Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68995
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอ.ดร.รัฐพงษ์ อังกสิทธิ์-
dc.contributor.authorอณิชา กระจ่างแจ่มen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T06:06:36Z-
dc.date.available2020-07-21T06:06:36Z-
dc.date.issued2015-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68995-
dc.description.abstractThis independent study is the study and research to find the way for improve the parking design and public transportation systems for user in the Chiang Mai University. Thus, with a focus on data collection process and take into consideration to user group in Chiang Mai University. Research process has divided into 3 parts: that is 1. The fieldwork data collected data from interviews, this research bases on random sample of 30 peoples. The questions are within the scope of the research, which consist of time to take in journey, conveniences factor, expenses factor. The fieldwork data collection can be divided into 2 sub categories, parking system and public transportation system and because of this investigation is using the interview method with open-ended question, many factors will be added after the interview. 2. The fieldwork research processes done by the Multi-Criteria Decision Analysis: MCDA methods applied in an overlay with traffic plan to determine the traffic density in the area to designated for parking. In this process, the data will consist of a plan that show the blank area in the University, the volume of vehicles that drive through each of the way, the volume of vehicles that drive through the cross, and the number of vehicles that obstructing traffic. 3. By combining item 1 and 2, the result will be more accurate and can be use for analysis and synthesis together. Then, the result will carry out to the parking and public transportation routes design phase. For the design phase, researcher has used software that help simulates the routes by applied the analyzed data with the traffic data within the university. This process is operate under the scope of the research, which is the duration of journey through the main point in the University will be relative to the parking point for existing in University too. The results of the study showed that the entire task in transportation and traffic has associated with each other. Thus, the solution of traffic problem in Chiang Mai University needs to solve in a systematic way. The solution cannot manage in just one part only, but need to modify and improve simultaneously through the system. These solutions should include the parking design, public transport routes design and pedestrian pavement designen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการออกแบบปรับปรุงที่จอดรถและระบบรถสาธารณะส่วนการศึกษาหลักมหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeDesign Guideline for Central Parking and Transportation of Chiang Mai University Main Campusen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาและดำเนินการวิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางในการออกแบบปรับปรุงที่จอดรถและระบบรถสาธารณะที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังนั้นในการศึกษาจึงให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลโดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้สอยในมหาวิทยาลัยเป็นหลัก โดยในขั้นตอนการวิจัยสามารถแบ่งการดำเนินการออกเป็น 3ส่วนหลักด้วยกันคือ 1. ส่วนของการการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถใช้ถนนในมหาวิทยาลัยทั้งหมด 30 คน ด้วยกัน ซึ่งเป็นการสอบถามภายใต้กรอบคำถามที่ได้จากการกำหนดกรอบในงานวิจัยเบื้องต้น คือคำถามด้านระยะเวลาในการเดินทาง คำถามด้านความสะดวกสบาย และคำถามที่เกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายซึ่งในการสำรวจในส่วนนี้ทำให้ได้มาซึ่งรายละเอียดต่างๆในการออกแบบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนย่อย คือ ส่วนของระบบที่จอดรถ และระบบรถสาธารณะ และเนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการสัมภาษณ์แบบปลายเปิดส่งผลให้ผู้วิจัยทราบถึงปัจจัยที่ควรให้ความสำคัญในการดำเนินการวิจัยเพิ่มขึ้นอีก 1 ด้าน คือ ปัจจัยทางด้านความปลอดภัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ถูกสัมภาษณ์กล่าวถึงนอกเหนือจากกรอบงานวิจัยที่ได้ตั้งไว้ในเบื้องต้น 2. ส่วนของการวิจัยภาคสนาม ซึ่งผู้วิจัยได้นำเอาวิธีการ ซ้อนทับกลุ่มข้อมูลเชิงพื้นที่แบบกำหนดเงื่อนไข (Multi-Criteria Decision Analysis- MCDA) มาประยุกต์ใช้ในลักษณะของการซ้อนทับของผังการจราจรเพื่อหาปริมาณความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่เพื่อนำไปกำหนดตำแหน่งที่จอดรถ โดยจะประกอบไปด้วย ผังพื้นที่ว่างในมหาวิทยาลัย, ผังแสดงจำนวนปริมาณรถที่วิ่งผ่านในแต่ละ เส้นทาง, ผังแสดงจำนวนรถที่วิ่งผ่านบริเวณจุดตัดสำคัญ และผังแสดงจำนวนปริมาณรถที่จอดกีดขวางการจราจร 3. นำผลที่ได้จากทั้ง 2 ส่วนข้างต้น มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลร่วมกันเพื่อให้ได้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันของผู้ใช้สอยให้มากที่สุด แล้วนำผลที่ได้ไปใช้ในการดำเนินการออกแบบที่จอดรถและเส้นทางการเดินรถสาธารณะ โดยในส่วนของการออกแบบเส้นทางการเดินรถสาธารณะในมหาวิทยาลัยนั้น ผู้วิจัยได้นำเอาโปรแกรมการจำลองเส้นทางมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์สภาพการจราจรในมหาวิทยาลัย โดยเป็นการดำเนินการภายใต้ปัจจัยสำคัญของกรอบงานวิจัยคือ ระยะเวลาในการเดินทางผ่านจุดสำคัญต่างๆของมหาวิทยาลัย ซึ่งในแต่ละเส้นทางจะต้องเป็นเส้นทางที่สัมพันธ์กับตำแหน่งจุดจอดรถที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าในทุกๆส่วนของงานจราจรมีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการจราจรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นจำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่การแก้ปัญหาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่จำเป็นต้องแก้ไขและปรับปรุงไปพร้อมๆกันในทุกๆส่วนที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบจราจร ทั้งในส่วนของการออกแบบที่จอดรถ การออกแบบเส้นทางการเดินรถสาธารณะรวมไปจนถึงการออกแบบปรับปรุงเส้นทางการเดินเท้า หากกระทำการแก้ไขปัญหาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งอาจทำให้การแก้ปัญหาไม่ประสพผลสำเร็จได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดและมาตรการต่างๆที่นำมาใช้เพื่อการส่งเสริมแนวทางในการออกแบบอย่างเข้มงวด จึงจะทำให้การออกแบบนั้นเกิดผลประโยชน์สูงสุดได้en_US
Appears in Collections:ARC: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf10.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.