Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68886
Title: | ผลของความลึกในการกรอเนื้อฟันต่อความแข็งแรงของสารยึดติดในฟันตัดน้ำนมในสภาวะนอกกาย |
Other Titles: | Effects of Dentin Depth on Adhesive Bond Strength in Primary Incisors in vitro |
Authors: | สิริกานต์ จันทร์ประเสริฐ วริศรา ศิริมหาราช สิทธิชัย วนจันทรรักษ์ |
Authors: | สิริกานต์ จันทร์ประเสริฐ วริศรา ศิริมหาราช สิทธิชัย วนจันทรรักษ์ |
Keywords: | ความลึกของการกรอตัดเนื้อฟัน;ความทนแรงดึงเล็ก;แรงดันภายในโพรงในตัวฟัน;ฟันน้ำนม |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2557), 69-81 |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของความลึก ในการกรอเนื้อฟันต่อความแข็งแรงของสารยึดติดในฟัน ตัดน้ำนมภายใต้การจำลองแรงดันภายในโพรงในตัวฟัน ในสภาวะนอกกาย นำฟันน้ำนมหน้าล่างจำนวน 36 ซี่ มา ทำการทดลองภายหลังการถอนฟันภายใน 24 ชั่วโมง แบ่ง ฟันโดยวิธีสุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ตามความลึกของการกรอ ฟันต่ำกว่ารอยต่อเนื้อฟัน–เคลือบฟัน 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตร กรอตัดฟันจากปลายฟันลงมาตามความลึกของ แต่ละกลุ่ม ยึดแท่งเรซินคอมโพสิตปลายเรียบขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร กับผิวฟันที่ถูกตัดด้วยโฟล เอเบิล คอมโพสิตภายใต้การจำลองแรงดันภายในตัวฟัน 15 เซนติเมตรน้ำ เก็บตัวอย่างในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง แล้วนำมาทดสอบความทน แรงดึงเล็กด้วยเครื่องยูนิเวอร์ซัลเทสติ้งแมชชีน หากค่า p value<0.5 แสดงว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญความทนแรงดึงเล็ก±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่ม 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิเมตรจากรอยต่อเนื้อฟัน–เคลือบฟัน มีค่าเท่ากับ 10.78±1.20, 6.97±0.78 และ 3.57±1.05 เมกะปาสคาล ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าความทนแรงดึง เล็กระหว่างสารยึดติดกับเนื้อฟันลดลงอย่างมีนัยสำคัญในฟันที่มีเนื้อฟันระดับลึกกว่า ที่ระดับ p<0.001 จากข้อมูลที่ ได้ แนะนำว่าเมื่อมีการจำลองแรงดันภายในโพรงในตัวฟันความทนแรงดึงเล็กระหว่างสารยึดติดกับเนื้อฟันระดับตื้นมีค่าสูงกว่าความทนแรงดึงเล็กระหว่างสารยึดติดกับเนื้อฟันระดับลึกกว่า The objective of this study was to investigate the effects of different dentin depths on the microtensile bond strength of a dentin adhesive in primary incisors under simulated intrapulpal pressure in vitro. Thirty-six mandibular primary incisors were collected immediately after extraction and studied within 24 hours. The samples were randomly divided into three groups. The incisal edges were cut to depths of 1.0, 1.5 and 2.0 mm below the DEJ for Groups 1, 2 and 3, respectively. A composite rod with a 1 mm-diameter flat tip was fixed to the cut surface of the tooth, using flowable composite resin under simulated pulpal pressure of 15 cmH2O. The samples were stored in distilled water at 37°C for 24 hours. The microtensile bond strength was tested in a UTM. The p value less than 0.05 was considered significant. The mean ± SD microtensile bond strength values of the three groups tested at 1.0 mm, 1.5 mm, and 2.0 mm of dentin depth were 10.78±1.20, 6.97±0.78, and 3.57±1.05 MPa, respectively. The data revealed that the microtensile bond strength between dentin and adhesive decreased significantly in deeper dentin (p<0.001). This study found that bonding to superficial dentin obtained higher microtensile bond strength than did bonding to deeper dentin under simulation of intrapulpal pressure. |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_35_2_360.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68886 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.