Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68894
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะen_US
dc.contributor.authorนภาพร อัจฉริยะพิทักษ์en_US
dc.contributor.authorกฤษณา ตรีไพบูลย์en_US
dc.contributor.authorปนัญม์พร นุติธีระวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2020-07-16T07:36:47Z-
dc.date.available2020-07-16T07:36:47Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 135-143en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_35_2_365.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68894-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงยึด ติดแบบกดออกเฉลี่ยระหว่างเรซินซีเมนต์ชนิดวาริโอลิงค์ ทู (Variolink® II) ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบโททอลเอทช์ และเรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์ ออโตมิกซ์ (Multilink Automix®) ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์กับคลอง รากฟัน 3 ระดับคือ ส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลาย โดย นำฟันกรามน้อยล่างที่มี 1 คลองรากฟัน จำนวน 30 ซี่ ตัด ตัวฟันออกให้ตั้งฉากกับแนวแกนฟัน ที่ระดับเดียวกับรอย ต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟัน ด้านใกล้กลางของรากฟัน ขยายคลองรากฟันด้วยเกลียวคว้านคลองรากฟันเบอร์ 2 จากนั้นใช้เกลียวคว้านคลองรากฟันเบอร์ 2 ของไฟบริเคลียร์ (Fibre kleer® reamer) ความลึก 10 มิลลิเมตร แบ่งรากฟันที่เตรียมไว้ด้วยการสุ่มเป็น 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 15 ซี่ กลุ่มที่ 1 ยึดเดือยฟันเส้นใยด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดวาริ โอลิงค์ ทูร่วมกับสารยึดติดระบบโททอลเอทช์ และกลุ่มที่ 2 ยึดเดือยฟันเส้นใยด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์ออโตมิกซ์ ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ จากนั้นยึดรากฟันที่ยึด เดือยฟันเส้นใยลงในแท่งพลาสติกอีพอกซีเรซิน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง นำไปตัดแบ่งรากฟันด้วยเครื่องไอโซเมต (Isomet 1000: Buehler, USA) เป็น 3ส่วนคือ ส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลาย โดยแต่ละชิ้นมีความหนา 1.0±0.1 มิลลิเมตร แล้วนำมาวัดค่าความแข็งแรงกดออก ด้วยเครื่องทดสอบ สากลชนิดอินสตรอน (Instron® Universal Testing Machine, Instron 5566 Series, USA) ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบสองทางร่วมกับวิเคราะห์เชิงซ้อนด้วยวิธีทูกีย์ พบว่ากลุ่มทดลองที่ใช้เรซินซีเมนต์ร่วมกับสารยึดติดระบบ โททอลเอทช์ ในคลองรากฟันส่วนต้นมีค่าความแข็งแรง กดออกเฉลี่ยมากกว่าคลองรากฟันส่วนกลางและส่วนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองที่ใช้เรซินซีเมนต์ ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ในคลองรากฟันส่วนต้น ส่วนกลาง และส่วนปลาย มีค่าความแข็งแรงกดออกเฉลี่ย ลดลงตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ความ เชื่อมั่นร้อยละ 95 ภายใต้ข้อจำกัดของการศึกษานี้สรุปได้ ว่าเมื่อใช้เรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบโททอล เอทช์หรือสารยึดติดระบบเซลฟ์เอทช์ พบว่าความแข็งแรง กดออกเฉลี่ยในคลองรากฟันส่วนต้นมีค่ามากกว่าในคลอง รากฟันส่วนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต The purpose of this study was to compare mean push-out bond strength between total-etch and self-etch adhesive systems with resin cements (Variolink® II, Multilink Automix®) in different root canal regions; coronal, middle and apical. Thirty single-canal lower premolars were cut perpendicular to long axis at mesial CEJ level. Peeso reamers No. 2 were used to prepare all canal surfaces following by post reamer No. 2 of Fibre kleer® set with 10 mm. The specimens were randomly divided into two groups of fifteen (n=15). Group 1 fiber posts were cemented with resin cement (Variolink® II) combined with total-etch adhesive system and group 2 fiber posts were cemented with resin cement (Multilink Automix®) combined with self-etch adhesive system, then all cemented root were embedded with epoxy resin block. After 24 hours all specimens were cut into 3 sections, coronal, middle and apical which each section had 1.0±0.1 mm. in height. The push-out bond strength was measured with Instron® Universal Testing Machine with a cross-head speed 0.5 mm/min and the data was analyzed by twoway ANOVA and Tukey’s test (p< 0.05). The result showed that in the total-etch adhesive system group, the mean push-out bond strength of coronal part was significantly higher than the middle and apical parts. In self-etch system group, the mean push-out bond strength of coronal, middle and apical part were significantly different. In addition, the mean push-out bond strength of resin cement with self-etch adhesive system at apical part was found to be the lowest bond strength.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความแข็งแรงกดออกen_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.subjectระบบสาร ยึดติดen_US
dc.subjectpush-out bond strengthen_US
dc.subjectresin cementen_US
dc.subjectadhesive systemen_US
dc.titleความแข็งแรงกดออกของเรซินซีเมนต์ร่วมกับสารยึดติดระบบโททอลเอทช์และเซลฟ์เอทช์ในคลองรากฟันระดับต่างๆen_US
dc.title.alternativePush-out bond strength of total-etch and self-etch adhesive systems with resin cements in different regional root canal dentinen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.