Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68843
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวีรนุช ทองงามen_US
dc.contributor.authorศิรินาถ ชีวะเกรียงไกรen_US
dc.date.accessioned2020-07-16T07:36:38Z-
dc.date.available2020-07-16T07:36:38Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.citationเชียงใหม่ทันตแพทยสาร 36,1 (ม.ค.-มิ.ย. 2558), 13-22en_US
dc.identifier.issn0857-6920en_US
dc.identifier.urihttp://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2558_36_1_376.pdfen_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68843-
dc.descriptionเชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคมen_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่ากำลังแรงยึดเฉือนระหว่าง เรซินซีเมนต์ชนิดใหม่ (รีไลย์เอ็กซ์อัลติเมท) กับลิเธียมไดซิ ลิเกตกลาสเซรามิก เปรียบเทียบกับเรซินซีเมนต์สองชนิด คือมัลติลิงค์เอ็นและชนิดเน็กซัสทรี วัสดุและวิธีการ: เตรียมชิ้นงานจากแท่งเซรามิกไอพีเอส อีแม็กซ์เพรส รูปร่างทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 มิลลิเมตร หนา 3 มิลลิเมตร จำนวน 60 ชิ้น เตรียมผิว ชิ้นงานเซรามิกด้วย กรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อย ละ 5 เป็นเวลา 20 วินาที แล้วสุ่มแบ่งกลุ่มการทดลองเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ชิ้น (n=15) นำชิ้นทดสอบแต่ละกลุ่ม มาทาสารคู่ควบไซเลนและยึดด้วยเรซินซีเมนต์ดังนี้ กลุ่ม ที่ 1 โมโนบอนด์เอ็นร่วมกับมัลติลิงค์เอ็น (MM) กลุ่มที่ 2 ไซเลนไพรเมอร์ร่วมกับเน็กซัสทรี (SN) กลุ่มที่ 3 ซิง เกอร์บอนด์ยูนิเวอร์ซอลแอด-ฮีซีฟร่วมกับรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมท (SR) กลุ่มที่ 4 โมโนบอนด์เอ็นร่วมกับรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมท (MR) ฉายแสง 40 วินาที นำชิ้นงานทั้งหมดแช่ในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบความแข็งแรงยึดเฉือนของชิ้นงานทั้งหมดด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอน นำค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนที่ได้ของแต่ละกลุ่มมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกี้ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (p<0.05) จำแนกพื้นผิวการแตกหักของแต่ละตัวอย่างด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดหัวกลับ ผลการศึกษา: กลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนมากที่สุดคือ MR (164.40 ± 45.25 เมกะปาสคาล)และกลุ่ม SR (160.26 ± 55.04 เมกะปาสคาล) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่ม SN (147.92 ± 39.03เมกะปาสคาล) ส่วนกลุ่ม MM มีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดเฉือนน้อยที่สุด (105.26 ± 38.37 เมกะปาสคาล) ซึ่งมีความแตกต่างกับกลุ่ม MR และ SR แต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มSN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ลักษณะความล้มเหลวส่วนใหญ่เป็นแบบผสมระหว่างพื้นผิวเซรามิกกับชั้นเรซินซีเมนต์ สรุป: การยึดติดระหว่างลิเธียมไดซิลิเกตกลาสเซรามิกกับเรซินซีเมนต์ชนิดรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมตทั้งแบบที่ใช้ร่วมกับซิงเกอร์บอนด์ยูนิเวอร์ซอลแอดฮีซีฟและใช้ร่วมกับสารคู่ควบไซเลน ไม่แตกต่างกับการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ชนิดเน็กซัสทรี แต่มีค่าการยึดติดที่ดีกว่าเรซินซีเมนต์ชนิดมัลติลิงค์เอ็น Objective: To compare shear bond strength of a new resin cement (RelyX™ Ultimate) on two resin cements (Multilink® N and Nexus 3) to lithium disilicate glass ceramic. Materials and Methods: Sixty cylindrical glass ceramics (IPS e.max press) were fabricated in 4 mm diameter and 3 mm height and surface treated with 5% hydrofluoric acid for 20 s. They were randomly divided into four groups (n=15) by type of silane coupling agent and resin cement: group 1 Monobond N + Multilink® N (MM), group 2 Silane primer + Nexus 3 (SN), group 3 Single bond universal + RelyX™ Ultimate (SR) and group 4 Monobond N + RelyX™ Ultimate (MR) and light curing 40 s. Specimens were stored in distilled water at 37°C for 24 h and then loaded in the Universal Testing Machine for shear bond strength test. Statistical analysis of the mean shear bond strength were performed by One-way ANOVA and the Tukey multiple comparison test (p<0.05). The failure mode was investigated under Inverted Phase Contrast Microscope. Results: The mean shear bond strength of MR group was highest (164.40 ± 45.25 MPa) and SR group (160.26 ± 55.04 MPa), but not significant different from SN group (147.92 ± 39.03 MPa). The mean shear bond strength of MM group was lowest (105.26 ± 38.37 MPa) and significantly lower than MR and SR group but not significant different from SN group. The failure mode mostly demanstrated mixed failure. Conclusion: The bond strength between lithium disilicate glass ceramic to RelyX™ Ultimate resin cement that treated with both of Single bond universal and silane coupling agent were not different from Nexus 3 resin cement but was higher bond strength than Multilink® N resin cement.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectลิเธียมไดซิลิเกตกลาสเซรามิกen_US
dc.subjectความแข็งแรงยึด เฉือนen_US
dc.subjectเรซินซีเมนต์en_US
dc.subjectlithium disilicate glass ceramicen_US
dc.subjectshear bond strengthen_US
dc.subjectresin cementen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงยึดเฉือนระหว่างวัสดุบูรณะลิเธียมไดซิลิเกตกลาสเซรามิก และเรซินซีเมนต์สามชนิดen_US
dc.title.alternativeComparative Study of Shear Bond Strength between Lithium Disilicate Glass Ceramic Restoration and Three Resin Cementsen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.