Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68913
Title: ผลของปริมาณสารอัดแทรกอลูมินาที่แตกต่างกันเสริมในฐานฟันเทียมอะคริลิกต่อความแข็งแรงยึดดึงระหว่างซี่ฟันเทียมกับฐานฟันเทียม
Other Titles: Effect of Different Alumina Filler Amounts Reinforced into Acrylic Denture Base on Tensile Bond Strength between Denture Teeth and Denture Base
Authors: สิทธิเดช นิลเจริญ
พีรานุช ประหยัดทรัพย์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Authors: สิทธิเดช นิลเจริญ
พีรานุช ประหยัดทรัพย์
แมนสรวง อักษรนุกิจ
พิสัยศิษฎ์ ชัยจรีนนท์
Keywords: อลูมินา;ซี่ฟันเทียม;ฐานฟันเทียม;สารคู่ควบไซเลน;ความแข็งแรงยึดดึง;Alumina;Artificial Teeth;Denture Base;Silane Coupling Agent;Tensile Bond Strength
Issue Date: 2556
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), 71-80
Abstract: เพื่อศึกษาผลของปริมาณสารอัดแทรกอลูมินาที่แตกต่างกันเสริมในฐานฟันเทียมอะคริลิกต่อความแข็งแรงยึดดึงระหว่างซี่ฟันเทียมกับฐานฟันเทียม การศึกษานี้ใช้สารอัดแทรกอลูมินาทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 18-23 ไมครอนถูกปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนเอ็มพี่เอสปริมาณร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก เตรียมชิ้นตัวอย่างโดยนำสารอัดแทรกอลูมินาผสมรวมกับผงอะคริลิก ในสัดส่วนอลูมินาร้อยละ 5 10 และ 15 โดยน้ำหนัก ในกลุ่มควบคุมใช้ผงอะคริลิกไม่ผสมอลูมินาจากนั้นนำอะคริลิกทั้ง 4 กลุ่มอัดติดกับซี่ฟันเทียม แล้วบ่มด้วยความร้อนและตัดแต่งชิ้นงานเป็นรูปมินิคัมเบลล์ (กลุ่มละ 10 ชิ้น) แช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนทดสอบทดสอบความแข็งแรงยึดดึงโดยเครื่องทดสอบสากลความเร็วในการดึง 1 มิลลิเมตรต่อนาที นำค่าความแข็งแรงยึดดึงมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้สถิติชนิดความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดี่ยวและทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีแหมแฮน ผลการศึกษา จากผลการวิเคราะห์การคงอยู่ของซิลิกอนพบธาตุซิลิกอนติดอยู่บนพื้นผิวของสารอัดแทรกอลูมินา ค่าความแข็งแรงยึดดึงและค่าความแปปรวน (เมกกะปาสคาล) ในกลุ่มควบคุม กลุ่มเสริมอลูมินาร้อยละ 5, 10 และ 15 มีค่าเท่ากับ 25.4 (3.1), 26.5 (4.6), 22.8 (3.8) และ 18.4 (3.3) ตามลำดับ วิเคราะห์ทางสถิติพบว่าความแข็งแรงยึดดึงในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีค่ไม่แตกต่างกันทาง สถิติ ยกเว้นกลุ่มเสริมอลูมินาร้อยละ 15 มีค่าความแข็งแรงยึดดึงน้อยสุด โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.05 วิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ในทุกกลุ่มทดลองพบลักษณะการแตกหักเป็นชนิดยึดติด สรุปผลการศึกษาพบว่า การเสริมอลูมินาที่ถูกปรับปรุงพื้นผิวด้วยสารคู่ควบไซเลนปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 10 ลงในฐานฟันเทียมอะคริลิกไม่มีผลต่อค่าความแข็งแรงยึดดึงระหว่างซี่ฟันเทียมอะคริลิกกับฐานฟันเที่ยมอะคริลิก Objectives: The purpose of this study was to investigate the effect of different alumina filler amounts reinforced into acrylic denture base on tensile bond strength between denture teeth and denture base. Methods: Alumina filler, spherical-shaped with 18-23 µm in diameter (surface area of with 18-23 µm in diameter (surface area of 0.36 m2 /g), was silanized with 0.1 wt% of gammamethacryloxypropyltrime thoxysilane (MPS). The 5, 10 and 15 wt% of silanized alumina filler were mixed with heat-polymerized PMMA. Heat polymerized PMMA without reinforced alumina was served as control. All of 4 groups were packed with artificial denture teeth and prepared into dumbbell-shaped specimens (n=10). The speci-mens were immersed in distilled water at 37°C for 24 h prior to testing. The tensile bond strength test was performed using a universal testing machine (Instron 8872, Fareham, UK) with a 1mm/min crosshead speed until fracture. The bond strength was determined and analyzed by 1way-ANOVA and Tamhane’s test with a significance level of 0.05. Results: The EDS analysis showed the deposition of silicon element on the surface of alumina filler. The mean tensile bond strengths (SD) in MPa of control, 5, 10 and15 wt% groups were 25.4 (3.1), 26.5 (4.6), 22.8 (3.8) and 18.4 (3.3), respectively. From statistical analysis, the tensile bond strengths of all groups except in 15 wt% were not signi-ficantly different, while, in 15 wt% group was significantly small among each other. The failure mode of all of the specimens was adhesive failure. Conclusions: Within the limitations of this study, it can be concluded that addition of silanized alumina filler reinforced into PMMA denture base less than 10 wt% do not change tensile bond strength between PMMA denture base and denture teeth.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_2_333.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68913
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.