Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69163
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Dr. Atiporn Saeung | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Udom Chaithong | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Pongsri Tippawangkosol | - |
dc.contributor.advisor | Assoc. Prof. Dr. Narissara Jariyapan | - |
dc.contributor.advisor | Asst. Prof. Dr. Anuluck Junkum | - |
dc.contributor.author | Kritsana Taai | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-30T01:23:44Z | - |
dc.date.available | 2020-07-30T01:23:44Z | - |
dc.date.issued | 2014-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69163 | - |
dc.description.abstract | Anopheles paraliae belongs to the Hyrcanus Group that is distributed widely along the coastal regions of southern Thailand, Malaysia (Malaysian peninsular, Sabah and Sarawak states), Brunei and Vietnam. The morphological characteristics of adult females of this species are similar to those of Anopheles lesteri, which are distributed in Palaearctic regions, but their immature habitats are obviously different. However, the true species status between An. paraliae and An. lesteri is still unclear. Furthermore, the cytological evidence and the genetic proximity among the karyotypic variants of An. paraliae has never been reported. Therefore, a systematic investigation of genetic proximity among karyotypic forms of An. paraliae, and between An. paraliae and An. lesteri were carried out in this study, based on cross-mating experiments related to DNA sequence variations of ribosomal DNA (second internal transcribed spacer, ITS2) and mitochondrial DNA (cytochrome c oxidase subunit I and II, COI and COII). A total of twenty-one isoline colonies of An. paraliae were established from wild-caught females collected from cow-baited traps in 4 provinces of Thailand, i.e., Chanthaburi, Ratchaburi, Songkhla and Nakhon Si Thammarat. The result of metaphase karyotype identification revealed 3 types of X (X1, X2, X3) and 5 types of Y (Y1, Y2, Y3, Y4, Y5) chromosomes, and they were designated as Forms A (X3, Y1), B (X1, X2, X3, Y2), C (X3, Y3), D (X1, X2, X3, Y4) and E (X3, Y5), based on Y chromosome. Form A was found in Songkhla province, Form B in Ratchaburi, Nakhon Si Thammarat and Songkhla provinces, Form C in Chanthaburi province, Form D in Ratchaburi and Songkhla provinces, and Form E in Ratchaburi province. Cross-mating experiments among the 7 isoline colonies, which represented the 5 karyotypic forms of An. paraliae, revealed genetic compatibility in providing viable progenies and synaptic salivary gland polytene chromosomes through F2-generations. These results were supported by the very low intraspecific variation (average genetic distance = 0.000-0.002) of the nucleotide sequences in ribosomal DNA (ITS2) and mitochondrial DNA (COI and COII), thus suggesting the conspecific nature of these 5 karyotypic forms of this species. Additionally, 3 and 5 isoline colonies of An. lesteri from South Korea and An. paraliae from Thailand, respectively, were used to assess their genetic relationships by cross-mating experiments and comparison of DNA sequences of ribosomal DNA (ITS2) and mitochondrial DNA (COI and COII). The results of reciprocal and F1-hybrid crosses between An. lesteri and An. paraliae indicated that they were genetically compatible by producing viable progenies and complete synaptic salivary gland polytene chromosomes, without inversion loops, in all chromosome arms. The low pairwise genetic distances of ITS2, COI and COII sequences between these species were 0.040, 0.007-0.017 and 0.008-0.011, respectively. Therefore, these results supported the conspecific relationships between An. paraliae within the taxon An. lesteri. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | GENETICS OF Anopheles paraliae | en_US |
dc.title.alternative | พันธุศาสตร์ของยุงก้นปล่องชนิด Anopheles paraliae | en_US |
