Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญประภา ศิวิโรจน์-
dc.contributor.authorจิราภรณ์ เสวะกะen_US
dc.date.accessioned2020-07-22T09:24:17Z-
dc.date.available2020-07-22T09:24:17Z-
dc.date.issued2015-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69034-
dc.description.abstractThe purposes of this descriptive study were to investigate the consumption of energy drink among workers in Tonthong Sub-district , Mueang District, Lamphun Province and to compare the amounts of caffeine and sugar that they obtained from drinking energy drinks. The data form 264 workers out of 2,587 people were collected from four villages (66 workers each) and were studied using the estimating a finite population proportion formula and multi-stage random sample (multi-stage sampling). Information that were collected using a questionnaire general information, illness history, working conditions, smoking, alcohol and energy drinks consumption habit. All the samples took the respondent on their own. The data was analyzed using descriptive statistics including frequency distribution, percentage, mean and standard deviation, as well as correlation analysis by Chi-Square and Fisher's exact Test. The results showed that more than half of the samples were female (53.8%) between the ages of 50 - 60 years old (64.0%), married (78.8%), and completed elementary level education (70.1%). Almost half of samples work daily (47.3%), others work 7-8 hours per day (50.4%), Percentages of workers that smoke and drink alcohol were 12.5% and 26.5% respectively. The most consumed beverage in addition to energy drinks is coffee (67.8%), and cola (28.8 %), Half of the workers with diabetes and high blood pressure cannot always control their chronic symptoms (51.1%). Half of the samples consume energy drinks (50.4%), mostly for a period of 4 - 6 years (43.6%). About 12.8% have been drinking for more than 10 years. As high as 13.5% drink every day, mostly one bottle per day (94.0%) at the frequency of 3 days per week (32.3%). Most people drink every time they work (62.4%), and more than half of these drink before work (51.1%). Pattern of drinking is to mostly to drink it out of bottles (92.5%), without mixing anything (94.7%), while a few mixed with alcohol (3.8%). The main reason of drinking is to get rid of sleepiness (69.9%), and to stimulate and rejuvenate the body (53.4%). Highest average amount of caffeine obtained per day from drinking energy drink was found in diabetes risk group labors at 54.8 mg, followed by the hypertension group at 54.7 mg, the diabetes group at 53.3 mg, and the normal group at 52.6 mg. For the sugar content obtained per day from drinking energy drinks, the highest amount was found in the hypertension risk group at 27.2 g, followed by the diabetes group at 26.2 g, the diabetes risk group at 26.1 g and the normal group at 24.9 g. From the analysis of the relationship between personal factors and energy drink drinking habit, it was found that gender, number of working days per week, number of working hours per day, chronic illness, smoking and alcohol consumption habit have significant effect at the 0.05 level. Relevant authorities should continuously monitor energy drink consumption habit among workers. Calculation for the daily amount of caffeine and sugar obtained from energy drinks consumption should be publicized. This will promote workers to calculate their own caffeine and sugar consumption from energy drinks.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเครื่องดื่มชูกำลังen_US
dc.subjectแรงงานen_US
dc.subjectการดื่มen_US
dc.titleการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังของผู้ใช้แรงงานในตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeEnergy drink consumption among workers in Tonthong sub-district, Mueang district, Lamphun provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.classification.ddc613-
thailis.controlvocab.thashแรงงาน -- สุขภาพและอนามัย-
thailis.controlvocab.thashแรงงาน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashเครื่องดื่มชูกำลัง-
thailis.controlvocab.thashสุขภาวะ-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 613 จ372ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังของผู้ใช้แรงงาน และเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนและปริมาณน้ำตาลที่ได้จากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน จำนวน 264 คน จาก 2,587 คน โดยใช้การคำนวณจากสูตร estimating a finite population proportion และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) เก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้านๆ ละ 66 คน เครื่องมือ การ ศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วย สภาพทำงาน การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square และ Fisher’s exact Test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 53.8) มีอายุอยู่ระหว่าง 50-60 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 54.5) มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 78.8) ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 70.1) เกือบครึ่งหนึ่งทำงานทุกวัน (ร้อยละ 47.3) โดยครึ่งหนึ่งทำงานวันละ 7-8 ชั่วโมง (ร้อยละ 50.4) กลุ่มตัวอย่างมีการสูบบุหรี่มีร้อยละ 12.5 และพบว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มี ร้อยละ 26.5 เครื่องดื่มที่ดื่มมากที่สุดนอกเหนือจากเครื่องดื่มชูกำลังคือ กาแฟ (ร้อยละ 67.8) รองลงมาคือ เครื่องดื่มโคล่า (ร้อยละ 28.8) มีครึ่งหนึ่งในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมโรคเรื้อรังได้บ้างไม่ได้บ้าง (ร้อยละ 51.1) สำหรับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังพบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งหนึ่งดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง (ร้อยละ 50.4) โดยดื่มมาแล้วเป็นเวลา 4-6 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 43.6) ผู้ที่ดื่มมาแล้วมากกว่า 10 ปีมีร้อยละ 12.8 และมีผู้ที่ดื่มทุกวันถึงร้อยละ 13.5 และส่วนใหญ่ดื่มวันละ 1 ขวด (ร้อยละ 94.0) ความถี่ในการดื่มมากที่สุดคือสัปดาห์ละ 3 วัน (ร้อยละ 32.3) โดยส่วนใหญ่ดื่มทุกครั้งที่ทำงาน (ร้อยละ 62.4) กว่าครึ่งหนึ่งดื่มก่อนทำงาน (ร้อยละ 51.1) ลักษณะการดื่มคือดื่มทีเดียวหมดขวดมากที่สุด (ร้อยละ 92.5) ส่วนใหญ่ดื่มโดยไม่ผสมอะไร (ร้อยละ 94.7) และมีผู้ที่ดื่มผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีร้อยละ 3.8 ส่วนใหญ่มีเหตุผลในการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเพื่อแก้ง่วง (ร้อยละ 69.9) มากที่สุด รองลงมาคือ กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า (ร้อยละ 53.4) ปริมาณคาเฟอีนจากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเฉลี่ยต่อวันที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้รับมากที่สุดคือกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเท่ากับ 54.8 มิลลิกรัม รองลงมาคือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ 54.7 มิลลิกรัม กลุ่มป่วยโรคเบาหวานเท่ากับ 53.3 มิลลิกรัม และกลุ่มปกติเท่ากับ 52.6 มิลลิกรัม สำหรับปริมาณน้ำตาลที่ได้รับจากการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังเฉลี่ยต่อวันมากที่สุดคือ กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ 27.2 กรัม รองลงมาคือ กลุ่มป่วยโรคเบาหวานเท่ากับ 26.2 กรัม กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเท่ากับ 26.1 กรัม และกลุ่มปกติเท่ากับ 24.9 กรัม เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังพบว่า ปัจจัยเพศ จำนวนวันทำงานต่อสัปดาห์ จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน ลักษณะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเฝ้าระวังการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังในกลุ่มผู้ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์การคำนวณปริมาณคาเฟอีนและปริมาณน้ำตาลจากเครื่องดื่มที่บริโภคต่อวัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้มีการคำนวณการได้รับคาเฟอีนและน้ำตาลของตนเองen_US
Appears in Collections:GRAD-Health Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.