Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68871
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกิติยา กังคะพิลาศen_US
dc.contributor.authorวัลลภัทน์ แสนทวีสุขen_US
dc.date.accessioned2020-07-16T07:36:46Z-
dc.date.available2020-07-16T07:36:46Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 35,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2557), 51-61en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2557_35_1_344.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68871-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลของการปรับสภาพพื้นผิว ทางเคมีของฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิก ชนิดบ่มด้วยความ ร้อน ต่อความแข็งแรงการยึดติดกับวัสดุเรซินเสริมฐานชนิด แข็งโทคุยามารีเบสทู วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: เตรียมชิ้นงานเรซินอะคริลิก ชนิดบ่มด้วยความร้อนเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลาง 16±1 มิลลิเมตร หนา 15±1 มิลลิเมตร จำนวน 120 ชิ้น แบ่งเป็น 8 กลุ่มๆ ละ 15 ชิ้น ตามวิธีการปรับสภาพ พื้นผิวทางเคมีที่แตกต่างกันดังนี้ 1) ไม่ปรับสภาพพื้นผิว (กลุ่มควบคุม) 2) สารยึดติดของโทคุยามารีเบสทู 3) มอนอเมอร์ของยูนิฟาสท์แทรด 4) มอนอเมอร์ของยูนิฟาสท์แทรด ร่วมกับสารยึดติด 5) มอนอเมอร์ของโทคุยามารีเบสทู 6) มอนอเมอร์ของโทคุยามารีเบสทูร่วมกับสารยึดติด 7) สารละลายของเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซีเตต 8) สารละลายของเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซีเตต ร่วมกับสารยึดติด หลังปรับสภาพพื้นผิว ใส่วัสดุเรซินเสริมฐานโดยมี พื้นที่ยึดติดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มม. และบ่มตัวที่ 37±1 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 8 นาที แล้วนำไปแช่น้ำกลั่น 24 ชั่วโมง ก่อนการทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่อง ทดสอบสากล วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการทดสอบทูคีย์ที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงยึดเฉือน ของกลุ่มที่ไม่ใช้สารยึดติดมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญ (p>0.05) กลุ่มที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยสารละลาย ของเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซีเตต ร่วมกับสารยึดติดมี ค่าความแข็งแรงยึดเฉือนสูงกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) บทสรุป: การใช้สารยึดติดมีความจำเป็นในการปรับ สภาพพื้นผิวก่อนเสริมฐานด้วยโทคุยามารีเบสทู การใช้ สารละลายของเมทิลฟอร์เมตและเมทิลอะซีเตตร่วมกับสาร ยึดติดช่วยเพิ่มความแข็งแรงการยึดติดของวัสดุเสริมฐาน Purpose: This study evaluated the influence of chemical surface treatment of a heat-cured acrylic resin denture base on bond strength of a hard reline resin (Tokuyama Rebase II). Materials and methods: Heat-cured acrylic resin disks (n=120), 16±1 mm in diameter and 15±1 mm thick, were fabricated and divided into 8 groups (n=15) with different surface treatments: 1) no treatment (control) 2) adhesive of Tokuyama Rebase II 3) monomer of Unifast Trad 4) monomer of Unifast Trad + adhesive 5) monomer of Tokuyama Rebase II 6) monomer of Tokuyama Rebase II + adhesive 7) solution of methyl formate and methyl acetate 8) solution of methyl formate and methyl acetate + adhesive. After chemical treatment, the reline resin was applied to the bonding area (5 mm diameter) and polymerized at 37±1°C for 8 minutes. Bonded specimens were immersed in distilled water for 24 hours before testing. Shear bond strength tests were performed using a Universal testing machine. Data were statistically analyzed using one-way ANOVA and Tukey’s HSD test at 0.05 significance level. Results: The mean shear bond strengths of the groups without adhesive were not significantly different. (p>0.05) The surface treatment with solution of methyl formate and methyl acetate and the adhesive had significantly greater bond strength than those of the others (p<0.05). Conclusion: The adhesive is needed to treat surface of the denture base before relining with Tokuyama Rebase II. The use of solution of methyl formate and methyl acetate combined with the adhesive could help increase the bond strength.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการปรับสภาพพื้นผิวen_US
dc.subjectความแข็งแรงการยึดติด เสริมฐานen_US
dc.subjectฐานฟันเทียมen_US
dc.subjectSurface treatmenten_US
dc.subjectBond strengthen_US
dc.subjectRelineen_US
dc.subjectDenture baseen_US
dc.titleผลของการปรับสภาพพื้นผิวฐานฟันเทียมเรซินอะคริลิกชนิดบ่มด้วยความร้อนด้วยสารเคมีต่อความแข็งแรงการยึดติดกับเรซินเสริมฐานen_US
dc.title.alternativeEffect of chemical surface treatment on bond strength of a heat-cured acrylic resin denture base and a reline resinen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.