Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรองศาสตราจารย์ ดร.นิรมล อุตมอ่าง-
dc.contributor.authorไชยวัฒน์ ยวงสร้อยen_US
dc.date.accessioned2020-07-21T05:38:45Z-
dc.date.available2020-07-21T05:38:45Z-
dc.date.issued2015-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68925-
dc.description.abstractThe objective of the research was to study lesson learned chemical-free rice business for Chemical-Terminated Farmer Group, Pho Thong district, Ang Thong province. Study consumer behavior towards chemical-free rice. Study the opinions of consumer chemical-free rice to eat rice. The chemical-terminated farmers were launched group in 2009 with 2 members until 2015 with 28 numbers. The group was certificated by Pookpintokao project and Ang Thong Provincial Commercial Office for chemical-free rice producing. The purpose was to study 4M operation, nature and organic agriculture, chemical-free rice management, rice processing and distribution. Data from this study was collected into 2 parts. First, it was the depth-interview with 12 members of chemical-terminated farmer. The data was analyzed and summarized in descriptive table. It was found that knowledge management of the group used sufficiency economy to decrease budget in chemical-free rice producing. Farmers had shared knowledge the and also agricultural equipment They assembled the management of rice processing and distribution which was valuable for rice pricing and easy to catch consumers’ purchasing. These processes were lead farmers to the same direction. In the second part, it was survey by 200 questionnaires for observing general information of rice consumers, rice consumption behavior and opinion toward chemical-free rice. The results of observation showed that people used to consume brown rice with 76 %, some people always eat brown rice was 9.5 % and decide to ate by themselves with 48.5 %. The study also indicated that frequency of consumption was once a month with 43.5 %, 82.5 % consumed brown rice for healthy, 96.5 % interested in chemical-free rice. People received chemical-free rice information from television about 52 % and via internet 50 %. For the opinion people placed important to healthy rice product with average of 6.20±1.10 and price also important for consumers. Reasonable price the product was another important for consumer with average of 5.48±1.30. Consumers considered in distribution and prefer to buy rice from convenience store with average of 5.53±1.39. Last, people consider to product promotion such as buy 2 get 1 free with 5.36±1.57. Another result was the relation between consumer and rice behavior. It found that women paid attention to eating brown rice than men that included their consumption frequency. People in 31-45 years old had relation with behavior, rice buying decision and place to buy were the most. The age of consumers affected marketing mix of chemical-free rice product in pricing, distribution and promotion. In conclude lessons this the guidance of chemical-free rice business for Chemical-Terminated Farmer Group, Pho Thong district, Ang Thong province. Make a note consumer behavior to eat chemical-free rice. Make a note the opinions of rice to eat chemical-free rice. The data can be distributed to farmers who want to grow chemical-free rice processing and distribution of rice. Consumers of opinion consumers interested in chemical-free rice products.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวปลอดสารเคมีของกลุ่มทำนาเลิกเคมี อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองen_US
