Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68837
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวราภรณ์ ศรีรัตนา ศรีรัตนาen_US
dc.contributor.authorเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุลen_US
dc.contributor.authorอภิรดี นันท์ศุภวัฒน์en_US
dc.date.accessioned2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.available2020-06-10T07:12:31Z-
dc.date.issued2563en_US
dc.identifier.citationพยาบาลสาร 47, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2563), 350-360en_US
dc.identifier.issn0125-0078en_US
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/240763/164090en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68837-
dc.descriptionวารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับen_US
dc.description.abstractผู้ป่วยทุกคนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลย่อมคาดหวังว่าตนเองจะได้รับการดูแลที่ปลอดภัย ดังนั้นการจัดการความปลอดภัยจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ป่วยพึงได้รับและเป็นหน้าที่หลักของบุคลากรทางการพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมของการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของบุคลากรทางการพยาบาลในโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรีจังหวัดลำปางและเปรียบเทียบความแตกต่างของการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงานช่วยการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ 26 คน ผู้ช่วยพยาบาล 37 คนและพนักงานช่วยการพยาบาล 40 คน รวมทั้งหมด 103 คน ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 1 ปีในโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี สุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วย โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยของหน่วยงานความปลอดภัยของผู้ป่วยแห่งชาติ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index: CVI) เท่ากับ 0.94 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1.การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของบุคลากรทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง (=3.22, S.D.=0.39) การจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่าการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย การนำและสนับสนุนส่งเสริมบุคลากร การบูรณาการกิจกรรมการบริหารความเสี่ยง การสนับสนุนการรายงานอุบัติการณ์ การสื่อสารและส่งเสริมให้ผู้รับบริการและประชาชนมีส่วนร่วม การวิเคราะห์สาเหตุรากของปัญหา และการลงมือเพื่อป้องกันอันตรายอยู่ในระดับสูง (=3.39, S.D.=0.38; =3.25, S.D.=0.39; =3.31, S.D.=0.43; =3.19, S.D.=0.50; =3.16, S.D.=0.48; =3.10, S.D.=0.56; and =3.15, S.D.=0.46 ตามลำดับ) 2.พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยพยาบาล และพนักงานช่วยการพยาบาล มีการรับรู้การจัดการความปลอดภัยโดยรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามพบว่าระหว่างพยาบาลวิชาชีพและบุคลากรที่ไม่ใช่พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขั้นตอนการสนับสนุนการรายงานอุบัติการณ์ (F = 4.623, p<0.05) และการสื่อสารและส่งเสริมให้ผู้รับบริการและประชาชนมีส่วนร่วม (F = 6.844, p<0.05) ผลการศึกษานี้ทำให้ผู้บริหารทางการพยาบาลและผู้บริหารโรงพยาบาลได้ทราบความก้าวหน้าของการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยของโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรีและข้อเสนอแนะให้ทำการประเมินผลการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีการจัดบริการทางด้านสุขภาพที่ปลอดภัยแก่ผู้ป่วย Patients expect safe care during hospitalization. Accordingly, patient safety management is a basic patient right and a major duty of hospital employees. This descriptive study was to examine overall patient safety management as perceived by nursing personnel in Fort Surasakmontri Hospital, Lampang Province and to explore the differences in perceived patient safety management among registered nurses, practical nurses and nurse aides. The study sample includes 26 registered nurses, 37 practical nurses and 40 nurse aides, all of whomhave had experience in nursing for at least one year in Fort Surasakmontri Hospital. The sampling techniques were stratified random sampling. The study instrument was a questionnaire which was developed based on the conceptual framework of the National Patient Safety Agency (2004). The content validity index was 0.94 and the reliability was 0.93. Data were analyzed using descriptive statistics and One Way ANOVA. The study results were as follows: 1.The overall of the perceived patient safety management among nursing personnel was at a high level (=3.22, S.D.=0.39). Patient safety management consisted of seven steps. Results illustrated that nursing personnel perceived the steps of building a safety culture, leading and supporting staff, integrating risk management activity, promoting incident report, involving and communicating with patients and the public, learning and sharing safety lessons and implementing solutions to prevent harm were at the high level (=3.39, S.D.=0.38; =3.25, S.D.=0.39; =3.31, S.D.=0.43; =3.19, S.D.=0.50; =3.16, S.D.=0.48; =3.10, S.D.=0.56; and =3.15, S.D.=0.46 respectively). 2.There was no statistical difference in the overall of the perceived patient safety management among registered nurses, practical nurses and nurse aides. However, there were statistical differences in perception of registered nurses and non-registered nurses regarding the steps of promoting incident report (F = 4.623, p<0.05) and involving and communicating with patients and the public (F = 6.844, p<0.05). The results of this study could contribute nurse managers and hospital administrators to understanding the progress of patient safety management in Fort Surasakmontri Hospital. It was recommended that nurse managers and hospital administrators should regularly measure performance in patient safety management in order to ensure that the care provided is as safe as possible for patients.en_US
dc.language.isoThaen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยen_US
dc.subjectวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยen_US
dc.subjectบุคลากรทางการพยาบาลen_US
dc.subjectโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรีen_US
dc.titleการจัดการความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของบุคลากรทางการพยาบาล ในโรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรีจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativePerceived Patient Safety Management Among Nursing Personnel in Fort Surasakmontri Hospital, Lampang Provinceen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.