Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69076
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล-
dc.contributor.advisorอาจารย์ ดร. ทรียาพรรณ สุภามณี-
dc.contributor.authorนิธิวดี สุธรรมรักษ์en_US
dc.date.accessioned2020-07-24T01:22:06Z-
dc.date.available2020-07-24T01:22:06Z-
dc.date.issued2014-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69076-
dc.description.abstractInformation provision for preoperative patients is an effective approach to reduce post-operative complications and results in shorter hospital stays. This developmental study aimed to improve the process of preoperative information provision for general surgical patients at Fort Surasakmontri Hospital in Lampang province. Study methodology was guided by the FOCUS-PDCA quality improvement process (Deming, 1993). The population consisted of 14 professional nurses. The research instruments included: 1) interview guidelines, 2) Nurse Team Transfer Data Preoperative Information Provision Form, 3) Information Provision Practice Check List, and 4) Preparation and Surgery Cancellation Incident Report Form. Data were analyzed by descriptive statistics. A preoperative information provision guidelines were developed through collaboration with registered nurses at the hospital as part of this study. The guidelines contained essential information for preoperative patients, the information provision roles of nurses in the Out Patient Department, Private Ward and Operating Room, and guideline for using the Form of Nurse Team Transfer Data Preoperative Information Provision Form. After implementation of the guideline, almost all registered nurses performed preoperative information provision in compliance with the guideline. All patients received the essential preoperative information. Incidence of patient unreadiness for operation was not found and no surgeries were canceled. The results of the study show that the developed guideline for preoperative information provision effectively prepares surgical patients for surgery and maintains the quality of the standard care for preoperative patients. Organizational administrators can apply this FOCUS-PDCA quality improvement process to improve quality of services in their hospitals.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeQuality Improvement of Preoperative Information Provision for General Surgical Patients, Fort Surasakmontri Hospital, Lampang Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดและทำให้ระยะเวลาในการรักษาสั้นลง การศึกษาเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง วิธีดำเนินการศึกษาอาศัยแนวคิดกระบวนการปรับปรุงคุณภาพที่เรียกว่า โฟกัสพี ดี ซี เอ ของเดมมิ่ง (1993) ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แนวคำถามที่ใช้ในการประชุม 2) แบบฟอร์มการส่งต่อการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปในทีมพยาบาล 3) แบบตรวจสอบการปฏิบัติการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป และ 4) แบบบันทึกการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด/อุบัติการณ์การเลื่อน/งดผ่าตัดผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พยาบาลวิชาชีพได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษานี้ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด บทบาทของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วยพิเศษและห้องผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลสำหรับผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และแนวปฏิบัติในการใช้แบบฟอร์มการส่งต่อการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปในทีมพยาบาล หลังจากนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ พบว่าพยาบาลวิชาชีพเกือบทุกคนสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางที่กำหนดไว้ ผู้ป่วยทุกคนได้รับข้อมูลที่จำเป็นก่อนผ่าตัด และไม่พบว่าเกิดอุบัติการณ์ความไม่พร้อมของผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหรือการงดผ่าตัด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า แนวทางการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมทั่วไปที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเตรียมผู้ป่วยศัลยกรรมก่อนผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้เกิดคุณภาพการบริการตามมาตรฐานการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ผู้บริหารองค์กรสามารถนำกระบวนการปรับปรุงคุณภาพที่เรียกว่า โฟกัสพี ดี ซี เอ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการบริการอื่นๆ ในโรงพยาบาลได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.