีกายวิภาคที่เปลี่ยนแปลงไปen_US
Appears in Collections:MED: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.