Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร.พิชญลักษณ์ พิชญกุล-
dc.contributor.authorใยไหม ปาละรัตน์en_US
dc.date.accessioned2020-07-24T08:41:00Z-
dc.date.available2020-07-24T08:41:00Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69082-
dc.description.abstractThe purpose of the study was to analyze the competitiveness of Nong - Ae pork snack in Tung Kwian market, Lampang province. Samples were members of Nong - Ae Pork Snack in Tung Kwian market, customers, competitors and suppliers. The sampling methods were classified by roles and functions. The first sample comprised members of Nong - Ae pork snack including the chairman, treasurer, marketing personnel and a manufacturer. The second sample was wholesale and retail customers. The third sample was 25 competitors, which were A pork snack, B pork snack and C pork snack. The last sample was a supplier (raw pigskin). Depth – structured interview was used as a tool to collect data. The study focused on internal factors and external factors of business data from the internal environment namely management, finance and marketing. The external environment included customer data and supplier’s data (raw pigskin). Then strengths, weaknesses, opportunities and threats were analyzed by SWOT Model and then applied to the business strategies and analyzed by TOWS Matrix. It was found the most shops in Tung Kwian market sold similar pork snack products. The significant factor was how long the pork snack members had been operating and there were a number of members among the competition. The opportunity of selling products for each shop was different. Revenue from wholesale pork snack was the regular revenue. If they had a problem or obstacle, they could fix it easily. It was also found the competitiveness of Nong - Ae pork snack was on a higher level. The weighted average rating for internal factors was 3.00/4.00 rating. The weighted average rating for external factors was 3.20/4.00 rating. The best business strategies were growth strategy and product diversification.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการวิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ แคบหมูน้องแอ้ ตลาดทุ่งเกวียน จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeCompetency Analysis of Nong -Ae Pork Snack Products, Kad Tung Kwian, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเรื่อง วิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์แคบหมูน้องแอ้ ตลาดทุ่งเกวียน อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกในกลุ่มแคบหมูน้องแอ้ในตลาดทุ่งเกวียน ลูกค้า คู่แข่งขัน และผู้ขายวัตถุดิบให้กับกิจการแคบหมูน้องแอ้ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งจำแนกจากบทบาทและหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างชุดที่ 1คือ สมาชิกกลุ่มแคบหมูน้องแอ้โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ประธานกลุ่มสมาชิกแคบหมูน้องแอ้ 1 ราย เหรัญญิก 1 ราย การตลาด 1 ราย และการผลิต 1 ราย กลุ่มตัวอย่างชุดที่ 2 คือ ลูกค้าที่บริโภคแคบหมูในตลาด ทุ่งเกวียน ทั้งลูกค้าขายส่งและขายปลีก กลุ่มตัวอย่างชุดที่ 3 คือ คู่แข่งขันที่ขายแคบหมูในตลาดทุ่งเกวียนจำนวน 25 ราย ซึ่งกลุ่มนี้ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยการเลือกผู้ประกอบการแคบหมูที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกคือ แคบหมู ก แคบหมู ข และแคบหมู ค กลุ่มตัวอย่างชุดที่ 4 คือ ผู้ขายวัตถุดิบ (หนังหมูดิบ) จำนวน 1 ราย ผู้ศึกษาใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยมุ่งศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของธุรกิจจากข้อมูลสภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วย ด้านการจัดการ การเงินและการตลาด ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วยข้อมูลลูกค้าและข้อมูลผู้ขายวัตถุดิบ(หนังดิบ) หลังจากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ ด้วย SWOT Model แล้วจึงประยุกต์ใช้ TOWS Matrix เพื่อวิเคราะห์ให้ได้มาซึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เหมาะสม และพบว่า ร้านค้าในตลาดทุ่งเกวียนที่จำหน่ายแคบหมูส่วนใหญ่ที่มีผลิตภัณฑ์ที่มีการขายสินค้าที่มีความคล้ายคลึงกันและจากการวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) พบว่า จุดเด่นที่พบคือ ระยะเวลาในการประกอบกิจการยาวนาน และมีจำนวนสมาชิกมากกว่าคู่แข่งขัน โอกาสที่พบคือสินค้าที่ขายดีของแต่ละร้านมีความแตกต่างกัน รายได้จากการขายส่งแคบหมูเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นประจำ จุดแข็ง โอกาส (SO) ซึ่งมากกว่า จุดอ่อน อุปสรรค (WT) จุดอ่อนขององค์กรที่เกิดขึ้นพบว่า เป็นจุดอ่อนที่องค์กรนั้นสามารถแก้ไขได้ง่าย จากผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์แคบหมูน้องแอ้จัดอยู่ในระดับที่สูง กล่าวคือ มีค่าเฉลี่ยคะแนนถ่วงน้ำหนักปัจจัยภายใน 3.00/4.00 คะแนน และค่าเฉลี่ยคะแนนถ่วงน้ำหนักปัจจัยภายนอก 3.20/4.00 คะแนน ซึ่งกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้คือ กลยุทธ์การเติบโตและการสร้างความหลากหลายในผลิตภัณฑ์en_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.