Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68865
Title: บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฎิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน : กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน 4 แห่งในจังหวัดลำปาง
Other Titles: Practical Roles of Dental Therapist Working at District Hospital : A Case Study of Four District Hospitals in Lampang Province
Authors: ศศิธร ไชยประสิทธิ์
ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา
Authors: ศศิธร ไชยประสิทธิ์
ชัยพฤกษ์ ตั้งจิตคงพิทยา
Keywords: บทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริง;ทันตาภิบาล;โรงพยาบาลชุมชน;Practical Roles Dental;Therapist;District Hospital
Issue Date: 2558
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 145-159
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน โดยทำการศึกษาในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วยทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 15 คน อาจารย์จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จำนวน 2 คน เลขานุการสมาคมทันตาภิบาล จำนวน 1 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ในระหว่างเดือนเมษายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2557 จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาล ที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชน มีความเกี่ยวข้องกับความไม่ชัดเจนของทั้งนโยบายกระทรวงสาธารณสุขและการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการและทักษะฝีมือของทันตาภิบาลจากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความไม่ชัดเจนหรือไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงดังกล่าวส่งผลให้บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่ปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาลชุมชนขึ้นกับเงื่อนไขและข้อกำหนดในระดับจังหวัดและระดับโรงพยาบาล โดยเงื่อนไขในระดับจังหวัดคือวัฒนธรรมการทำงานตามนโยบายส่วนกลางอย่างเคร่งครัดและการติดตามงานผ่านตัวชี้วัด ส่วนเงื่อนไขในระดับโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องคือแนวคิดในการบริหารงานของฝ่ายทันตสาธารณสุขของแต่ละโรงพยาบาล ที่สำคัญคือ การบริหารกำลังคนภายใต้จำนวนและประสบการณ์ของทันตบุคลากร การบริหารครุภัณฑ์โดยเฉพาะเก้าอี้ทันตกรรม ตลอดจนปริมาณคนไข้ที่มารับบริการในแต่ละวัน นอกจากนี้ทันตาภิบาลยังให้ความเห็นว่าการเตรียมความพร้อมจากหลักสูตรทันตาภิบาลไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน และตนเองมีความเสี่ยงทางกฎหมายในการให้บริการรักษาทางทันตกรรม ภายใต้ความไม่มั่นคงและบทบาทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทันตาภิบาลมีการปรับตัวเองในการปฏิบัติงานที่แตกต่างหลากหลาย ทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเอง เรียนรู้ผ่านทันตบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่าในฝ่ายทันตกรรม การเข้าร่วมประชุมวิชาการ การศึกษาต่อเนื่องและมีการรวมกลุ่มกันระหว่างทันตาภิบาลด้วยกันเพื่อช่วยเหลือกันทั้งในชีวิตประจำวันและเพื่อต่อรองความก้าวหน้าในวิชาชีพในฐานะสมาชิกของสมาคมทันตาภิบาล การศึกษาครั้งนี้จึงมีข้อเสนอให้มีการกำหนดบทบาท ที่ชัดเจนของทันตาภิบาล รวมทั้งมีการปรับหลักสูตรเพื่อ เตรียมความพร้อมของทันตาภิบาลให้สอดคล้องกับการ ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ รวมทั้งการจัดการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับทันตาภิบาลหลังจากจบไปฝึกปฏิบัติงาน ทั้งในช่วง ระหว่างการทำงาน ระดับปริญญาตรีและหลังปริญญา The objective of this descriptive research was to understand practical roles of dental therapists who had been working at district hospitals in Lampang Province. Semi-structured interviews were conducted with fifteen dental therapists working at district hospitals, two lecturers from Sirindhorn College of Public Health and a secretary of Dental Auxiliary Association. Data were collected from April to August 2014 and analyzed by using content analysis. The result revealed two crucial conditions affected practical roles of dental therapists at District Hospital, which are unclear public health policy from Ministry of Public Health and dynamic change of curriculum for dental therapist provided by Sirindhorn College of Public Health. Practical roles of dental therapists were therefore highly depended on policy and regulation of provincial public health office and district hospitals. In Lumpang province, dental therapists had to work and be precisely monitored by using indicators set up from the Ministry of Public Health. They were also assigned variety of roles and responsibilities and regulated by the district hospitals. These roles could be classified into two types, according to their major task. These were treatment-based service and prevention-based service including oral health promotion. Moreover, dental therapists perceived inadequate knowledge and skill trained by Sirindhorn College of Public Health. They also felt legally insecure while providing dental treatment. Dental therapists adapted to those unstable roles and responsibilities by self-learning during routine practice, learning from experienced dental therapists or dentists, participating in academic conferences, enrolling continuing educations, and forming their group supports both in daily life and as members of Dental Auxiliary Association. The study indicated that public health policy for distinct role and responsibility of dental therapists were needed. Obtaining this obvious policy, the curriculum relating to practical roles of dental therapists could be well addressed.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_397.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68865
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.