Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68904
Title: | ผลของการปรับสภาพพื้นผิวโดยใช้กรดกัดต่อความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์และอลูมินาอินซีแรม |
Other Titles: | The effect of acid etching surface treatment on the shear bond strength between resin cement and alumina In-ceram |
Authors: | นงนภานันท์ คำปินไชย เทพรัตน์ เขมาลีลากุล |
Authors: | นงนภานันท์ คำปินไชย เทพรัตน์ เขมาลีลากุล |
Keywords: | ความแข็งแรงยึดเฉือน;อลูมินาอินซีแรม;เรซินซีเมนต์;Shear bond strength;Alumina Inceram;Resin cement |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 34,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2556), 117-125 |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการปรับสภาพพื้นผิวโดยใช้กรดไฮโดรฟลูออริกต่อแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์ และเซรามิกชนิดอลูมินาอินซีแรม วัสดุและวิธีการ สร้างเซรามิกอลูมินาอินซีแรม 5 ชิ้น โดยแต่ละชิ้นใช้ทดสอบ 2 ตำแหน่ง (n-10) ในแต่ละกลุ่มการทดลอง ทำการปรับสภาพพื้นผิว 6 วิธี คือ กลุ่มที่ 1 เซรามิกที่ไม่ได้กำจัดแก้วส่วนเกิน กลุ่มที่ 2 เซรามิกที่ไม่ได้กำจัดแก้วส่วนเกินแล้วกัดด้วยกรุดไฮโดรฟลูออริก ความเข้มข้นร้อยละ 4 นาน 1 นาที กลุ่มที่ 3 เซรามิกที่เป๋าทรายเพื่อกำจัดแก้วส่วนเกิน กลุ่มที่ 4 เซรามิกที่เป๋กรายเพื่อกำจัดแก้วส่วนเกินแล้วกัดด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 4 นาน 1 นาที กลุ่มที่ 5 เซรามิกที่ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำจนถึงผิวอลูมินา และกลุ่มที่ 6 เซรามิกที่ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำจนถึงผิวอลูมินา แล้วกัดด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 4 นาน 1 นาที โดยทุกกลุ่มทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิกส์นาน 5 นาทีแล้วทาสารไซเลน จากนั้นนำชิ้นงานทดสอบไปยึดติดกับเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์ เออาร์ซี 2 ตำแหน่งแล้วนำชิ้นงานไปทดสอบด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอนความเร็วหัวกด 0.5 มม./นาที โดยวัดแรงเฉือนที่ทำให้เรชินซีเมนต์หลุดออกจากเซรามิก นำค่าแรงไปคำนวณค่าสถิติด้วยอโนวาทางเดียวและทูกีย์ ผลการทดลอง เซรามิกที่ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำจนถึงผิวอลูมินาให้ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนสูงสุดรองลงมาคือกลุ่มที่เปาทรายเพื่อกำจัดแก้วส่วนเกิน ซึ่งสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)เมื่อใช้กรดไฮโดรฟลูออริกปรับสภาพพื้นผิว พบว่ามีค่าความแข็งแรงยึดเฉือนที่ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้กรดไฮโดรฟลูออริกปรับสภาพพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p<0.05) สรุป การใช้กรดไฮโดรฟลูออริกในการปรับสภาพพื้นผิว มีผลทำให้ความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเรซินซีเมนต์กับอลูมินาอินซีแรมลดลง Purpose: The purpose of this study was to evaluate the effect of surface treatment by hydrofluoric acid etching on the shear bond strength between resin cement and alumina Inceram. Materials and Methods: Five alumina InCeram samples were used for each experimental group. Two positions of each sample were tested (n=10). The samples were assigned to six surface treatment conditions: group I; excess glass was not removed, group II; excess glass was not removed but etched with 4% hydrofluoric acid gel for 1 minute, group III; excess glass was removed by sandblast, group IV; excess glass was removed by sandblast and then etched with 4% hydrofluoric acid gel for 1 minute, group V; the samples were polished with sandpaper until alumina surface was exposed and group VI; the samples were polished with sandpaper until alumina surface was exposed and then etched with 4% hydrofluoric acid gel for 1 minute. All samples were cleaned with ultrasonic for 5 minutes and then silane was applied onto the cleaned surface. Each of the samples were then bonded at two positions with Rely X ARC resin cement. The shear bond strengths of each position were tested using the universal testing machine with cross head speed of 0.5 mm/min to measure the stress (MPa) which pushed the resin cement out of the ceramics. The means of bond strength were statistically analysed using one-way ANOVA and Tukey test. Results: The mean shear bond strength was highest in the group polished with sandpaper until alumina surface was exposed, followed by the group which excess glass was removed by sandblast. Those shear bond strengths were significantly higher than that of the others (p< 0.05). The shear bond strength of the groups treated with 4% hydrofluoric acid treated with 4% hydrofluoric acid gel were gel were significantly lower than that of the untreated groups. (p< 0.05). Conclusion: Surface treatment by hydrofluoric acid etching decreases the shear bond strength between resin cement and alumina Inceram. |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2556_34_1_314.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68904 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.