dc.title.alternativeGuidelines to Develop Chemical-free Rice Business of Chemical-Terminated Farmer Group, Pho Thong District, Ang Thong Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนธุรกิจข้าวปลอดสารเคมี ของกลุ่มทำนาเลิกเคมี อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการบริโภคข้าวปลอดสารเคมี ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริโภคข้าวต่อการบริโภคข้าวปลอดสารเคมี จากการรวมตัวของเกษตรกรจากปี พ.ศ. 2552 มีจำนวนสมาชิก 2 คน จนมาถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2558 ทางกลุ่มได้มีสมาชิกเพิ่มเป็น 28 คน และได้รับการรับรองจากโครงการผูกปิ่นโตข้าว และพาณิชย์จังหวัดอ่างทอง ในการผลิตข้าวแบบปลอดสารเคมี จะศึกษาเรียนรู้ในด้านการดำเนินงานด้าน 4M ด้านเกษตรธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ ด้านการจัดการผลิตข้าวปลอดสารเคมี ด้านการแปรรูปข้าวปลอดสารเคมี และด้านการจัดการจำหน่ายข้าวปลอดสารเคมี จะมีการรวบรวมข้อมูลดังนี้ ตอนที่ 1 การรวบรวมข้อมูลโดยการสร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือการศึกษาในครั้งนี้ เกษตรกรที่ให้สัมภาษณ์มีทั้งหมด 12 คน ซึ่งเป็น สมาชิกกลุ่มทำนาเลิกเคมี โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปมาในรูปแบบตารางเชิงพรรณนาพบว่า การจัดการองค์ความรู้ต่างๆของกลุ่มทำนาเลิกเคมี จะทำแบบเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งพาตัวเองเพื่อการลดต้นทุนในการผลิตข้าวปลอดสารเคมี การบริหารงานเกษตรกรภายในกลุ่มมีการแรกเปลี่ยนความรู้ต่อกัน มีการช่วยเหลือในด้านเครื่องมือในการทำงานต่อกัน มีการรวมตัวกันในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว มีการรวมตัวในการจัดจำหน่ายข้าวปลอดสารเคมี ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการกำหนดราคาขายข้าวและเพื่อง่ายต่อการขายข้าวแก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมีของทางกลุ่มไปในทิศทางเดียวกัน ตอนที่ 2 การสำรวจจากผู้บริโภคข้าวจากแบบสอบถาม จำนวน 200 ชุด ในด้านข้อมูลทั่วไปของผู้บริโภคข้าว พฤติกรรมการบริโภคข้าว และความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมีพบว่า ด้านพฤติกรรมการบริโภคข้าวกล้อง ส่วนใหญ่ผู้บริโภคเคยบริโภคข้าวกล้อง คิดเป็นร้อยละ 76.0 บริโภคข้าวกล้อง คิดเป็นร้อยละ 9.5 ตัดสินใจซื้อข้าวกล้องด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 48.5 ความถี่บริโภคข้าวกล้องน้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน คิดเป็นร้อยละ 43.5 บริโภคข้าวกล้องเพื่อสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 82.5 และมีความสนใจข้าวปลอดสารเคมี คิดเป็นร้อยละ 96.5 รับข่าวสารข้าวปลอดสารเคมีจากโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 52.0 รองลงมาคืออินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 50.0 ด้านความคิดเห็นให้ระดับความสำคัญของผู้บริโภคข้าวต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมี พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคข้าวให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมีดีต่อสุขภาพ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 6.201.10 ด้านราคาผู้บริโภคข้าวให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมี ด้านการกำหนดราคาขายเหมาะสมกับขนาดและชนิดของสินค้าข้าว มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 5.481.30 ด้านการจัดจำหน่ายผู้บริโภคข้าวให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมี ด้านมีการจำหน่ายข้าวในร้านสะดวกซื้อ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 5.531.39 ด้านการส่งเสริมการตลาดผู้บริโภคข้าวให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมี ด้านจัดโปรโมชั่นซื้อ 2 แถม 1 มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 5.361.57 ความสัมพันธ์ของผู้บริโภคกับพฤติกรรมบริโภคข้าว พบว่าเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคข้าว ความถี่การบริโภคข้าวกล้อง และความสนใจข้าวปลอดสารเคมี มากกว่าเพศชาย อายุ 31-45 ปี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมบริโภคข้าว การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง สถานที่ซื้อข้าวกล้อง มากที่สุด อายุผู้บริโภคข้าวมีผลต่อปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมี ในด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด สรุปการถอดบทเรียนครั้งนี้ได้แนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวปลอดสารเคมีของกลุ่มทำนาเลิกเคมี อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ทำให้ทราบพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการบริโภคข้าวปลอดสารเคมีทำให้ทราบความคิดเห็นของผู้บริโภคข้าวต่อการบริโภคข้าวปลอดสารเคมี และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวแบบปลอดสารเคมีการแปรรูปและการจัดจำหน่ายข้าวต่อไป ความคิดเห็นของผู้บริโภค ผู้บริโภคให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ข้าวปลอดสารเคมีen_US
Appears in Collections:GRAD-Humanities and Social Sciences: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf4.69 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.