Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68859
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะen_US
dc.contributor.authorพิริยา พันธุ์ไพศาลen_US
dc.date.accessioned2020-07-16T07:36:42Z-
dc.date.available2020-07-16T07:36:42Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2558), 81-88en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_2_391.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68859-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่าง เซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟันส่วนตัวฟันที่เตรียม ผิวฟันด้วยสารยึดติดเซลฟ์เอตช์แบบขั้นตอนเดียว ใช้ฟัน กรามน้อยจำนวน 50 ซี่ กรอตัดรากฟันออกที่บริเวณรอย ต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน กรอตัดตัวฟันในแนวแก้มลิ้น ได้ชิ้นงานฟันส่วนใกล้กลางและชิ้นงานฟันส่วนไกลกลาง จำนวน 100 ชิ้น ตัดตัวฟันด้านใกล้แก้มในแนวใกล้กลางไกลกลางห่างจากรอยต่อเคลือบฟันและเนื้อฟัน 1 มิลลิเมตร ใช้เทปกาวด้านเดียวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตรติด บริเวณด้านใกล้แก้มที่ใช้ทดสอบ ยึดติดแท่งเรซินคอมโพสิต บนเนื้อฟันด้วยเรซินซีเมนต์ตามคำแนะนำของบริษัท โดย แบ่งชิ้นงานออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 20 ชิ้นโดยวิธีสุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม ยึดชิ้นงานด้วยพานาเวียเอฟ 2.0 กลุ่มที่ 2 ยึดชิ้นงานด้วยรีไลเอกซ์ ยูร้อย กลุ่มที่ 3 เตรียม ผิวฟันด้วยสารยึดติดแอดเปอร์ อีซี่วัน แล้วยึดชิ้นงานด้วย รีไลเอกซ์ ยูร้อย กลุ่มที่ 4 ยึดชิ้นงานด้วยแมกเซม อีลิท กลุ่มที่ 5 เตรียมผิวฟันด้วยสารยึดติด ออฟติบอนด์ ออลอิน วัน แล้วยึดชิ้นงานด้วยแมกเซม อีลิท นำชิ้นงานทั้งหมดไป แช่ในอ่างน้ำกลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนำไปทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนด้วยเครื่อง ทดสอบอินตรอน 5566 ที่ความเร็วหัวกด 0.5 มิลลิเมตรต่อ นาที นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ทางสถิติเปรียบเทียบ ความแข็งแรงยึดเฉือนโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดีย และทดสอบเชิงซ้อนด้วยวิธีทูกี้ย์ พบว่าค่า ความแข็งแรงยึดเฉือนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ใช้ สารยึดติดแอดเปอร์ อีซี่วัน แล้วยึดชิ้นงานด้วยรีไลเอกซ์ ยูร้อย ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ภายใต้ข้อจำกัดของการทดลองนี้พบว่าค่าความแข็งแรงยึดเฉือนกลุ่มที่ทำการเตรียมผิวฟันด้วยสารยึดติดชนิดเซลฟ์ เอตช์แบบขั้นตอนเดียวแล้วยึดชิ้นงานด้วยเซลฟ์ แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เตรียมผิวฟันก่อนการยึดชิ้นงานด้วยเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์ The aim of this study was to evaluate shear bond strength between self-adhesive resin cement and coronal dentin using one-step self-etch bonding. Fifty human premolar teeth were cut at the cemento-enamel junction. The crowns were divided into mesial and distal parts by splitting them longitudinally in a bucco-lingual direction. The 100 split crowns were cut longitudinally on the buccal side in a mesio-distal direction 1mm into dentin from the dentino-enamel junction. The buccal sides of the sectioned crowns were used as the substrate for testing. A one-sided adhesive tape with a 1 mm-diameter hole was fixed on the dentin surface. The composite resin rods were randomly divided into five groups, each group containing 20 specimens: a control group (Panavia F2.0), a Rely X U100 group, an Adper Easy One with Rely X U 100, a Maxcem Elite group and an Optibond AllIn-One with Maxcem Elite group. The rods were bonded to selected dentin surfaces using matching cementing agents and bonding systems from the same manufacturers. The bonded specimens were immersed in 37°C distilled water for 24 hours and then, subjected to a shear bond test using a universal testing machine (Instron 5566) at a crosshead speed of 0.5 mm/min. One-way ANOVA was used to determine statistical differences (p<0.05) in shear bond strength. Tukey’s test revealed no significant difference between the control cement and the Rely X U100 with Adper Easy One but showed significantly higher shear bond strength than the other tested cements or combination of cement and bonding agent. One-step self-etch bonding exhibited increased shear bond strength between self-adhesive resin cement and coronal dentin.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectเซลฟ์แอดฮีซีฟen_US
dc.subjectเซลฟ์เอตช์en_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.subjectSelf-adhesiveen_US
dc.subjectResin cementen_US
dc.titleความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างเซลฟ์แอดฮีซีฟเรซินซีเมนต์และเนื้อฟันส่วนตัวฟันโดยใช้สารยึดติดเซลฟ์เอตช์แบบขั้นตอนเดียวen_US
dc.title.alternativeShear Bond Strength between Self-Adhesive Resin Cement and Coronal Dentin using One-Step Self-Etch Bondingen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.