Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ-
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์สมศักดิ์ เกี่ยวกิ่งแก้ว-
dc.contributor.authorอุทุมพร กันทะปันen_US
dc.date.accessioned2020-07-27T07:59:09Z-
dc.date.available2020-07-27T07:59:09Z-
dc.date.issued2015-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69131-
dc.description.abstractThe purposes of this independent study, Influence of Media on People Participation in Politics: A Case Study of Tha Sala Sub-District, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Province, were to investigate characteristics and level of the characteristics of people participation in politics of Tha Sala Sub-district, Chiang Mai district, Chiang Mai province, and to study the influence of the media on people participation in politics of Tha Sala Sub-district, Chiang Mai district, Chiang Mai province. The study was conducted by collecting documents and related research, as well as collecting data from 375 residents living in Tha Sala sub-district, Mueang Chiang Mai district, Chiang Mai province by using questionnaires. The study found that the following and accessing level of media of Tha Sala sub-district residents was at a high level when considering the type of media people follow and access, such as mass media and online media. In addition, the characteristic level of political participation of Tha Sala district residents was at a moderate level. The first five characteristics were (1) the use of right to vote local politicians, such as provincial, municipal, and sub-district representative, (2) the use of right to vote national politicians, such as house of representatives and senators, (3) interest in following political news, (4) political discussions with family or others in general, and (5) joining a campaign to persuade others to vote for particular candidates, respectively. Most questionnaire respondents, 257 (65.9%), agreed that media had an influence on political participation while 69 respondents (18.4%) viewed that media had no influence on political participation, and 59 respondents (15.7%) were uncertain if media had any influence on political participation, respectively. The findings showed that the influence of the media on the political participation of Tha Sala sub-district residents were from mass media, personal media, and online media. All of these three media had an overall influence at a moderate level. The results of hypothesis testing showing media were associated with political participation of people in Tha Sala sub-district at a high level reveled that mass media were related to political participation of people in Tha Sala sub-district at a high level with statistical significance at the 0.01 level, which was consistent with the hypothesis. Personal media had a relationship with the political participation of people in Tha Sala sub-district at a moderate level with statistical significance at the 0.01 level, which was inconsistent with the hypothesis. Online media were related to the political participation of people in Tha Sala sub-district at a moderate level with statistical significance at the 0.01 level, which was inconsistent with the hypothesis. However, the study also found that there were a number of people who were uncertain and disagreed that media had an influence on individual's decision to participate in politics. They argued that political media had not acted their roles or might not be neutral. The decision making of these people relied on the experience or personal attitudes in order to make a decision for political participation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอิทธิพลของสื่อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทางการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeInfluence of Media on People Participation Politics : A Case Study of Tha Sala Sub-District, Mueang Chiang Mai District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระ เรื่อง อิทธิพลของสื่อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทางการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงลักษณะและระดับของลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของสื่อต่อการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้ศึกษา ได้ทำการศึกษาด้วยการรวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและรวบรวมผลของข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม สำหรับประชาชนตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 375 คน ผลการศึกษาพบว่า ระดับการติดตามและเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆของประชาชนตำบล ท่าศาลา อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาจากประเภทของสื่อ ที่ประชาชนติดตามและเข้าถึงสื่อ ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคลและสื่อออนไลน์ เช่น ตามลำดับ และระดับของลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่ง 5 อันดับแรก ของระดับของลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ได้แก่ การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งนักการเมืองท้องถิ่น เช่น ส.อบจ., ส.ท., ส.อบต. การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งนักการเมืองระดับชาติ เช่น ส.ส., ส.ว. ความสนใจในการติดตามข่าวสารทางการเมือง การพูดจาปรึกษาเรื่องการเมืองกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นโดยทั่วไป และการร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ชักชวนให้ผู้อื่นใช้สิทธิออกเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งตามลำดับ ทั้งนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่า สื่อมีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำนวน 257 คน คิดเป็นร้อยละ 65.9 รองลงมาได้แก่ สื่อไม่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมือง จำนวน 69 คน คิดเป็นร้อยละ 18.4 และไม่แน่ใจ จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 15.7 ตามลำดับ และจากผลการศึกษาปรากฏว่าอิทธิพลของสื่อที่มีอิทธิพลของสื่อที่มีต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อออนไลน์ ทั้งสามประเภทนี้ มีอิทธิพลในภาพรวมปานกลาง เช่นเดียวกัน ผลการทดสอบสมมติฐานการศึกษาที่ว่า สื่อมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ในระดับมากนั้น พบว่า สื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สื่อประเภท สื่อบุคคลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทาง การเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ และสื่อประเภท สื่อออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลท่าศาลา ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้จากการศึกษายังพบว่า มีประชาชนจำนวนหนึ่ง ที่ไม่แน่ใจและไม่เห็นด้วยว่าสื่อ จะมีอิทธิพลต่อปัจเจกบุคคลในการตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เนื่องจากมีความคิดเห็นว่าสื่อทางการเมืองยังไม่ได้ทำหน้าที่บทบาทของตนเอง สื่ออาจยังไม่มีความเป็นกลาง การตัดสินใจของกลุ่มคนเหล่านี้จะอาศัยจากประสบการณ์หรือทัศนคติส่วนบุคคลมาตัดสินใจในการเข้าไป มีส่วนร่วมทางการเมืองen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.