dc.type | Thesis | |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ยุงก้นปล่องชนิด Anopheles paraliae เป็นยุงก้นปล่องในกลุ่มไฮร์คานัส มีการกระจายตัวอย่างกว้างขวางตามแนวชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย (คาบสมุทรมลายู รัฐซาบาและซาราวัค) ประเทศบรูไน และประเทศเวียดนาม ยุงชนิดนี้มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาของยุงตัวเต็มวัยเพศเมียที่คล้ายคลึงกับยุงก้นปล่องชนิด Anopheles lesteri และมีการกระจายตัวในประเทศแถบอบอุ่น แต่ยุงทั้ง 2 ชนิดนี้มีแหล่งเพาะพันธุ์ของระยะตัวอ่อนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สถานะที่แท้จริงระหว่างยุงก้นปล่อง An. paraliae และ An. lesteri ยังไม่ทราบแน่ชัด นอกจากนี้ ยังไม่เคยมีการรายงานถึงหลักฐานทางเซลล์พันธุศาสตร์และความใกล้ชิดทางพันธุกรรมระหว่างรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ที่หลากหลายของยุงก้นปล่อง An. paraliae ดังนั้น การศึกษานี้จึงเป็นการศึกษาความใกล้ชิดทางด้านพันธุกรรมระหว่างรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ในยุง An. paraliae และระหว่างยุง An. paraliae กับยุง An. lesteri อย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการทดลองผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์และข้ามรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ที่สัมพันธ์กับความแปรผันของลำดับนิวคลีโอไทด์ของไร-โบโซมอลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง ITS2 และไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง COI และ COII ทำการจับยุงก้นปล่อง An. paraliae จากภาคสนามโดยใช้โคเป็นเหยื่อล่อจาก 4 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสงขลา และ จังหวัดนครศรีธรรมราช มาเลี้ยงแบบโคโลนีเดี่ยว จำนวนทั้งสิ้น 21 ไอโซไลน์ ผลจากการวินิจฉัยรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ พบโครโมโซม X จำนวน 3 รูปแบบ (X1, X2, X3) และโครโมโซม Y จำนวน 5 รูปแบบ (Y1, Y2, Y3, Y4, Y5) โดยกำหนดให้เป็นรูปแบบ A (X3, Y1), รูปแบบ B (X1, X2, X3, Y2) รูปแบบ C (X3, Y3) รูปแบบ D (X1, X2, X3, Y4) และรูปแบบ E (X3, Y5) ตามลักษณะของโครโมโซม Y โดยรูปแบบ A พบที่จังหวัดสงขลา รูปแบบ B พบที่จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา รูปแบบ C พบที่จังหวัดจันทบุรี รูปแบบ D พบที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสงขลา และรูปแบบ E พบที่จังหวัดราชบุรี ผลการทดลองผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์และข้ามรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ระหว่างยุงจำนวน 7 ไอโซไลน์โคโลนี ที่เป็นตัวแทนของ 5 รูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ของยุงก้นปล่อง An. paraliae พบว่ายุงทั้ง 5 รูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์มีพันธุกรรมที่เข้ากันได้ โดยให้ยุงลูกผสมรุ่นที่ 1 และ 2 ที่แข็งแรง และมีโพลิทีนโครโมโซมจากเซลล์ต่อมน้ำลายที่เข้าคู่แนบชิดกันตลอดสายในโครโมโซม ผลการทดลองนี้ ถูกสนับสนุนด้วยค่าความแปรผันของลำดับนิวคลีโอไทด์ของไรโบโซมอลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง ITS2 และไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง COI และ COII ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ยระยะห่างทางพันธุกรรม = 0.000-0.002) จึงกล่าวได้ว่ายุงชนิดนี้ สามารถพบรูปแบบเมตาเฟสคาริโอไทป์ที่แตกต่างกันถึง 5 รูปแบบได้ในประชากรธรรมชาติ การศึกษาเพื่อประเมินความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างยุงก้นปล่อง An. lesteri สายพันธุ์ประเทศเกาหลี และยุงก้นปล่อง An. paraliae สายพันธุ์ประเทศไทย จากการนำยุงก้นปล่อง An. lesteri และยุงก้นปล่อง An. paraliae จำนวน 3 และ 5 ไอโซไลน์โคโลนี ตามลำดับ มาทำการทดลองผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์และการศึกษาเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของไรโบโซมอลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง ITS2 และไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง COI และ COII ผลการทดลองที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์และการผสมพันธุ์ของยุงลูกผสมรุ่นที่ 1 ระหว่างยุงก้นปล่อง An. lesteri และยุงก้นปล่อง An. paraliae บ่งชี้ว่า ยุงทั้งสองชนิดมีพันธุกรรมที่เข้ากันได้ โดยให้ยุงลูกผสมที่แข็งแรง และมีโพลิทีนโครโมโซมจากเซลล์ต่อมน้ำลายที่เข้าคู่แนบชิดกันโดยไม่เกิดอินเวอร์ชันตลอดสายในทุกแขนโครโมโซม และผลการศึกษาเปรียบเทียบลำดับนิวคลิโอไทด์ พบว่ายุงทั้งสองชนิดมีค่าระยะห่างทางพันธุกรรมระหว่างคู่ของลำดับนิวคลีโอไทด์ของไรโบโซมอลดีเอ็นเอและไมโตคอนเดรียลดีเอ็นเอที่ตำแหน่ง ITS2, COI และ COII ในระดับต่ำ คือ 0.040, 0.007-0.017 และ 0.008-0.011 ตามลำดับ ดังนั้น ผลการทดลองนี้สนับสนุนว่ายุงก้นปล่อง An. paraliae เป็นยุงชนิดเดียวกันกับยุงก้นปล่อง An. lesteri | en_US |
Appears in Collections: | MED: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Full.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.