Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68864
Title: ความยาวกระดูกสไตลอยด์ที่ยาวผิดปกติจากภาพรังสีปริทรรศ์แบบดิจิทัล
Other Titles: Elongated Styloid Process Detected on Digital Panoramic Image
Authors: วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล
ชัยธร วิพันธ์พงษ์
มานา นราธิปกร
มัณฑนา ศักดิ์ชลาธร
นิรดา อินทร์สุข
นิธิวัฒน์ จุลสินธนาภรณ์
ภัทรมน ภิญโญเมธากุล
ปวีณสุดา กณาพันธ์
พิสุทธิ์ พินิจวัฒน
วริศรา ศุภณาฤกษ์
Authors: วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล
ชัยธร วิพันธ์พงษ์
มานา นราธิปกร
มัณฑนา ศักดิ์ชลาธร
นิรดา อินทร์สุข
นิธิวัฒน์ จุลสินธนาภรณ์
ภัทรมน ภิญโญเมธากุล
ปวีณสุดา กณาพันธ์
พิสุทธิ์ พินิจวัฒน
วริศรา ศุภณาฤกษ์
Keywords: ความยาวผิดปกติของกระดูกสไตลอยด์;การถ่าย ภาพรังปริทรรศน์;กลุ่มอาการอีเกิล;elongated styloid process;panoramic radiography;Eagle’s syndrome
Issue Date: 2558
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 57-67
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะภาพรังสีและคลินิกของความผิดปกติของกระดูกสไตลอยด์ที่ตรวจพบจากภาพรังสีปริทรรศน์แบบดิจิทัลในผู้ป่วยไทยกลุ่มหนึ่งที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป วัสดุและวิธีการ: ศึกษาจากภาพรังสีปริทรรศน์ของผู้ป่วยแบบย้อนหลังจำนวน 2100 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปทั้งสองเพศที่มาทำการตรวจรักษาที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ช่วงปี 2548-2556 การศึกษากระทำโดยการดูรูปร่าง รูปแบบของความยาวกระดูกสไตลอยด์ที่ผิดปกติ และทำการวัดโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์โรเมกซิส โดยมีนักศึกษาทันแพทย์จำนวนสองคนร่วมกันทำการสังเกตและการวัดภายใต้การดูแลของรังสีทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี การวัดและการศึกษาจะกระทำโดยผ่านจอมอนิเตอร์ ส่วนลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับความยาวผิดปกตินั้นจะทำการตรวจย้อนหลังจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย ข้อมูลต่างๆ จะถูกบันทึกและนำมาทดสอบค่าทางสถิติด้วยวิธีทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 278 คนจะพบความยาวผิดปกติของกระดูกสไตลอยด์ โดยบางคนอาจพบข้างเดียวหรือพบทั้งสองข้างรวมกันทั้งสิ้น 442 ตำแหน่งคิดเป็นร้อยละ 10.52 และมักพบมากที่สุดในผู้ป่วยในช่วงอายุ 20-29 ปี ทั้งสองเพศ และพบผู้ป่วยชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย เมื่อทดสอบทางค่าสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งอายุและเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความยาวของกระดูกสไตลอยด์ที่วัดได้จะอยู่ในช่วง 30.10-82.90 มิลลิเมตร โดยมีค่าเฉลี่ย 37.20 มิลลิเมตร ลักษณะรูปร่างที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะเรียวเล็กร้อยละ 55.20 เป็นแท่งร้อยละ 31.45 และไม่สามารถกำหนดรูปร่างได้ ร้อยละ13.35 ตามลำดับ ส่วนอาการผิดปกติทางคลินิกที่มีความสัมพันธ์กับความยาวผิดปกติของกระดูกสไตลอยด์นั้นพบได้น้อยมาก สรุป: จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าความยาวผิดปกติของกระดูกสไตลอยด์จากภาพรังสีปริทรรศน์แบบดิจิทัลนั้นมีประมาณร้อยละสิบ ที่พบส่วนใหญ่ในประชากรอายุน้อยโดยส่วนมากจะเป็นเพศชายและความยาวตลอดจนรูปร่าง ที่ตรวจพบจะมีลักษณะหลากหลาย การตรวจพบความผิดปกติดังกล่าวจากภาพรังสีจะไม่มีความสัมพันธ์กับการที่ตรวจพบทางคลินิกแต่อย่างใด Objective: The purpose of this study was to evaluate the clinical and radiological findings of elongated styloid processes that appear in panoramic images of the Thai population over 20 years of age. Materials and Methods: The panoramic images of 2,100 patients over 20 years of age at Rangsit University, were studied. The configuration and dimension of the styloid processes were observed and measured by two observers. Demographic data, medical and dental history were also retrospectively recorded. Chi square test was used for the statistic analysis. Results: Elongated styloid processes were observed in 278 individuals with 442 processes (10.52%) and mostly found in the age group 20- 29 years and male patients were dominated. There was no statistically significant between the gender and age group. The length of the processes were varied from 30.10 millimeters to 82.90 millimeters (mean 37.20 millimeters). They displayed taper shape 55.20%, rod 31.45% and irregular 13.35%. Rarely cases were reported to have varieties of clinical findings. Conclusion: From our study, the elongated styloid processes were found about 10% of the population that mostly presented in young population with male patients were dominated. They displayed varieties of configuration and length. Most of image findings were not related to clinical findings and systemic conditions.
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_389.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68864
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.