Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68861
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สั่งสม ประภายสาธก | en_US |
dc.contributor.author | อะนัฆ เอี่ยมอรุณ | en_US |
dc.contributor.author | ชนธีร์ ชิณเครือ | en_US |
dc.contributor.author | จิรัฏฐ์ เมธะพันธุ์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัชพล จมูศรี | en_US |
dc.contributor.author | สุรวุฒน์ พงษ์ศิริเวทย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2020-07-16T07:36:42Z | - |
dc.date.available | 2020-07-16T07:36:42Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.citation | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 89-97 | en_US |
dc.identifier.issn | 0857-6920 | en_US |
dc.identifier.uri | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_1_384.pdf | en_US |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68861 | - |
dc.description | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม | en_US |
dc.description.abstract | โอดอนโทเจนิกไฟโบรมาชนิดที่พบในกระดูก จัดเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่มีเซลล์ต้นกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฟันที่พบได้น้อย คือพบไม่เกินร้อยละ 1.5 ของเนื้องอกชนิดนี้ทั้งหมด โดยมีเซลล์ต้นกำเนิด มาจาก มีเซนคายล์ที่สัมพันธ์กับการสร้างฟัน ได้แก่ เอ็นยึดปริทันต์ ปุ่มเนื้อกำเนิดฟัน และ ถุงหุ้มหน่อฟัน กรณีศึกษา ผู้ป่วยในครั้งนี้เป็นผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 52 ปี มาด้วยอาการนำที่สำคัญคือ เหงือกล่างด้านขวาบวม ภาพรังสีแพโนรามาและภาพรังสีโคนบีมซีทีแสดงรอยโรคโปร่งรังสีหลายวงขนาดใหญ่ที่มีผนังกั้นห้องมีลักษณะบาง และมีขอบเขต ของโรคค่อนข้างชัดเจนร่วมกับการมีก้อนทึบรังสีรูปร่างไม่แน่นอนกระจายอยู่ภายในรอยโรคในบริเวณขากรรไกรล่างด้านขวา และพบมีการขยายขนาดของกระดูกทั้งทางด้านแก้มและด้านลิ้น ผลการตรวจทางจุลพยาธิวิทยายืนยันว่าเป็นเนื้องอกโอดอนโทเจนิกไฟโบรมาที่พบในกระดูก ชนิด WHO ซึ่งกรณีศึกษาที่นำเสนอนี้เป็นการรายงานผู้ป่วย 1 จาก 3 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้จากการสำรวจ ข้อมูลที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2551-2556) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 0.14 จากจำนวนชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจทั้งหมด 2,221 ราย ก้อน เนื้องอกถูกควักออกอย่างง่ายภายใต้การดมยาสลบ การ ติดตามประเมินผลที่ 5 เดือนหลังการผ่าตัดไม่พบการกลับ มาเป็นใหม่ของโรค โดยสรุป การศึกษานี้เป็นการรายงาน กรณีศึกษาของผู้ป่วยที่พบเนื้องอกโอดอนโทเจนิกไฟโบรมาในกระดูกขากรรไกรล่าง ที่พบที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่พบได้น้อยมาก ลักษณะทางคลินิก ภาพรังสี และจุลพยาธิวิทยาของรอย โรคในผู้ป่วยรายนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่เคยมีมาจาก การทบทวนวรรณกรรม Central odontogenic fibroma is a rare benign odontogenic tumor, representing less than 1.5% of all odontogenic tumors. The tumor derives from mesenchymal tissue of dental origin, such as periodontal ligament, dental papilla, or dental follicle. Our case report is of a 52-year-old female, with a chief complaint of a bony hard swelling on her right gum. Panoramic and cone-beam CT imaging reveal a large, well-defined multilocular radiolucent lesion with wispy septa on the right posterior mandible, including numerous foci of irregular radiopaque masses within the lesion. Buccal and lingual bone expansion is seen. Biopsy confirmed central odontogenic fibroma, WHO type. Our c ase report was one of only three cases diagnosed as central odontogenic fibroma in a 5-year survey (2009-2013) of the Faculty of Dentistry, Chiang Mai University, and represented only 0.14% of 2,221 biopsy specimens. Simple enucleation of the lesion was performed under general anesthesia. A 5-months follow-up showed no recurrence of the lesion. In conclusion, our case study of central odontogenic fibroma in the mandible is a rare case found at our faculty. It was similar to previousreportedcasesfromthe literatures,inclinical, radiological and histological features. | en_US |
dc.language.iso | Tha | en_US |
dc.publisher | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | เนื้องอกโอดอนโทเจนิก | en_US |
dc.subject | โอดอนโทเจนิกไฟโบรมา ในกระดูก | en_US |
dc.subject | ภาพรังสีแพโนรามา | en_US |
dc.subject | ภาพรังสีโคนบีมซีที | en_US |
dc.subject | odontogenic tumor | en_US |
dc.subject | central odontogenic fibroma | en_US |
dc.subject | panoramic radiograph | en_US |
dc.subject | cone-beam CT | en_US |
dc.title | เนื้องอกโอดอนโทเจนิกไฟโบรมาที่พบในกระดูก: รายงานผู้ป่วย | en_US |
dc.title.alternative | Central Odontogenic Fibroma: A Case Report | en_US |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.