Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69142
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ศุภชัย ศุภผล-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ-
dc.contributor.authorนิพิฐพนธ์ นันทะวงศ์en_US
dc.date.accessioned2020-07-28T02:46:53Z-
dc.date.available2020-07-28T02:46:53Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69142-
dc.description.abstractThis independent research is an analysis of Political Thought Analysis of the Hunger Games Novel, which aimed to analyze political opinions that appeared in the Hunger Games throughout to studies of politics-related semiotics that appeared in the Hunger Games in order to gain an understanding of politics in different contexts and in other various viewpoints from gaining an understanding of politics in the real world towards gaining an understanding of politics in the novel’s context. Study results discovered that first of all, political concepts that appeared in the novel can be characterized as being edged towards Marxist concepts by displaying that control of the novel’s story progression was multilayered and intensive. The author approached the themes from various aspects that were compiled by taking the basics of ancient Greek and Roman tales and mythologies as well as using the basic ideas of social criticism in dystopian novels, and the themes were gently developed and elaborated upon with by using srelationships of economical structures in Panem through to the complicated relationships between consumers and the manufacturing workers, differences in class and questioning of wealth, variety in culinary cultures, and the government’s use of food as a direct mechanic to maintain control of Panem’s social structure by virtue of ruling over the twisted social structure in Panem. As the novel is highly detailed and its theme preserved with complicated story progression according to dystopian concepts or looking at it from a dystopic viewpoint, can be considered to be a realist way of looking at the world. Regarding the next point, if we look at the context from the author’s side, we will discover that Susan Collins wishes to point out that dystopian novels were written to criticize and satirize world society. This novel often explains the future world as a dark age and future that is hopeless and dark, which caused her to wish to explain that if humans in the present are already committing immoral acts, it is possible that our future will be that of a dark age. This can be seen in the Hunger Games, where Susan Collins explains about the future world as a land filled with sadness and oppression, of which the cause is none other than humans themselves, and this novel was written to point out this out for readers to think and read novels wisely. Furthermore, the Hunger Games is not just a regular novel for entertainment, but a novel with inserted political implications that criticizes society in itself, and these two attributes are important for the Hunger Games’s differences from other novels.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์แนวคิดทางการเมืองในนวนิยายเกมล่าชีวิตen_US
dc.title.alternativePolitical Thought Analysis of the Hunger Games Novelen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์แนวคิดทางการเมืองในนวนิยายเกมล่าชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคิดทางการเมืองที่ปรากฏในนวนิยายเกมล่าชีวิต ตลอดจนถึงศึกษาสัญญะที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ที่ปรากฏในนวนิยาย เรื่องเกมล่าชีวิต เพื่อมุ่งทำความเข้าใจในเรื่องของการเมืองในบริบทที่แตกต่าง และในมุมมองที่หลากหลายนอกเหนือจากการมุ่งทำความเข้าใจการเมืองในโลกของความจริง เข้าสู่การทำความเข้าใจในบริบทของนวนิยาย ผลการศึกษาพบว่า ประการแรกแนวความคิดทางการเมืองที่ปรากฏในนวนิยายนั้นมีลักษณะเน้นไปทางแนวความคิดของมาร์กซิส โดยทำให้เห็นว่าการควบคุมการดำเนินเรื่องของ นวนิยายนั้นมีหลายชั้นและเข้มข้น ผู้แต่งได้เข้าถึงแก่นเรื่องจากแง่มุมที่หลากหลาย มาเรียบเรียงโดยการนำเอาพื้นฐานของเรื่องนิทานปกรณัมปรัมปราของกรีกและสังคมโรมันโบราณ ตลอดถึงการใช้ฐานความคิดของของนวนิยายแนวดิสโทเปียในการวิพากษ์สังคม และแก่นเรื่องได้รับการพัฒนาและประดิษฐ์ประดอยอย่างละเมียดละไม โดยใช้ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้างเศรษฐกิจในพาเน็ม(Panem) ไปจนถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างผู้บริโภคและคนงานผู้ผลิตสินค้า ความแตกต่างทางด้านชนชั้นและได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความมั่งคั่ง ความหลากหลายของวัฒนธรรมทางอาหาร และการที่รัฐบาลใช้อาหารในฐานะที่เป็นกลไกโดยตรงในการควบคุมเพื่อที่จะธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างทางสังคมของพาเน็มโดยอาศัยสภาวะการครองอำนาจนำภายใต้โครงสร้างที่บิดเบี้ยวของสังคมในพาเน็ม เนื่องจากนวนิยายถูกใส่รายละเอียดและรักษาแก่นของเนื้อเรื่องด้วยวิธีการ ดำเนินเรื่องที่ซับซ้อนตามแนวคิดของโลกในแบบดิสโทเปีย หรือเรามองสิ่งนั้นได้ในมุมมองของดีสโทเปียนั้นเป็นการมองโลกแบบสัจนิยมก็เป็นได้ ประการต่อมาหากเรามองบริบทในด้านของผู้แต่งเราจะพบว่าซูซาน คอลลินส์ มีความต้องการที่จะชี้นำว่า นวนิยายแนวดิสโทเปียเกิดขึ้นเพื่อวิจารณ์และเสียดสีสังคมโลก นวนิยายแนวนี้ มักอธิบายถึงโลกอนาคตในภาวะกลียุค ในฐานะของอนาคตที่สิ้นหวังและมืดมน ทำให้เธอมีความพยายามที่จะอธิบายว่า หากในปัจจุบันมนุษย์ได้กระทำการอย่างเลวร้ายแล้ว ย่อมมีความเป็นไปได้ที่อนาคตของเราจะกลายเป็นอนาคตที่อยู่ในสภาวะกลียุค ดังจะเห็นได้จากในนวนิยายเรื่องเกมล่าชีวิต ที่ ซูซาน คอลลินส์ ได้อธิบายเกี่ยวกับโลกอนาคตในฐานะดินแดนที่เต็มไปด้วยความเศร้าหมองและการถูกกดขี่ ซึ่งสาเหตุนั้นก็ไม่ใช่อะไรนอกจากบรรดามนุษย์นั่นเองและนวนิยายเรื่องนี้แต่งขึ้น เพื่อชี้ประเด็นให้ผู้อ่านเริ่มคิดและอ่านนวนิยายอย่างชาญฉลาด อีกทั้งนวนิยายเรื่องเกมล่าชีวิตไม่ได้เป็นเพียงนวนิยายธรรมดาทั่วไปที่สร้างความบันเทิงเท่านั้น แต่เป็นนวนิยายที่มีการสอดแทรกนัยยะทางการเมืองและได้วิพากษ์วิจารณ์สังคมในตัวของมันเอง และคุณสมบัติทั้งสองประการนี้เองเป็นสิ่งที่สำคัญของนวนิยายเกมล่าชีวิตที่แตกต่างจากนวนิยายเรื่องอื่นๆen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.